นักวิทยาศาสตร์แนะ “อย่าตัดสินใจเรื่องใหญ่ ตอนโมโหหิว” เพราะอาจจะตัดสินใจผิดได้…

เคยไหมเวลาที่คุณหิวมากๆ คุณจะรู้สึกโมโหและหงุดหงิดง่าย นั้นไม่ไช่เพียงข้ออ้างนะ เพราะว่าการโมโหหิวนั้น มันมีจริงๆ แถมยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

ยิ่งในเวลาก่อนอาหารเที่ยงนั้นเป็นช่วงเวลาที่เราจะหิวเป็นที่สุด ทำให้อารมณ์นั้นไม่ค่อยอยู่นิ่งซักเท่าไหร่ ซึ่งเรื่องนี้มีผลวิจัยออกมาด้วย เรามาดูกันว่ามันเกิดจากอะไร และจะมีผลเสียอย่างไรบ้าง

 

Simon Oxenham นักวิทยาศาสตร์ได้เขียนบทความเกี่ยวกับการโมโหหิวไว้ว่า “เหตุผลหลักที่ทำให้เราหงุดหงิดมากขึ้นเมื่อหิวเป็นเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลง” 

 

“การที่น้ำตาลในเลือดต่ำนั้นยังกระตุ้นการปลดปล่อยฮอร์โมน ที่เกี่ยวกับความเครียดเช่น คอร์ติซอล และ อะดรีนาลีน รวมถึงสารเคมีที่เรียกว่า neuropeptide Y ซึ่งได้รับการค้นพบว่าทำให้คนมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้คนที่อยู่รอบๆ ตัว”

 

นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาในอดีตที่ได้อ้างว่าผู้พิพากษาที่ยังไม่ได้กินอะไร มีโอกาสที่จะให้คำตัดสินผ่อนปรนน้อยกว่าตอนที่ผู้พิพากษานั้นทานอาหารเที่ยงแล้ว

ซึ่งนั้นหมายความถ้าคุณได้เผชิญหน้ากับการพิจารณาจากผู้พิพากษาก่อนอาหารเที่ยงนั้น มีเกณฑ์ที่จะได้รับคำผ่อนปรนน้อยกว่านั่นเอง

 

 

แต่อย่างไรก็ตามผลการวิจัยนี้ก็ไม่ได้มีการทำซ้ำอีก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ Simon ได้กล่าวถึงการวิจัยเรื่องนี้ไว้ว่า “การที่ผู้พิพากษารีบที่จะตัดสินคดีต่างๆ ในช่วงก่อนเที่ยงนั้น อาจจะเพื่อเป็นการจำกัดเวลาให้ไม่เกินไปหลังอาหารกลางวันนั่นเอง”

 

แม้ว่าการวิจัยต่างๆ นั้นยังไม่มีผลที่แน่ชัด ว่าความหิวนั่นมีผลต่อการใช้ชีวิตมากแค่ไหน แต่นักวิทยาศาสตร์ Simon ก็แนะนำว่าเราไม่ควรที่จะตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ ในตอนที่ท้องว่างนะ

ที่มา ladbible

Comments

Leave a Reply