นักวิทย์ค้นพบสาเหตุที่ “คอนกรีตโรมัน” ยังแข็งแกร่งอยู่ได้นับพันปี แม้จะอยู่ริมทะเลก็ตาม!!

นับว่าเป็นปริศนามานานนับหลายพันปี กับการพยายามตามหาคำตอบที่ว่า… ทำไมเสาคอนกรีตของโรมันยุคโบราณ ถึงมีความแข็งแกร่งมานานนับ 2,000 ปี แม้ว่าจะโดนน้ำทะเลกัดเซาะทุกวันก็ตาม

และล่าสุดทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูท่าห์ ก็ได้ค้นพบคำตอบของปัญหาดังกล่าวแล้วว่า ทำไมเสาคอนกรีตโรถึงมีความแข็งแรงมากขึ้นตามอายุขัยของมัน..!?

 

 

โดยทีมวิจัยได้เดินทางรวบรวมตัวอย่างจากทั้งวิหารพาร์เธนอนและวิหารต่างๆ จากนั้นนำไปศึกษาค่าแร่ธาตุที่ประกอบอยู่ในเสาผ่านการฉายแสงเอ็กซ์เรย์

 

ทีมวิจัยผู้ค้นพบคำตอบของปริศนา 2,000 ปี

 

ทีมวิจัยจากสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบว่า เสาโรมันยุคโบราณที่ถูกสร้างขึ้นมาจากเถ้าภูเขาไฟและหินปูนนั้น สามารถที่จะดูดซับเกลือแร่จากน้ำเค็มของทะเลได้ดีอย่างน่าเหลือเชื่อ และส่งผลให้เสาคอนกรีตโบราณมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

วิศวกรจากยุคโรมันได้คิดค้นวิธีการสร้างเสาชนิดนี้ ด้วยการผสมเถ้าภูเขาไฟ หินปูนและน้ำทะเลเพื่อสร้างเป็นปูนขาว จากนั้นผสมตามด้วยหินภูเขาไฟก่อนจะนำมาสร้างเป็นเสาวิหารอีกทีหนึ่ง

 

 

นอกจากนั้นทีมนักวิจัยยังเชื่อว่า ภูมิปัญญาการสร้างเสาหินของชาวโรมันในยุคนั้นอาจเรียนรู้มาจากปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่เรียกว่า ‘Tuffs’ ซึ่งเป็นการกำเนิดหินภูเขาไฟตามธรรมชาติ

ถึงแม้ว่าจะไม่มีการค้นพบหลักฐานที่บันทึกภูมิปัญญาดังกล่าวเป็นชิ้นเป็นอัน แต่จากการค้นพบครั้งนี้ก็ทำให้ทีมวิจัยได้กลับไปทดลองสร้างคอนกรีตโดยใช้วิธีการที่ค้นพบจากยุคโรมันอีกครั้ง

 

 

นักวิจัยเชื่อว่าถ้าหากเราสามารถนำวิทยาการจากยุคโบราณดังกล่าว มาประยุกต์ใช้กับโลกยุคปัจจุบันได้ ภูมิปัญญาจากโรมันชิ้นนี้อาจจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้เลย

“ในยุคโบราณชาวโรมันมักจะมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องการใช้ประโยชน์จากหิน พวกเขาค้นพบว่าเถ้าภูเขาไฟสามารถนำมาสร้างเป็นหินที่ดูดซับเกลือแร่จากทะเลได้ดี ทว่าทรัพยากรหินชนิดนี้กลับมีน้อยมาก เราจึงจำเป็นที่จะต้องหาวัตถุดิบชิ้นอื่นแทน” ศาสตราจารย์ให้สัมภาษณ์

 

และล่าสุดงานวิจัยครั้งนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร American Mineralogist อีกด้วย…

 

อีกหน่อยถ้านำมาประยุกต์ใช้ได้จริง คงช่วยพัฒนาการก่อสร้างอาคารไปได้อีกขั้นเลยนะ

ที่มา: Telegraph

Comments

Leave a Reply