ทำความรู้จักกับ ‘Bhupathy’s purple frog’ กบสีม่วงสายพันธุ์ใหม่ ที่เพิ่งถูกค้นพบในอินเดีย

กลายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เรียกได้ว่ายิ่งใหญ่มากๆ เมื่อนักสัตววิทยาได้ค้นพบกบสีม่วงสายพันธุ์ใหม่ ในพื้นที่เทือกเขา Western Ghats ของประเทศอินเดีย

โดยเจ้ากบสีม่วงสายพันธุ์นี้ มีลักษณะพิเศษคือ ผิวหนังสีม่วงระยิบระยับ และมีวงแหวนสีฟ้ารอบๆ ดวงตา พร้อมกับจมูกที่คล้ายกับหมู

นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อให้สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบนี้ว่า Bhupathy’s purple frog  (Nasikabatrachus bhupathi)

เพื่อเป็นเกียรติให้กับ Dr. Subramaniam Bhupathy นักสัตววิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่เสียชีวิตในเทือกเขาที่ค้นพบเจ้ากบตัวนี้เมื่อปี 2014

 

 

ทางด้านคุณ Elizabeth Prendini นักสัตววิทยาด้านสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ คลานจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของอเมริกากล่าว…

“กบสายพันธุ์นี้ มีความเก่าแก่และความหลากหลายทางสายพันธุ์ที่ต่ำมาก ดังนั้นการได้ค้นพบสายพันธุ์ใหม่จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งและเป็นเรื่องที่พิเศษมาก”

โดยส่วนมากแล้วกบสายพันธุ์นี้จะหากินอยู่ใต้ดิน โดยการใช้ลิ้นของพวกมันตวัดกินพวกมดปลวกที่อาศัยอยู่ในนั้น นอกจากนี้ในแต่ละปี พวกมันจะขึ้นมาบนดินช่วงฤดูฝนแค่เพียงปีละ 2 สัปดาห์เพื่อสืบพันธุ์เท่านั้น

 

 

กบตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะทำการวางไข่ใกล้ๆ กับลำธาร หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 หรือ 2 วัน ลูกอ๊อดตัวน้อยก็จะลืมตาออกมาดูโลก

พวกมันจะมีการพัฒนาส่วนที่ปากคล้ายกับปลาซักเกอร์ จากนั้นจึงอาศัยอยู่รอบๆ ก้อนหินเพื่อกินพวกสาหร่ายเล็กๆ และจะใช้เวลาประมาณ 120 วันเพื่อพัฒนาเป็นตัวโตเต็มวัย ก่อนจะกลับไปอาศัยอยู่ใต้ดิน

 

นี่คือกบสีม่วงสายพันธุ์ Nasikabatrachus sahyadrensis ที่ถูกค้นพบก่อนหน้านี้

 

แต่อย่างไรก็นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเปิดเผยว่ากบสีม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบครั้งนี้มีการพัฒนาที่แตกต่างจากญาติๆ ของมัน

“เจ้ากบสีม่วงที่ค้นพบครั้งนี้มีวิวัฒนาการที่แตกต่างจากญาติของมัน ดูเหมือนว่าพวกมันจะมีวิวัฒนาการมาจากสายพันธุ์ทางแอฟริกามากกว่าทางอินเดีย” คุณ Jodi Rowley นักชีววิทยาสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากออสเตรเลียกล่าว

 

ที่มา nationalgeographic

Comments

Leave a Reply