รู้มั้ยว่าภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีหลายคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ แต่เรานำมาใช้ปนกันจนหลายคนแยกไม่ออกไม่ว่าคำไหนไทยแท้หรือคำไหนเป็นคำที่ยืมมา โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่แทบจะไม่รู้กันเลย
ดังนั้นจึงไม่แปลกว่าทำไมคำบางคำจึงใช้เหมือนกันในหลายประเทศ แถมยังมีความหมายที่เหมือนกันเป๊ะ อย่างประเทศไต้หวันที่สามารถเข้าใจภาษาไทยบางคำได้ เนื่องจากเป็นคำที่มีต้นกำเนิดเหมือนกัน
วันนี้ โบโบ คนไทยเชื้อสายจีนกับ เจ๋อเจ๋อ จากไต้หวันจะยกตัวอย่างให้เราเห็นว่าคำไทยคำไหนบ้างที่คนไต้หวันฟังแล้วเข้าใจ?
แต่ก่อนอื่น #เหมียวขี้ส่อง ขอแนะนำเพิ่มเติมนิดนึงนะคะ โบโบ เป็นคนไทยเชื้อสายจีน กำลังเรียกเอกการสอนภาษาจีนที่ประเทศไต้หวัน ส่วนเจ๋อเจ๋อเป็นชาวไต้หวัน จบการสอนจีนจากไต้หวัน ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำไทยหลายๆ คำนั้นยืมมาจากภาษาจีนโดยเฉพาะภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งบรรพบุรษของคนแต้จิ๋วกับคนไต้หวันนั้นเคยอยู่ใกล้กันมาก่อน และมีชาวแต้จิ๋วอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยในอดีต ส่งผลทำให้เกิดคำไทยที่ยืมมาจากแต้จิ๋ว จึงทำให้คนไต้หวันเข้าใจคำไทยบางคำ จะมีคำไหนบ้างไปดูกันค่ะ
เริ่มที่คำศัพท์ที่ใช้เรียกคนในครอบครัวนะคะ
พ่อ – คนไต้หวันเรียก ปาป๊า คนไทยเรียก ปะป๊า
แม่ – คนไต้หวันเรียก มาม้า คนไทยเรียก มาม๊า
ตา – คนไต้หวันเรียก อากง คนไทยก็เรียก อากง เหมือนกันค่ะ
ยาย – คนไต้หวันเรียก อาม่า คนไทยเรียก อาม่า เช่นกัน
เป็นยังไงคะ? แทบจะเหมือนกันเลยใช่มั้ยล่า
ต่อค่ะ… เถ้าแก่ – คนไต้หวันเรียก เทาแก
อั่งเปา – คนไต้หวันเรียก อังเปา
เก๊กฮวย – คนไต้หวันเรียก เกี๊ยกฮวย
ก๋วยเตี๋ยว – คนไต้หวันเรียก กวยเตี๋ยว
กุ้ยช่าย – คนไต้หวันเรียก กูฉ่าย
ซวย – คนไต้หวันเรียก ซวย
สวย – คนไต้หวันเรียก สุ้ย
โอ้โห แทบไม่รู้มาก่อนเลยนะว่าคนไต้หวันกับคนไทยจะใช้คำที่ใกล้เคียงกันขนาดนี้ ฝึกอีกสักนิด อาจจะพูดไต้หวันได้ไหลลื่นเลยก็ได้นะเนี่ย
ภาษาที่ไทยใช้ VS ภาษาไต้หวัน
สนใจภาษาจีนไต้หวันขึ้นมาแล้วละซิ๊ อะ ถ้าใครอยากไปเรียนต่อที่ไต้หวันจริงๆ ติดตามข้อมูลและข้อแนะนำจากคลิปด้านล่างนี้เลยนะคะ
ขอขอบคุณสื่อดีมีสาระแบบนี้จากคุณโบโบและคุณเจ๋อเจ๋อด้วยนะคะ ยังมีความรู้แบบนี้อีกเพียบ เพื่อนๆ สามารถติดตามได้ที่เพจ เจ๋อโบ กวนจีน และช่องยูทูป
ที่แท้พวกเราก็อยู่ใกล้กันแค่นี้เองเนอะ
ที่มา เจ๋อโบ กวนจีน
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.