คุณเคยรู้สึกอยาก “บีบ” อะไรที่มันน่ารักๆ บ้างไหม? เช่นเห็นแมวน่ารักๆ ก็อยากจะเข้าไปขย้ำ เห็นเด็กทารกก็อยากเข้าไปกอดแรงๆ สักที? อาการเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งผิดปกตินะ และคุณไม่ได้เป็นอยู่คนเดียวแน่ๆ
งานวิจัย
ในปี 2015 นักจิตวิทยา Oriana Aragon จากมหาวิทยาลัย Yale University ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ แล้วพบว่าคนที่มีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับภาพเด็กน่ารักๆ จะมีการแสดงอารมณ์ความก้าวร้าวอย่างรุนแรงด้วย อย่างเช่นความอยากหยิกแก้มเด็กๆ เหล่านั้น
เมื่อพูดถึงการ “หยิก” เมื่อไม่นานมานี้ทีมวิจัยได้มีการศึกษากับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง โดยการจับกลุ่มผู้เข้าร่วมมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกนั้งดูวิดีโอลูกสัตว์น่ารักๆ ส่วนกลุ่มที่สองดูสัตว์แก่ๆ
จากนั้นก็ให้ผู้เข้าร่วมถือแผ่นกันกระแทก (Bubble Wrap) เอาไว้ในมือ ผลปรากฎว่ากลุ่มคนที่ดูวิดีโอลูกสัตว์น่ารักๆ จะบีบแผ่นกันกระแทกมากกว่ากลุ่มคนที่ดูวิดีโอสัตว์แก่ๆ
การผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าถ้าพวกเขามีโอกาสที่จะบีบบางสิ่งบางอย่างขณะดูภาพน่ารักๆ ได้ พวกเขาก็จะทำ แต่ก็ไม่ได้หวังจะทำอันตรายให้สิ่งมีชีวิตจริงๆ
ข้อดี ข้อเสีย และความน่ารัก
แล้วอะไรล่ะที่มันจะสามารถอธิบายแรงกระตุ้นความอยาก “บีบ” สัตว์หรือเด็กน่ารักๆ ได้?
Aragon กล่าวว่า “สำหรับบางคนแล้ว ประสบการณ์ทางอารมณ์อย่างรุนแรงที่เกิดจาก “an expression of what one would think is an opposing feeling”
“คุณอาจจะน้ำตาไหลเพราะความสุข หัวเราะอย่างบ้าคลั่ง หรืออยากบีบอะไรสักอย่างที่คุณคิดว่ามันน่ารักเอามากๆ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสัตว์ที่คุณอยากกอดมันหรืออยากปกป้องมันก็ตาม”
ยกตัวอย่างเช่นการศึกษา 2015 แสดงให้เห็นว่าคนที่มีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นบวกและลบฟื้นความสมดุลทางอารมณ์ของพวกเขาได้อย่างรวดเร็ว
และถ้าคุณกำลังดูแลบางสิ่งบางอย่างที่น่ารักล่ะก็ นั่นถือเป็นเรื่องสำคัญเลย เพราะสิ่งเหล่านั้นจะช่วยให้คุณกลับมาควบคุมอารมณ์และการแสดงออกทางอารมณ์ที่รุนแรงได้ การแสดงออกเหล่านั้นจะช่วยให้ตัวคุณดูแลเด็กหรือสัตว์เลี้ยงได้อย่างเหมาะสม
น่ารักเกินบรรยาย
เมื่อราวๆ ปี 2012 มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อธิบายว่าการมองภาพสัตว์น่ารักๆ จะทำให้เราใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ได้มากขึ้น
นั่นเป็นเพราะว่าสิ่งมีชีวิตน่ารักๆ จะให้ความรู้สึกด้านบวก โดย Hiroshi Nittono จากมหาวิทยาลัย Japan’s Hiroshima University
ด้าน Nittono บอกว่าความรู้สึกสามารถสลับไปมาได้ง่ายมาก ระหว่างด้านบวกและลบ เขาไม่ได้คิดว่าแรงกระตุ้นด้านลบต่อความน่ารักจะมีผลถึงความก้าวร้าว เพราะคนเราไม่ได้อยากจะทำร้ายสัตว์หรือเด็ก
แต่ความจริงแล้ว ความรู้สึกที่สองจะรู้สึกขยะแขยง หรือ “อยู่ให้ห่างจากวัตถุนั้นดีกว่า” Nittono กล่าว
พฤติกรรมหรือการแสดงออกแบบนี้จะสามารถพบได้ในเด็ก อย่างเด็กผู้ชายที่แอบชอบเด็กผู้หญิงก็จะแกล้งทำเป็นไม่ชอบหรือไม่สนใจพวกเธอเลยแม้แต่น้อย”
ที่มา nationalgeographic
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.