จีนเตรียมสร้าง ‘เมืองป่า’ แห่งแรกของโลกในปี 2020 หวังช่วยลดปัญหามลพิษในอากาศ

ในขณะที่โลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลง อาคารบ้านเมืองต่างๆ กำลังขยายตัวขึ้น สิ่งหนึ่งที่ตามมาจากการพัฒนานี้ก็คงหนีไม่พ้นปัญหาด้านมลพิษทางอากาศอย่างแน่นอน

และหนึ่งในประเทศที่เรียกได้ว่ามีมลพิษทางอากาศสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกนั่นก็คือประเทศจีน แต่เมื่อไม่นานมานี้ทางการจีนมีแผนที่จะจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดยพวกเขาได้วางแผนสร้างเมืองต้นไม้เพื่อหวังแก้ปัญหามลพิษที่ว่านี้

 

 

สำหรับโครงการเมืองต้นไม้นี้ ทางการจีนกำลังวางแผนจะสร้างในเมือง Liuzhou ในเขตปกครองตนเอง Guangxi ซึ่งพวกเขาอ้างว่าเมืองแห่งนี้จะเป็นเมืองแห่งป่าที่แรกของโลกเลยทีเดียว!!

การออกแบบดังกล่าวเป็นผลงานของคุณ Stefano Boeri สถาปนิกชื่อดังที่เคยฝากผลงานการออกแบบอาคารต้นไม้ในเมือง Milan มาแล้ว

 

 

เมืองเล็กๆ แห่งนี้จะมีพื้นที่ในการก่อสร้างทั้งหมดราวๆ 1,750,000 ตารางเมตร และจะประกอบไปด้วยที่พักอาศัยของผู้คนประมาณ 30,000 คน

ในเมืองต้นไม้แห่งนี้จะมีการนำพลังงานเชื้อเพลิงที่สะอาดอย่างความร้อนจากใต้พื้นโลก พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ทดแทนพลังฟอสซิล และนอกจากเมืองดังกล่าวยังเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายทั้งโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และโรงพยาบาล

 

 

โปรเจกต์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในความต้องการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของรัฐบาลจีน ที่นี่จะเต็มไปด้วยต้นไม้ถึง 40,000 สายพันธุ์มากกว่า 1,000,000 ต้น

โดยแต่ละปีต้นไม้เหล่านี้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ได้เกือบ 10,000 ตันและสารพิษอื่นๆ อีก 57 ตัน และนอกจากนี้พื้นที่สีเขียวเหล่านี้ยังสามารถสร้างก๊าซออกซิเจนได้มากถึง 900 ตันต่อปีเลยทีเดียว

 

 

นอกจากประโยชน์ในเรื่องของการลดปัญหามลพิษและให้ความร่มรื่นกับมนุษย์แล้ว พันธุ์ไม้หลากชนิดในเมืองสีเขียวแห่งโลกอนาคตนี้ยังอาจช่วยพื้นฟูระบบนิเวศต่างๆ และเป็นที่อยู่ของพวกแมลงและสัตว์ต่างๆ อีกด้วย

 

และนี่คือภาพของจำลองของเมืองต้นไม้นี้

.

.

 

มีต้นไม้อยู่แทบจะทุกที่ของเมืองจริงๆ ทั้งบนอาคารและสองฝั่งถนน

.

.

.

 

โปรเจกต์นี้มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2020 โดยผู้ที่สนใจจะไปชื่นชมความสวยงามของเมืองนี้ก็สามารถนั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากเมือง Liuzhou โครงการเมืองสีเขียวนี้ได้รับการพัฒนาในหลายพื้นที่ของประเทศจีนไม่ว่าจะเป็น ตึกป่าในเมือง Nanjing หรือการวางแผนสร้างเมืองป่าอีกแห่งที่มลฑล Hebei 

ที่มา shanghaiist

Comments

Leave a Reply