‘เรือรบยามาโตะ’ สุดยอดเรือประจัญบานแห่งแดนอาทิตย์อุทัย ที่ยังเป็นตำนานเล่าขานมาจนทุกวันนี้!!

ถ้าพูดถึงสุดยอดเรือรบรับรองว่า ยามาโตะ จะต้องเป็นชื่อแรกๆ ที่ลอยมาให้หัวของใครหลายๆ คน และเชื่อว่าหลายคนก็อาจจะรู้จักแค่ชื่อ หรือรู้แค่ว่าเรือลำนี้เป็นเรือที่เทพที่สุดในประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านมา ฉะนั้นเราจะมาดูประวัติและข้อมูลของเรือลำนี้แบบคร่าวๆ กัน…

เรือรบยามาโตะ เป็นเรือชั้นประจัญบานหรือที่เรียกกันว่าแบทเทิลชิพ (Battle Ship) โดยตัวเรือจะมีขนาดความยาว 263 เมตร กว้าง 36.9 เมตร เรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดในโลกแล้วล่ะ ถ้าจะหาเรือที่รองลงมาก็จะเป็นเรือไอโอว่า มิซซูรี่ ของอเมริกา

 

 

เรือรบยามาโตะถูกตั้งชื่อตามจังหวัดโบราณของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า ยามะโตะ และถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1930 เป็นช่วงที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีความเป็นชาตินิยมอย่างเข้มข้น ด้วยทรรศนะสู่จักรวรรดิญี่ปุ่นอันยิ่งใหญ่

จากเหตุข้างต้น ทางการญี่ปุ่นจึงเริ่มแผนการสร้างเรือประจัญบานลำใหม่ ที่จะออกมาแสดงแสงยานุภาพของประเทศ และด้วยความที่ยามาโตะเป็นเรือที่ใหญ่มากๆ จึงต้องใช้ความพยายามอย่างสูงเพื่อปกปิดความลับของเรือจากสายลับชาติอื่นๆ

 

 

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมเรือยามาโตะถึงถูกสร้างออกมาให้สุดยอดขนาดนี้ เนื่องจากทางญี่ปุ่นเห็นต้องพ้องกันว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะสร้างเรือจำนวนมากๆ แข่งกับกองทัพสหรัฐได้

ฉะนั้นการสร้างเรือลำเดียวแต่สามารถต่อกรกับเรือทั้งกองได้ จึงเป็นอะไรที่คุ้มค่ายิ่งกว่า อันเป็นจุดกำเนิดของเรือรบยามาโตะ!!

 

 

ว่าด้วยเรื่องของอาวุธที่ติดตั้งไว้บนเรือกันบ้าง สำหรับเรือรบยามาโตะนั้นมีอาวุธติดตั้งอยู่มากมาย เริ่มต้นกับที่อาวุธหลักอย่างปืนใหญ่ขนาด 46 ซม. 9 กระบอก ซึ่งถือเป็นปืนที่ใหญ่ที่สุดที่เคยติดตังบนเรือรบ ตามด้วยปืนใหญ่ขนาด 155 มม. อีก 12 กระบอกซึ่งจะติดตังอยู่ตามป้อมปืนละ 3 กระบอก เป็นจำนวน 4 จุดด้วยกัน

 

.

 

ยังไม่หมดเท่านั้น ยังมีปืนขนาด 127 มม. 12 กระบอก ติดตั้งป้อมปืนละ 2 กระบอก จำนวน 6 ป้อม และที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับเรือรบกลางทะเลก็จะต้องมีปืนต่อต้านอากาศยาน ซึ่งยามาโตะก็ได้รับการติดตั้งปืนต่อต่านอากาศยานขนาด 25 มม. ไว้อีก 24 กระบอกด้วยกัน

แต่ภายหลังในปี ค.ศ. 1944 และ ค.ศ. 1945 ก่อนสู้ศึกในแปซิฟิกใต้ อาวุธของเรือยามาโตะก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นปืนขนาด 155 มม. 6 กระบอก ปืน 127 มม. 24 กระบอก และปืนต่อต้านอากาศยาน 25 มม. เพิ่มขึ้นเป็น 162 กระบอก!!?

 

.

 

เรือรบยามาโตะได้กลายเป็นเรือธงและเป็นสัญลักษณ์ความแข็งแกร่งของกองทัพญี่ปุ่นในช่วงนั้น ก็ทำให้ยามาโตะได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น ยุทธนาวีอ่าวเลย์เตหรือการออกรบที่โอะกินะวะ แต่ที่หนักที่สุดและทำให้เรือรบยามาโตะต้องจบสิ้นลงนั่นก็คือ “ปฏิบัติการเท็งโง

เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1945 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำการบุกโอะกินะวะ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนเริ่มแผนโจมตีแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น ทางญี่ปุ่นจึงจัดตั้งปฏิบัติการเท็งโงซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกองกำลังเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นที่เหลืออยู่

 

 

ทางญี่ปุ่นจึงวางแผนพร้อมเตรียมใช้กองกำลังที่เหลืออยู่อย่างเต็มอัตราและตั้งชื่อกองเรือขึ้นมาว่า “กองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำ” ซึ่งกองเรือได้ออกจากเมืองโทะกุยะมะในวันที่ 6 เมษายน ตามแผนการ

แต่ทว่าแผนการทั้งหมดของปฏิบัติการเท็งโง ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรดักฟังและถอดรหัสสัญญาณวิทยุได้ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามทราบถึงรายละเอียดของปฏิบัติการทั้งหมด!!

ในวันถัดมากองเรือรบถูกฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าปิดล้อม พร้อมทั้งเปิดฉากสู้รบทันที ทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้ปล่อยฝูงบินจำนวนหลายร้อยลำออกมาเพื่อโจมตีเรือรบยามาโตะ โดยการโจมตีนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 6 ระลอกด้วยกัน ซึ่งการโจมตีแต่ละครั้งก็หนักหนาสาหัสพอสมควร

 

 

การโจมตีทั้ง 6 ระลอกด้วยเที่ยวบินกว่า 1,000 เที่ยวบินหมุนเวียนกันโจมตี จนในที่สุดเรือรบยามาโตะก็ถูกโค่นลงในที่สุด

แต่ว่ากว่าจะจมยามาโตะลงได้ ทางสหรัฐได้รายงานว่าพวกเขาใช้ตอร์ปิโดไป 200 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดกลางอีกมากกว่า 200 ลูก

 

วาระสุดท้ายของเรือประจัญบานผู้เกรียงไกร

 

สุดท้ายแล้วทางญี่ปุ่นก็ต้องใช้เวลาอยู่นานกว่าจะยอมรับและเปิดเผยให้ทั้งประเทศได้รับรู้ว่าเรือรบที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาประสบกับความพ่ายแพ้

แต่ด้วยเหตุการณ์ในครั้งนี้กลับไม่มีชาติไหนที่ตัดสินใจจะสร้างเรือประจัญบานอีกเลย จนสุดท้ายเรือบรรทุกเครื่องบินก็เข้ามาแทนที่…

 

 

สืบเนื่องจากความน่าเกรงขามของยามาโตะ บทบาทในปัจจุบันของเรือรบยามาโตะก็ยังคงโลดแล่นอยู่ ทั้งกลายเป็นภาพยนตร์ หรือถูกใช้เป็นอ้างอิงในการสร้างเรื่องราวต่างๆ รวมถึงเกมที่นำเรือรบสุดแกร่งนี้ไปใช้ด้วยเช่นกัน

ถึงแม้ตอนนี้เรือรบยามาโตะจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว แต่เชื่อเถอะว่าความโหดของเรือรบประจัญบานลำนี้จะยังคงตราตรึงอยู่ในประวัติศาสตร์ไปอีกนานเท่านาน

 

 

ที่มา wikipedia

Comments

Leave a Reply