“ไม่มีชัยชนะที่แท้จริงในสงคราม” หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำพูดแบบนี้มาบ้าง เพราะไม่ว่าผู้แพ้หรือผู้ชนะต่างก็ต้องสูญเสียด้วยกันทั้งนั้น เหมือนอย่างเช่นจักรวรรดิออตโตมัน ที่เกิดการล่มสลายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงปลายปี 1918
จักรวรรดิออตโตมันนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และร่ำรวยที่สุดในยุโรป มีพื้นที่กว้างใหญ่และมีสถาปัตย์กรมที่สวยงามมากมาย
โดยก่อนการล่มสลายได้มีการบันทึกภาพความสวยงามเหล่านั้นไว้อยู่มากมาย แต่น่าเสียดายที่มันถูกถ่ายเป็นภาพขาวดำ จนทำให้ยากต่อการจินตนาการว่าบ้านเมืองในสมัยนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร?
ในบทความนี้#เหมียวเวจจี้ก็เลยจะพาไปชมภาพถ่ายที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนั้น แต่เป็นในเวอร์ชั่นที่ถูกศิลปินนำมาแต่งเติมสีสันให้ดูมีชีวิตชีวามากขึ้น อยากรู้ว่าเป็นไงลองมาดูกันนะ
เริ่มต้นกันที่ภาพแรก ภาพของมัสยิตและถนนที่เต็มไปด้วยผู้คนของเมือง Scutari ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตประจำวันของผู้คน
ภาพของสะพาน Galata ในมุมต่างๆ ที่นอกจากจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสองเมืองแล้วยังเป็นจุดที่ใช้ขนส่งสินค้าที่สำคัญของยุโรปอีกด้วย และที่สำคัญสะพานแห่งนี้ก็ยังคงเปิดใช้งานอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้!!
ภาพพระอาทิตย์ตกดินสุดแสนจะโรแมนติก ณ เมืองเฟเนบาร์เช่ซึ่งตั้งอยู่ในทะเล Marmara ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ภาพของเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณของช่องแคบ Bosphorus ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่และร่ำรวยที่สุดในยุปโรป ก่อนที่จะถูกเข้าครอบคองโดยจักวรรดิออตโตมัน
นักเขียนชาวฝรั่งเศษ Pierre Gilles ในศตวรรษที่ 16 เคยกล่าวถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิลเอาไว้ว่า “นครแห่งนี้จะมีอายุยืนยาวและเป็นอัมตะ”
แต่แล้วจักรวรรดิออตโตมันที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1299 ก็ล่มลายในเดือนพฤษจิกายน ปี 1922 ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากภัยของสงครามโลกครั้งที่ 1 และการรุกรานของจักวรรดิอังกฤษ ที่เข้ายึดครองกรุงแบกแดดและเยรูซาเลม
ภาพด้านซ้ายคือภาพของสุลต่าน Pertevniyal Valide ในเมือง Aksaray ในยุคก่อนล่มสลายของ จักวรรดิออตโตมัน ส่วนภาพทางด้านขวาเป็นภาพหลังจากที่ถูกเผา
บางคนอาจสงสัยว่าทำไมภาพเหล่านี้ถึงมีสีสันขึ้นมาได้? นั่นก็เพราะว่าภาพทุกภาพถูกนำเอาไปผ่านกระบวนการ Photochrom เพื่อช่วยทำให้ภาพประวัติศาสตร์ดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้นนั่นเอง
นี่เป็นภาพของเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างยุโรปและเอเชีย ที่มองมาจากสะพานในกรุงคอนสแตนติโนเปิล เป็นภาพสื่อถึงวิถีชีวิตของผู้คนก่อนที่จะเกิดการล่มสลายใน ศตวรรษที่19
กรุงคอนสแตนติโนเปิลก่อนที่จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อิสตันบลู ในปี 1930 และต่อมากลายเป็นเมืองสำคัญของประเทศตุรกี
ภาพน้ำพุของสุลต่านอาเหม็ดที่ถูกบันทึกไว้ในปี 1980 ซึ่งเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คที่สำคัญ
ภาพของสุสาน Eyoub ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ภาพมุมสูงของเมืองที่ตั้งอยู่ในช่องแคบ Bosporus ที่ตั้งอยู่ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ก่อนที่จะเกิดการล่มสลาย
ภาพของกำแพง Byzantine ใกล้กับเมืองIrdikale ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ภาพทางด้านซ้ายคือบางมุมของสุสานในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ระหว่างปี 1890-1900 ส่วนภาพทางขวาคือภาพของชายที่กำลังขนสินค้าบนถนนในเมืองTop Capou ซึ่งภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 1890
นี่เป็นภาพของเด็กหนุ่มที่ยืนอยู่กลางจตุรัส Seraskerat ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ภาพวิถีชีวิตของผู้คนบนถนน Stamboul ระหว่างปี 1890-1900
ภาพของชายที่กำลังแล่นเรือลำเล็กๆ ภายใต้แสงจันทร์ในแม่น้ำใกล้กับมัสยิต Yeni Cami
ภาพของต้น Cypresses ที่ถูกตัด อยู่ตรงข้ามกับสุสาน Scutari ถูกบันทึกไว้ระหว่างปี 1890-1900
เป็นยังไงกันบ้างล่ะครับสำหรับเรื่องราวของจักวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป จักวรรดิออตโตมันและภาพสวยๆ ที่หาดูได้ยาก นับเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาให้ชมอีกนะ
ที่มา Dailymail
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.