ก้อนอำพัน วัตถุจากยุคดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการศึกษาเกี่ยวกับโลกยุคโบราณ นอกจากซากของแมลงที่ติดอยู่ภายในแล้ว ยังมีซากของสัตว์อื่นๆ อย่างเช่นนกโบราณหรือไดโนเสาร์ติดอยู่ในก้อนยางไม้เหล่านี้ด้วย
และเมื่อไม่นานมานี้ทีมนักสำรวจได้ค้นพบอำพันที่มีอายุเก่าแก่ ซึ่งภายในนั้นมีซากของลูกนกโบราณที่สภาพสมบูรณ์มากๆ
ก้อนอำพันนี้มีอายุประมาณ 100 ล้านปี ถูกค้นพบที่ประเทศพม่า โดยภายในนั้นพวกเขาพบส่วนหัว คอ ปีก หาง และเท้าของลูกนก ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอายุประมาณ 1 วันเท่านั้น
ส่วนสาเหตุการตายนั้นทางทีมสำรวจคาดว่า เจ้าลูกนกอาจจะหล่นลงมาจากต้นไม้และตกลงบนพื้นที่เต็มไปด้วยยางสน
สถานที่ค้นพบก้อนอำพันดังกล่าว
คุณ Ryan McKellar จากพิพิธภัณฑ์ Royal Saskatchewan ประเทศแคนาดา หนึ่งในทีมสำรวจกล่าวว่า “มันอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก และมีรายละเอียดครบถ้วนอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน มันน่าตื่นเต้นมาก”
ภายในก้อนอำพันเผยให้เห็นผิวหนังที่แท้จริงและส่วนเนื้อของลูกนก คุณ McKellar บอกว่าการค้นพบก่อนหน้านี้พวกเขาไม่สามารถเห็นตัวอย่างของเนื้อสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้ เนื่องจากมันถูกทำลายด้วยคาร์บอนและไม่สามารถตรวจหา DNA ของมันได้
แต่ถึงแม้ว่าซากลูกนกที่พบในก้อนอำพันนั้นจะไม่สามารถบ่งบอกถึงสีขนได้ แต่นั้นก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณ McKellar และทีมสำรวจแต่อย่างใด
ซากของลูกนกดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มของนกที่เรียกกันว่า “opposite birds” ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของนกที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน พวกมันการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสูญพันธุ์ไปพร้อมกับไดโนเสาร์เมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว
“ก่อนหน้านี้มีการค้นพบปีกของลูกนกในก้อนอำพันเช่นกัน ซึ่งปีกดังกล่าวอยู่ในช่วงแรกเกิดของลูกนกและเริ่มมีขนปกคลุมที่ปีก
แต่การค้นพบในครั้งใหม่นี้ซากของลูกนกนั้นมีพัฒนาการที่ดีกว่า แต่ดูเหมือนว่าขนในช่วงลำตัวของมันจะขาดหายไป นั่นอาจเป็นไปได้ว่ามันพยายามปีนขึ้นต้นไม้หลังจากที่ตกลงมา” คุณ McKellar กล่าว
ก้อนอำพันพร้อมปีกของลูกนก ที่พบก่อนหน้านี้
เนื้อและผิวหนังของลูกนกถูกธรรมชาติช่วยรักษาความสมบูรณ์เอาไว้
ถึงแม้ว่าเจ้านกดึกดำบรรพ์นี้จะมีลักษณะคล้ายกับนกที่เราพบในปัจจุบัน แต่ว่าพวกมันนั้นมีลักษณะของข้อต่อในส่วนช่วงไหล่ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้พวกมันยังมีกรงเล็บที่ปีก และมีขากรรไกรกับฟันที่ไม่เหมือนกับนกที่พบในปัจจุบัน
ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้พวกมันสูญพันธ์ุได้อย่างแน่ชัด แต่หนึ่งในสาเหตุที่เป็นไปได้นั้นอาจมาจากลักษณะของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ที่มา newscientist
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.