ปรากฎการณ์ Kessler Syndrome ภาวะเศษขยะนอกโลกมากขึ้น จนอาจอันตรายต่อโลกเรา…

เราคงเคยได้ยินการปล่อยจรวดหรือดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศมาบ่อยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เดี่ยวนี้ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การนำสิ่งต่างๆ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและอวกาศได้ง่ายขึ้น

แต่เราเคยคิดไหมว่าการที่เราได้ปล่อยจรวดและดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากๆ เข้าจะเกิดการสะสมของ “ขยะอวกาศ” โดยปรากฎการณ์นี้นั้นเรียกว่า Kessler Syndrome

 

ภาพจากคอมพิวเตอร์ที่วิเคราะห์ปริมาณขยะอวกาศที่มนุษย์สร้างขึ้น…

 

ย้อนกลับไปในปี 1979 ภาวะ Kessler syndrome ถูกพูดถึงโดยนักวิทยาศาสตร์ Donald J. Kessler และเขายื่นข้อมูลดังกล่าวให้ NASA เพื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเรื่องนี้

โดยภาวะ Kessler synrome นั้นกล่าวถึงสถานการณ์ความหนาแน่นของวัตถุในวงโคจรต่ำ ที่นานวันเข้าการสะสมของขยะอวกาศนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดโอกาสการชนกันที่มากขึ้น ซึ่งนี้อาจจะทำให้การปล่อยยานอวกาศในรุ่นต่อๆ นั้นยากมากขึ้นเนื่องมาจากยานไม่สามารถฝ่าขยะอวกาศออกไปได้

 

หากเราปล่อยไว้ การสำรวจอวกาศในยุคถัดไปอาจจะทำได้ยากขึ้น

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

 

นอกจากความหนาแน่นของขยะอวกาศแล้วยังเป็นเรื่องของ “ความเร็ว” ที่ขยะพวกนี้โคจรรอบโลกด้วยความเร็วมากกว่า 1,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอีกด้วย

 

หนังเรื่อง Gravity แสดงให้เห็นถึงอันตรายของขยะอวกาศได้เป็นอย่างดี

 

หลังจากที่ขยะอวกาศชนกันก็จะก่อให้เกิด “กลุ่มเมฆของเศษขยะขนาดเล็ก” แตกกระจายกันไปทั่วทุกทิศทางโดยมีความเร็วกว่า 32,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลองนึกสภาพว่าเจ้าเศษเล็กๆ เหล่านี้พุ่งชนเข้ากับยานอวกาศอยู่จะเกิดอะไรขึ้น

 

แม้จะดูเล็กน้อยแต่ลองนึกสภาพว่าเศษซากกว่า 100 ชิ้นพุ่งตรงมาทิศเดียวกัน

 

ด้วยความเร็วของเศษขยะอวกาศ มันสามารถที่จะเจาะทะลุเหล็กหนาได้

 

และด้วยเทคโนโลยีในขณะนี้ NASA กำลังติดตามเศษซากวงโคจรประมาณ 300,000 ชิ้นซึ่งมีขนาด 1 เซนติเมตรหรือใหญ่กว่านั้นได้

โดยในขณะนี้มีหลายหน่วยงานทั้งจากรัฐบาลและเอกชนทั่วโลกได้ตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหานี้ โดยมีหลากหลายวิธีการในการกำจัดขยะอวกาศเหล่านี้

แต่หนึ่งในไอเดียที่น่าสนใจ (และใช้ต้นทุนถูก) นั่นก็คือการชะลอความเร็วโคจรของขยะเหล่านี้แะปล่อยให้มันตกลงสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อเผาไหม้มันตามธรรมชาติ

 

หากเราใช้วิธีดังกล่าว เราอาจจะเห็นดาวตกทุกคืนก็เป็นได้นะ

 

ที่มา: futurism , wikipedia

Comments

Leave a Reply