13 ความจริงเกี่ยวกับ “หมึกยักษ์” ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันน่าสะพรึงขนาดไหน!?

หมึกยักษ์อาจเป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความลึกลับมากมายเกี่ยวกับปลาหมึกยักษ์ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน หรือเพิ่งรู้เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานี้เอง จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

1. หมึกยักษ์มีขนาดตาเท่าจานร่อน

เส้นผ่าศูนย์กลางของปลาหมึกยักษ์จะอยู่ที่ 10.5 นิ้ว แต่เมื่อมันตาย ดวงตาของมันก็ยุบลงไปเหมือนถุงพลาสติก อย่างไรก็ตามหมึกยักษ์ก็ไม่สามารถมองเห็นสีได้

 

2. ตัวเมียจะตัวใหญ่กว่าตัวผู้

โดยเฉลี่ยแล้วหมึกยักษ์ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2 เท่า หรือยาวกว่าประมาณ 3 เมตร

 

3. ปุ่มดูดของพวกมันสามารถใช้เป็นอาวุธที่รุนแรงได้

ปุ่มดูด (sucker) บนแขนมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งปุ่มดูดอันใหญ่ที่สุดบนหนวดจับมีขนาดถึง 5-5.5 เซนติเมตร เมื่อถูกโจมตี ปลาหมึกยักษ์จะตอบโต้การขยายปุ่มดูดให้กว้างเพื่อจู่โจมศัตรู

 

4. หมึกยักษ์มีความยาวเฉลี่ย 13 เมตร

ขนาดโดยไม่รวมหนวดคือ 5 เมตร ถ้าวัดรวมหนวดด้วยตัวเมียจะมีขนาดประมาณ 13 เมตร และหนัก 15 กิโลกรัม แต่เชื่อกันว่าจริงๆ แล้วอาจจะมีขนาดใหญ่ได้ถึง 20 เมตร แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน

 

5. แทนที่จะใช้ลิ้น พวกมันจะใช้แรดูลา(radula) แทน

แรดูลาเป็นอวัยวะส่วนที่อยู่ในปากและปกคลุมด้วยฟันซี่เล็กๆ ทั้ง 7 แถว ใช้สำหรับจับหอยหรือเหยื่อที่มีเปลือกแข็ง โดยสามารถเจาะรูเปลือกของเหยื่อและเข้าไปกัดแทะเนื้อได้

 

6. หนวดของมันสามารถงอกขึ้นใหม่ได้

เมื่อโดนนักล่าทำร้าย  หมึกยักษ์สามารถสลัดหนวดและงอกขึ้นมาใหม่ได้ในไม่กี่อาทิตย์ นอกจากนี้พวกมันก็ยังป้องกันตัวด้วยหมึกที่อาจจะฟุ้งอยู่ในน้ำนานถึง 10 นาที

 

7. ศัตรูตามธรรมชาติของหมึกยักษ์คือ วาฬสเปิร์ม

มีการพบแผลบนวาฬสเปิร์มจำนวนมาก ซึ่งคล้ายกับปุ่มดูดของหมึกขนาดใหญ่ ก่อนจะรู้ในภายหลังว่าในแต่ละปีหมึกยักษ์จะถูกวาฬสเปิร์มกินราว 4.3 ถึง 131 ล้านตัว จึงไม่แปลกที่พวกมันจะทิ้งร่องรอยการต่อสู้เอาไว้

 

8. หมึกยักษ์มี 3 หัวใจ

หมึกยักษ์มีหัวใจ 3 หัวใจ แต่ระบบหัวใจของพวกมันนั้นไม่มีประสิทธิภาพซึ่งทำให้พวกมันอายุขัยสั้น นอกจากนี้หมึกยักษ์ก็ยังมีเลือดสีน้ำเงินที่ประกอบไปด้วยฮีโมไซยานินอีกด้วย

9.  คู่หมึกยักษ์จำกันได้ด้วยกลิ่นและสัมผัส

อวัยวะเพศของหมึกยักษ์ตัวผู้ก็คือหนวดเส้นที่ 3 นับจากทางขวาเรียกว่าเฮ็กโตโคไทลัสซึ่งสามารถหลุดออกมาได้   การผสมพันธุ์ของพวกมันยาวนาน 2 ชม. แต่หลายครั้ง โดยตัวผู้นั้นจะสอดใส่เฮ็กโตโคไทลัสไปในร่างกายของตัวเมียและปล่อยสเปิร์มมาโทฟอร์

หลังจากการผสมพันธุ์อวัยวะสืบพันธุ์นั้นก็จะหลุดออกและงอกขึ้นมาใหม่ในฤดูผสมพันธุ์ถัดไป แต่อย่างไรก็ตาม   หมึกยักษ์นั้นมักจะผสมพันธุ์แค่ครั้งเดียวในชีวิต

หมึกยักษ์ตัวผู้นั้นไม่จำเป็นต้องเข้าใกล้ตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ เพราะเมื่อสเปิร์มมาโทฟอร์ของพวกมันพัฒนาขึ้นก็จะหลุดออกไปพร้อมกับเฮ็กโตโคไทลัส และอวัยวะสืบพันธุ์นี้ก็จะว่ายน้ำไปหาตัวเมียเอง ซึ่งเมื่อเจอก็จะเข้าไปในร่างกายของตัวเมียเพื่อผสมกับไข่

10. ภาพแรกของหมึกยักษ์ ถูกถ่ายในห้องน้ำ

ในปี 1873 Moses Harvey ได้ซื้อหมึกยักษ์ที่ตายแล้วจากชาวบ้าน แล้วมาแขวนไว้ในห้องน้ำเพื่อถ่ายรูปเอาไว้ให้ลูกหลานได้ดู เพราะมีไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นปลาหมึกยักษ์

 

11. ลำตัวของหมึกยักษ์สามารถเปลี่ยนสีได้

สีของปลาหมึกยักษ์มีสีแดงแก่จนถึงน้ำตาลแดง จากเซลล์เม็ดสี (chromatophore) ที่ผิวหนัง มันมีความสามารถในการเปลี่ยนสีลำตัว เกิดจากการบังคับด้วยกล้ามเนื้อ การที่ตัวมีสีแดงจะช่วยให้มันสามารถพรางตัวได้ดีในที่ลึก

 

 

12. สมองของหมึกยักษ์มีลักษณะคล้ายโดนัท

การที่หมึกมีสมองคล้ายโดนัทดูจะไม่ค่อยแปลกเท่าไร เพราะสิ่งที่แปลกกว่าคือ หลอดอาหารของมันทะลุผ่านรูตรงกลางของสมอง ทำให้พวกมันต้องระมัดระวังเวลากลืนอาหาร เพราะหากอาหารมีขนาดใหญ่เกิดอาจสร้างความเสียหายกับสมองได้

13. ก่อนปี 2004 ไม่เคยมีใครถ่ายภาพหมึกยักษ์ตอนมีชีวิตได้เลย

ปลาหมึกยักษ์ตัวเป็นเพิ่งจะถูกถ่ายรูปได้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ปี 2004 บนเกาะ Ogasawara ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยนักสัตววิทยา Tsunemi Kubodera และผู้พิทักษ์ปลาวาฬ Kyochi Mori

 

ที่มา mentalfloss

Comments

Leave a Reply