ในปัจจุบันนั้นกระแสการดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นักวิทยาศาสตร์ก็ต่างพากินคิดค้นวิธีที่จะรีไซเคิลขยะโลกให้นำกลับมาใช้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เช่นเดียวกันกับศิลปินชาวดัตช์ผู้หนึ่ง ที่ใช้เทคนิคทางเคมีเปลี่ยนปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์มาเป็น เสื้อผ้า, กระดาษและพลาสติกที่ย่อยสลายได้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกมีการพัฒนาเป็นอย่างมาก ในเรื่องการรีไซเคิลมูลวัวและเปลี่ยนปุ๋ยคอกเป็นก๊าซธรรมชาติ
แต่นักออกแบบชาวดัตช์ Jalila Essaïdi ไม่คิดว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะแก้ปัญหาขยะที่ล้นโลกได้ เธอจึงมีความคิดที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่มูลวัวที่เป็นของเสียให้หลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่ามากกว่าเดิม
ในการทำงานทดลองและออกแบบของเธอพบว่ามูลวัวสามารถเป็นวัสดุหลักในงานออกแบบของเธอได้เพราะมีคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้และยังมีคุณสมบัติที่ต้องการในการผลิตชิ้นงานของเธอ
เธอเริ่มต้นด้วยการแยกมูลวัวเพื่อสกัดเซลลูโลสบริสุทธิ์จากหญ้าที่วัวกิน ส่วนมูลวัวที่เปียกเธอได้สกัดสาร “เซลลูโลสอะซิเตต” (cellulose acetate) เพื่อใช้ในการสร้างเส้นใยจนกลายมาเป็นผ้าและพลาสติกชีวภาพและยังสามารถนำไปผ่านกระบวนการ freeze-dried เพื่อสร้าง “Aerogel” ได้อีกด้วย
วัสดุใหม่นี้มีชื่อว่า “Mestic” (รากศัพท์มาจากคำว่า mest ซึ่งแปลว่ามูลในภาษาดัตช์) ด้านนักออกแบบที่ชื่อ Jalila Essaïdi อ้างว่ามันมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับพลาสติกที่ได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้
ในปีที่ผ่านมาเธอก็ได้ร่วมมือกับเทศบาลของเมืองไอนด์โฮเวน ประเทศ
Essaïdi ยังวางแผนที่จะพัฒนาเจ้า Mestic ให้มากขึ้นโดยการทำให้มันใช้งานได้ในการพิมพ์ 3 มิติ แต่ที่ต้องใช้เวลาในการวิจัยอีกเล็กน้อย และเธอยังตั้งใจที่จะใช้วัสดุนี้สร้างสะพานในเมืองไอนด์โฮเวนบ้านเกิดของเธอ เพื่อแสดงประสิทธิภาพของ Mestic ให้ทุกคนได้เห็นอีกด้วย
มูลวัวเป็นเพียงสิ่งแรกในการเริ่มต้นการทดลองของเธอ Jalila Essaiddi กล่าวว่า “หลังจากมูลวัวเราอาจจะได้เห็นการจัดการกับของเสียจากหมูหรือสัตว์อื่นๆ ก็เป็นได้”
ลองไปชมคลิปการทำงานสุดเจ๋งของเธอกัน
.
ดีจริงๆ เลยนะที่มีผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบนี้
ถ้าได้ออกมาจำหน่ายจริงๆ เชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาขยะล้นโลกได้ดีทีเดียวเลยล่ะ
ที่มา odditycentral
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.