แนวคิดการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาตินั้นกำลังแพร่ขยายไปทั่วโลก เนื่องจากว่าหากมนุษย์ยังคงอยู่อาศัยในแบบที่เป็นอยู่ ไม่ชีวิตทางธรรมชาติหรืออาจจะเป็นชีวิตของมนุษย์เองที่ต้องพบกับการสูญเสีย
สะพานลอยสำหรับสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติแบมฟ์ รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
ดั่งเช่นในเรื่องของปัญหาการสัญจรผ่านเส้นทางหลวง ที่มีรถยนต์แล่นผ่านไปมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในบางเส้นทางจะตัดผ่านกับอุทยานแห่งชาติอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และนั่นก็คือสาเหตุของอุบัติเหตุอันนำพาชีวิตและทรัพย์สินที่ต้องแลกไป
สะพานข้ามสำหรับสัตว์ป่าในประเทศเบลเยี่ยม
บรรดานักอนุรักษ์พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องสัตว์ป่าเหล่านี้มาอย่างช้านาน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของอุบัติเหตุรถชนหรือไม่ถูกพรากไปจากแหล่งที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ
เพราะฉะนั้นแล้ว แนวคิดของ Wildlife Crossing จึงถือกำเนิดขึ้นมา สะพานเพื่อความปลอดภัยของทั้งมนุษย์และสัตว์ป่า มีประสิทธิภาพมากกว่าป้ายเตือนลดระดับความเร็วหลายเท่าตัว
สะพานลอยสำหรับสัตว์ป่าในรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
เพียงแค่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ระบบถนนหนทางส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศถึง 1 ใน 5 พื้นที่ของประเทศ และอุบัติเหตุรถยนต์ชนสัตว์ป่าคิดเป็นมูลค่าเสียหายสูงถึง 8 พันล้านดอลลาร์ต่อปี (280 พันล้านบาท)
สะพานทางข้ามทางลอดสามารถช่วยสัตว์ป่าให้เดินข้ามถนน จากท้องถนนอันวุ่นวายได้อย่างปลอดภัย เพื่อให้พวกมันสามารถใช้ชีวิตตามวิถีธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ถูกมนุษย์รบกวนแม้แต่น้อย
สะพานสำหรับสัตว์ป่าในรัฐมอนแทนา สหรัฐอเมริกา
สะพานข้ามสำหรับสัตว์ป่า สะพานลอดสำหรับรถยนต์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์
สะพานข้ามสำหรับสัตว์ป่านั้นเริ่มขึ้นเป็นที่แรกในประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปี 1950 สำหรับทวีปยุโรปแล้วคือผู้นำในด้านแนวคิดนี้เลยทีเดียว โดยเฉพาะในประเทศเนเธอร์แลนด์เพียงประเทศเดียว มีสะพานลอยสำหรับสัตว์ป่ามากถึง 66 แห่ง ช่วยปกป้องประชากรแบดเจอร์ หมูป่า และกวางมานับไม่ถ้วน
ประเทศเยอรมนี
สะพาน Natuurbrug Zanderij Crailoo ประเทศเนเธอร์แลนด์
.
นอกจากนี้เนเธอร์แลนด์ยังได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่มีสะพานลอยสำหรับสัตว์ป่าที่ยาวที่สุดในโลกด้วย นั่นก็คือสะพาน Natuurbrug Zanderij Crailoo ด้วยความยาวไมล์ครึ่ง (0.8 กิโลเมตร) พาดผ่านรางรถไฟ แม่น้ำ ศูนย์รวมแหล่งธุรกิจ และ ย่านศูนย์กีฬา
.
ตลอดระยะเวลา 30 ปี ทั้งประเทศแคนาดาและประเทศสหรัฐอเมริกา พยายามเพิ่มจำนวนสะพานลอยสำหรับสัตว์ป่าให้มากขึ้นเพื่อปกป้องชีวิตทางธรรมชาติเหล่านี้
สะพานลอยสำหรับสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติแบมฟ์ รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
เช่น อุทยานแห่งชาติแบมฟ์ รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา มีสะพานลอยและสะพานลอดเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ที่มีสัตว์ป่าใช้งานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จากที่เริ่มก่อสร้างเมื่อ 25 ปีก่อน
แต่ถ้าหากคุณคิดว่าสะพานแบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อสัตว์ใหญ่ๆ เท่านั้น ก็ยังมีสะพานสำหรับสัตว์ตัวเล็ก ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับทุกสถานการณ์อย่างชาญฉลาดเช่นกัน
สะพานสำหรับเหล่าปูแดงในประเทศออสเตรเลีย
และสะพานเล็กแห่ง Christmas Island ในประเทศออสเตรเลีย ที่ช่วยชีวิตของเหล่าปูแดงกว่า 50 ล้านตัว ให้สามารถเดินข้ามถนน สำหรับการอพยพถิ่นที่อยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย
สะพานสำหรับกระรอกข้าม Nutty Narrows Bridge
แถมอีกหนึ่งตัวอย่างน่ารักๆ ในรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา สะพานเชือกสุดพิเศษนี้มีชื่อว่า Nutty Narrows Bridge ที่ช่วยให้เหล่ากระรอกน้อยได้สัญจรผ่านไปมาได้สะดวก ไม่ถูกรบกวนโดยมนุษย์เลย
ปิดท้ายกันด้วยคุณประโยชน์ของสะพานในอุทยานแห่งชาติแบมฟ์ ของประเทศแคนาดา ที่ช่วยชีวิตสัตว์ป่ามานับไม่ถ้วน
เห็นแล้วรึยังล่ะว่า การให้ความสำคัญกับเหล่าสัตว์ป่านั้นสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้มากขนาดไหน ก็หวังว่าบ้านเราจะนำไอเดียเหล่านี้มาประยุกต์ใช้บ้างเนอะ
ที่มา : mymodernmet, fastcodesign, Parks Canada
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.