นักวิทยาศาสตร์ใช้ ‘ผักโขม’ พืชสวนครัวใกล้ตัว มาศึกษาการทำงานของเนื้อเยื่อหัวใจ!?

ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว หลายๆ งานวิจัยทางการแพทย์ช่วยยื้อชีวิตให้กับมนุษย์เราได้อย่างคาดไม่ถึง และเร็วๆ นี้ก็มีงานค้นคว้าทางด้านพันธุวิศวกรรมที่น่าสนใจมากงานหนึ่ง

เมื่อนักวิทยาศาตร์ได้นำพืชผักสวนครัวมาดัดแปลง เพื่อศึกษาการทำงานของเนื่อเยื่อหัวใจ ไม่แน่นะอาจช่วยให้การผ่าตัดหัวใจในอนาคตง่ายขึ้นอีกเยอะเลยทีเดียว

 

เมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ Dailymail ได้รายงานว่าทีมวิจัยได้นำใบของผักโขมมาใช้ในการศึกษาการทำงานของเนื้อเยื่อหัวใจ ก่อนหน้านี้ได้มีการพยามจำลองโครงข่ายและเนื้อเยื่อของหัวใจด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติแต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นการค้นพบครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

เพราะมันช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานวิจัยและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของหัวใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันการศึกษาและงานวิจัยแนวนี้ยังมีอยู่น้อยมาก

 

นี่เป็นภาพแสดงลำดับของการขจัดเซลพืชออกจากใบผักโขม ด้วยวิธีการที่เรียว่า decellularization วิธีนี้จะทำให้เหลือแต่เส้นใยและโครงสร้างของใบ ที่คล้ายกับเส้นเลือดในหัวใจมนุษย์แบบใสๆ

 

เนื่องจากการลำเลียงสารอาหารในใบพืชนั้นคล้ายกับการลำเลียงเลือดของหัวใจของมนุษย์ ถึงแม้ว่าการลำเลียงสารเคมีภายในเนื้อเยื่อของสัตว์และพืชอาจจะไม่เหมือนกัน แต่โครงข่ายของท่อลำเลียงนั้นคล้ายกัน

ในอตีดเคยมีการจำลองโครงสร้างนี้ขึ้นมาแล้ว แต่ว่ามีขนาดเล็กเกินไปทำให้ยากในการที่จะศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการรักษา แต่ใบผักโขมนั้นมีขนาดใหญ่กว่าจึงทำให้มีความเหมาะสมมากกว่า

 

 

ทีมวิจัยหวังว่าการค้นพบเทคโนโลยีนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำไปสร้างเนื้อเยื่อใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ งานวิจัยชิ้นนี้กำลังจะถูกตีพิมพ์ลงนิตยสาร Biomaterials ในเดือนพฤษภาคมนี้

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Worcester Polytechnic ได้บอกว่า “การพัฒนาครั้งนี้จะเป็นรากฐานของการศึกษาการทำงานที่เหมือนกันของเนื้อเยื่อพืชและสัตว์”

 

 

ถึงเเม้ว่าระบบการขนส่งของเหลวของเซลสัตว์และพืชจะต่างกัน แต่โครงสร้างของเนื้อเยื่อทั้งสองมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก

 

ในการทดลองเนื้อเยื่อหัวใจเทียมครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใส่ของเหลวที่คล้ายกับเซลเนื้อเยื่อของมนุษย์เข้าไปในผักโขม เป็นการศึกษาการทำงานของเส้นใยในใบที่ทำหน้าที่คล้ายเส้นเลือดของหัวใจมนุษย์

Glenn Gaudette ศาสตราจารย์ทางด้านพันธุวิศวกรรมของสถาบัน Worcester Polytechnic กล่าวว่า “เรายังมีงานที่ต้องทำอีกมาก แต่ตอนนี้มีแนวโน้มที่ใกล้ความจริงมากยิ่งขึ้น การนำพืชที่มีการเพาะปลูกอย่างยาวนานมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดของการศึกษาได้”

นักวิทยาศาตร์เชื่อว่า ในวันข้างหน้าเทคนิคนี้จะสามารถนำไปช่วยการสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงได้หรือฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสียหายจากหัวใจวายได้

 

 

เพื่อให้เห็นภาพชัดๆ เราลองไปดูงานคนคว้าครั้งนี้กันในคลิปวีดีโอนี้เลย

โอโหไม่น่าเชื่อเลยนะเนี่ยว่าวิทยศาสตร์จะก้าวหน้ามากขนาดนี้ ไม่แน่ในอนาคตข้างหน้าพวกเราอาจจะกลายเป็นมนุษย์กลายพันธุ์แบบในหนังได้ก็ได้เนี่ย

ที่มา dailymail

Comments

Leave a Reply