เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่าทำไมคุณถึงรู้สึก “เหงา” และจะส่งผลอย่างไรบ้าง!?

เป็นธรรมดาที่เราอาจจะรู้สึก ‘เหงา’ ในบางเวลา น่าแปลกเหมือนกันนะ… เพราะโลกเรามีประชากรตั้งไม่รู้กี่หลายล้านคน แถมในชีวิตเราได้รู้จักผู้คนก็อีกตั้งมากมาย ทว่าสุดท้ายความเหงาก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ในใจเราเสมอ

แต่ใช่ว่าเรื่องของความเหงาจะเป็นเพียงความรู้สึกลอยๆ ที่จับต้องไม่ได้เท่านั้น เพราะงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่ศึกษากันมาตั้งแต่ปี 2006 จะมาช่วยอธิบายให้เราเห็นภาพว่าทำไมเราถึงรู้สึกเหงา และจะแก้ไขความอ้างว้างที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร

 

แม้แต่แมวยังเหงาเลย

 

งานวิจัยของ Stephanie Cacioppo และ Hsi Yuan Chen นักประสาทวิทยาที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Personality and Social Psychology Bulletin

โดยทีมวิจัยได้ได้ใช้เวลานานกว่า 11 ปี ในการเก็บข้อมูลระดับความรู้สึกเหงา และสังเกตระดับนิสัยการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ของอาสาสมัครชาวเมืองชิคาโก 230 คน ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 50 – 68 ปี

 

 

จากการตามเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกปีทีมวิจัยได้ค้นพบว่า กลุ่มคนที่มีระดับความเหงาเพิ่มขึ้นในแต่ละปี มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะนิสัยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางมากขึ้นในปีต่อๆ ไป

นอกจากนั้นในกลุ่มคนที่มีลักษณะนิสัยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่แล้ว ทีมวิจัยพบว่าในปีต่อๆ ไประดับความเหงาของคนกลุ่มนี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเช่นเดียวกัน

 

 

ความเหงาในระดับที่พอดีอาจเป็นแรงกระตุ้นให้เราทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้สมาธิส่วนตัวสูง แต่กลับกันถ้าความเหงาที่มากเกินไปก็อาจจะส่งผลต่อทั้งสภาพจิตใจ ร่างกาย สมอง ฮอร์โมน หรือแม้กระทั่งในระดับพฤติกรรมได้เลย

จากงานวิจัยดังกล่าวพอจะชี้ให้เห็นได้ว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระดับความเหงาโดยตรง ก็คือลักษณะนิสัยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล (Self-Centered)

 

 

ทีนี้ก็ได้รู้แล้วว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญของความอ้างว้างในใจเรา แต่จำไว้ว่าความ ‘เหงา’ ไม่เคยฆ่าใคร…

ที่มา: Inverse

Comments

Leave a Reply