ลองแทนที่ “ดวงจันทร์” ด้วยดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะ ท้องฟ้ายามค่ำคืนจะเปลี่ยนไปแบบไหน!?

ด้วยระยะห่างเพียง 360,000 กิโลเมตรจากใจกลาง ทำให้ดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 3,474 กิโลเมตร (ประมาณ 1 ใน 10 ของโลกเท่านั้น) กลายเป็นเคหะวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในปรากฎบนท้องฟ้ายามค่ำคืนของโลก

 

full-moon-night-wallpaper

 

แล้วถ้าเราลองจินตนาการเล่นๆ ว่าหากเราแทนที่ตำแหน่งของดวงจันทร์ด้วยดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาล ท้องฟ้ายามค่ำคืนของเราจะมีหน้าตาแบบไหนกัน

ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออก งั้นเราไปดูคลิปที่ชาแนล yeti dynamics ทำไว้กันดีกว่า และถ้าใครกลัวเปลืองเน็ต เลื่อนลงไปอ่านด้านล่างก็ได้นะ

 

 

ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เรามาดูภาพเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาลกันดีกว่า จะเห็นได้ชัดเลยว่า โลกเรานั้นกระจิ๋วริ๋วจริงๆ หากเทียบกับพี่ใหญ่อย่างดาวพฤหัส

2-1

 

ท้องฟ้าที่มีดวงจันทร์ตามปกติ

screen-shot-12-13-16-at-04-09-pm

 

ดาวศุกร์ก็ดูไม่น่าตกใจอะไรมากเท่าไหร่นัก

screen-shot-12-13-16-at-04-09-pm-002

 

ดาวอังคารก็ยังธรรมดา

screen-shot-12-13-16-at-04-09-pm-001

 

พอเป็นดาวเนปจูนก็เริ่มรู้สึกว่าใหญ่แล้วล่ะ

screen-shot-12-13-16-at-04-10-pm

 

ดาวยูเรนัสก็ใหญ่ขึ้นไปอีก
screen-shot-12-13-16-at-04-10-pm-001

 

แต่พอเจอดาวพฤหัสเท่านั้นแหละ โอ้โห จะใหญ่ไปไหนเนี่ย

screen-shot-12-13-16-at-04-10-pm-002

 

ดาวพฤหัสว่าใหญ่โตแล้ว เจอดาวเสาร์เข้าไป รู้สึกใหญ่กว่าอีก คงเพราะวงแหวนดาวเสาร์นี่แหละ

screen-shot-12-13-16-at-04-10-pm-003

 

ถือว่าแปลกตาจริงๆ ถ้าท้องฟ้ายามค่ำคืนแบบนี้ หวังว่าเรื่องนี้จะถูกใจเพื่อนๆ ที่ชอบเรื่องราวเกี่ยวกับโลกและจักรวาลนะฮะ

แล้ววันหลัง #เหมียวอ๊อดโด้ จะนำเรื่องแนวๆ มาฝากกันอีก อย่าลืมติดตามชมนะครับ

ที่มา yeti dynamics

Comments

Leave a Reply