เปรียบเทียบ 20 ภาพของโลกในอดีตกับปัจจุบัน กับเหตุผลว่าทำไมต้องเซ็นสนธิสัญญาปารีส

หลังจากที่เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อนที่ท่านประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา Donald Trump ได้ตัดสินใจยกเลิกสนธิสัญญาปารีสไป ก็ทำให้ผู้คนในหลายประเทศจับตามองถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปกับโลกของเรา

เพราะสนธิสัญญาฝรั่งเศสเดิมนั้นมีไว้เพื่อป้องกันภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก โดยในเนื้อหาสัญญาจะมีผลบังคับให้แต่ละประเทศลดการใช้เชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิลลง เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส

ในทวีปแถบตะวันตก และตะวันออก ได้ให้การร่วมมือกันแทบจะทุกประเทศเว้นแต่ประเทศ Nicaragua และ Syria ซึ่งสองประเทศนี้ยังไม่เป็นที่น่ากังวลเท่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่ถือได้ว่าเป็นตัวการใหญ่ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกรายหนึ่งนั่นเอง

ตั้งแต่โลกของเราเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ผ่านมาแล้วเกือบ 70 ปี ด้วยกัน เราลองไปชมภาพถ่ายจากองค์กร NASA ที่จะมาแสดงให้เห็นกันแบบจะๆ ว่าที่ผ่านมาการทำอุตสาหกรรมได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรกับโลกไปแล้วบ้าง

 

ภาพถ่ายธารน้ำแข็ง Muir ในอลาสก้าเมื่อปี 1941 กับปี 2004

 

ภาพถ่ายเทือกเขา Matterhorn ในประเทศ Switzerland ในปี 1960 เทียบกับ 2005

 

ภาพถ่ายจากดาวเทียมเปรียบเทียบสภาพภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติ Mount Elgon ใน Uganda เมื่อปี 1973 เทียบกับ 2005

 

เมือง Salta ประเทศ Argentina ในช่วงปี 2009 หากย้อนกลับไปเมื่อปี 1972 จะเห็นได้ว่ายังคงเป็นผืนป่าที่เขียวขจีอยู่

 

การบุกรุกพื้นที่ป่าที่เห็นได้อย่างชัดเจนในป่า Mau ประเทศ Kenya เปรียบเทียบกับเมื่อปี 1973 กับ 2009

 

อุทยานแห่งชาติทะเลสาบ Nakuru ในประเทศ Kenya เมื่อปี 1973 เทียบกับปี 2000

 

เปรียบเทียบพื้นที่ของป่า South American Atlantic ในประเทศ Paraguay ในปี 1973 กับปี 2008

 

นี่คือพื้นที่ป่าในแถบ Rondonia ประเทศ Brazil เมื่อปี 1975 เทียบกับ 2009 จะเห็นได้ว่าถูกบุกรุกอย่างหนัก

 

พื้นที่ป่า Baban Rafi ในประเทศ Niger ในปี 1976 เทียบกับปี 2007

 

ภาพของภูเขาในประเทศ Kenya เมื่อปี 1976 เทียบกับปี 2007 ถูกบุกรุกพื้นที่ป่าอย่างหนักเช่นกัน

 

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้ธารน้ำแข็ง Qori Kalis ในประเทศเปรูเปลี่ยนแปลงไปจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม จากปี 1978 เทียบกับปี 2011

 

ภาพเปรียบเทียบน้ำแข็งบนยอดเขา Ecuador ในปี 1986 กับปี 2007 จะเห็นได้ว่าน้ำแข็งไบนยอดเขาได้ละลายลงไปมากพอสมควรเลยล่ะ

 

ภาพถ่ายทะเลสาบในอุทยานแห่งชาติ Great Sand Dunes ในรัฐ Colorado เมื่อปี 1987 เทียบกับ 2011 พบว่าน้ำหายไป

 

ทะเล Aral ที่เป็นทะเลปิด ตั้งอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเชีย เปรียบเทียบกันเมื่อปี 2000 กับปี 2014 ได้แห้งเหือดไปจนเกือบหมดแล้ว

 

เช่นเดียวกันกับทะเลสาบ Elephant Butte Reservoir ในรัฐ New Mexico ในปี 1994 เทียบกับ 2013 ที่ใกล้จะแห้งเหือดไปตามๆ กัน

 

แม่น้ำใน Arizona ในปี 1999 เทียบกับปี 2014

 

ทะเลสาบ Mar Chiquita ใน Argentina ในปี 1998 เทียบกับปี 2011 เหือดแห้งอย่างเห็นได้ชัด

 

ภาพพื้นที่ป่า Mabira ใน Uganda ในปี 2001 ผ่านไปเพียง 5 ปีเท่านั้น

 

ภัยแล้งรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และนี่คือภาพแหล่งน้ำในรัฐ Kansas ในปี 2010, 2011, และ 2012 เหือดแห้งลงไปอย่างรวดเร็ว

 

สภาพของทะเลสาบ Urmia ในประเืศ Iran เมื่อปี 2000 เทียบกับปี 2013

 

นี่เพียงแค่ผ่านไปไม่กี่ปีเท่านั้น ก็เห็นได้ถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจน และยิ่งการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาได้ถอนตัวออกไปจากสนธิสัญญาปารีสด้วยแล้วล่ะก็ นึกไม่ออกเลยว่าปัญหาโลกร้อนจะทวีความรุนแรงขึ้นขนาดไหน…

ที่มา : businessinsider

Comments

Leave a Reply