“ปลาไม่มีความเจ็บปวดเหมือนมนุษย์” นี่คือหนึ่งในข้อสรุปจากงานวิจัยวิจัยที่ประกอบไปด้วยนักประสาทวิทยา นักพฤติกรรม และผู้เชี่ยวชาญทางด้านปะมง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการตกปลารู้สึกสบายใจขึ้นมานิดหน่อยก็ได้
การศึกษาครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญจากยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลศึกษาในขั้นต้นนั้นบอกว่าปลาไม่ได้มีระบบประสาทและสรีระร่างกายที่สามารถรับรู้ได้ถึงความเจ็บปวดได้เหมือนกับมนุษย์
อาการความเจ็บปวดโดยทั่วไปของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นจากกระตุ้น Nociceptor หรือเซลล์ประสาทรับรู้ความรู้สึก โดยเมื่อมันได้รับการกระตุ้นแล้วจะทำการส่งสัญญาณประสาทไปยังสมองและกระดูกสันหลัง จากนั้นจึงแปลงเป็นความรู้สึกเจ็บออกมา
และในระดับความรู้สึกทางด้านอารมณ์ ความเจ็บปวดจะรุนแรงขึ้นจากความหวาดกลัวและสามารถสร้างอาการทางจิตใจได้ถึงแม้ว่าความเจ็บปวดนั้นจะไม่ได้สร้างบาดแผลให้เราเลยก็ตาม นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บปวดที่สามารถเกิดขึ้นได้เองอย่างเช่นอาการชาอีกด้วย
และจากการศึกษาพบว่าพวกปลานั้นไม่ได้มีระบบการรับรู้ความเจ็บปวดที่เหมือนกับมนุษย์ โดยเส้นประสาท c-nociceptors ที่มีส่วนต่อระดับความรุนแรงของความเจ็บปวดที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไปนั้น ไม่พบในพวกปลาชนิดต่างๆ ตั้งแต่ปลากระดูกอ่อนอย่างพวกฉลาม กระเบน ไปจนถึงปลากระดูกแข็งอย่างพวกปลาคาร์ฟและปลาเทราท์
ดังนั้นในทางสรีระวิทยาแล้วพวกปลาแทบจะไม่สามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวดได้เลย แต่อย่างไรก็ตามพวกปลากระดูกอ่อนนั้นมีเซล์ประสาทรับความรู้สึก ซึ่งจะทำให้พวกมันสามารถตอบสนองต่อความเจ็บปวดและสิ่งที่มากระทบกับตัวมันได้ แต่ก็ไม่อาจจะยืนยันได้ว่าพวกมันสามารถรับรู้ถึงความเจ็บนั้นได้เช่นกัน
การศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษาความเจ็บปวดของปลาที่ได้รับจากการกระตุ้นอย่างเช่นการถูที่รอยแผลบนตัวปลา หรือการอดอาหารพวกมันเท่านั้นอย่างไรก็ตามการทดลองนี้ไม่ได้ศึกษาถึงความรู็สึกเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบเซลประสาทรับรู้ความรู้สึกของพวกมัน
และการแสดงความรู้สึกทางด้านอารมณ์ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่การศึกษานี้ไม่ได้กล่าวถึง โดยสรุปแล้วงานวิจัยชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าปลาไม่มีการรับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดที่เหมือนกับมนุษย์ ซึ่งจริงๆ แล้วเราไม่สามารถตีความพฤติกรรมของพวกปลาโดยใช้มนุษย์เป็นเกณฑ์ได้
ถึงแม้ว่าผลศึกษาจะออกมาอย่างไร แต่การเบียดเบียนสัตว์ ก็เป็นการผิดศีลข้อแรกนะโยม
ที่มา sciencedaily
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.