ในโลกนี้มีโรคต่างมากมาย แต่เชื่อมั้ยว่าต่อให้เราเป็นคนเหมือนกัน แต่โรคบางชนิดที่เราเป็น คนที่อื่นอาจไม่เป็น เช่นเดียวกัน บางโรคคนที่อื่นเป็น แต่เราเป็นไม่ได้ เพราะโรคเหล่านี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น
1. อินเดียซินโดรม
ทุกๆ ปี ผู้คนจากทั่วโลกจะเดินทางไปยังอินเดียเพื่อแสวงบุญ แต่มีบางคนที่ไม่ได้กลับบ้านอีกเลย ทั้งนี้เป็นเพราะในอินเดียมีลัทธิต่างๆ มากมาย บางลัทธิมีการวิธีการดึงดูดจนทำให้ผู้แสดวงบุญรู้สึกติดเหมือนการติดยาจนถอนตัวไมได้
การฝึกทำตามวิถีของลัทธิอาจทำให้นักเดินทางบางคนสูญเสียความเป็นตัวเอง และมอบชีวิตให้สิ่งตัวเองนับถือ ภาวะเช่นนี้เรียกว่า “โรคอินเดีย”
โรคนี้มักเกิดกับคนตะวันตกที่เดินทางไปหาที่พึ่งพาในอินเดีย เพราะวัฒนธรรมต่างๆ ในอินเดียมักจะทำให้คนตะวันตกรู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลา
โรคนี้อาจจะหายไปเมื่อพวกเขาได้กลับบ้าน สัมผัสบรรยากาศเดิมๆ ที่บ้าน แต่บางคนไม่สามารถแก้ได้ พวกเขาจะกลายเป็นคนประสาทหลอนถาวร และจะหายได้ต่อเมื่อเสียชีวิตเท่านั้น
เพิ่มเติม culteducation
2. สตอกโฮล์มซินโดรม
โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้คนถูกทำร้ายร่างกาย แต่พวกเขากลับไม่เอาผิดคนทำร้าย ตรงข้าม กลับเห็นอกเห็นใจและยอมให้ตัวเองถูกทำร้ายต่อไป รวมทั้งอาจมีความรู้สึกเสน่หาต่อคนร้ายด้วย
โรคนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1973 เมื่อมีคน 4 คน ถูกนาย Jan-Erik Olsson วัย 32 ปี จับเป็นตัวประกันระหว่างทำการปล้นธนาคาร
เมื่อการปล้นจบลง ปรากฏว่าตัวประกันทั้ง 4 คน กลับมีความรู้สึกเชิงบวกคนร้าย พวกเขาไม่ยอมเป็นพยานในชั้นศาล แถมยังหาเงินช่วยเหลือคนร้ายด้วย
เพิ่มเติม allthetropes
3. ลอนดอนซินโดรม
โรคลอนดอนเป็นโรคที่ตรงข้ามกับโรคสตอกโฮล์ม คือตัวประกันจะตอบสนองต่อคนร้ายในเชิงลบ มีการขัดขืน ไม่ให้ความร่วมมือ และโต้เถียง
ในระหว่างปี 1980 มีการปิดล้อมสถานทูตอิหร่านในลอนดอน Abbas Lavasani หนึ่งในตัวประกันปฏิเสธจะให้ความร่วมมือกับคนร้ายและได้โต้เถียงพวกเขาอย่างต่อเนื่อง
ในที่สุดตัวประกันคนนั้นก็ถูกยิงตาย และการตายของเขาก็ทำให้ตัวประกันคนอื่นๆ ถูกข่มขู่มากขึ้น
เพิ่มเติม medical-dictionary
4. Uppgivenhetssyndrom
โรคนี้ไม่ได้ตั้งชื่อตามสถานที่ แต่มันจะเกิดขึ้นในพื้นที่เฉพาะของโลกเท่านั้น กลุ่มอาการคือ เด็กและวัยรุ่นหลายคนจะหลับไปนานเป็นเดือนหรือเป็นปี
โรคนี้เริ่มด้วยการที่เด็กหรือวัยรุ่นเข้านอนตามปกติ แต่พวกเขาจะไม่ตื่นขึ้นมาเมื่อถึงเวลา พวกเขาจะนอนอยู่อย่างนั้น กินไม่ได้ พูดไม่ได้ และไม่มีการตอบสนอง
คนที่เป็นโรคนนี้จะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ พวกเขาจะเป็นคนที่กำลังมองหาที่หลบภัยหลังจากการอพยพที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวด โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะมาจากโซเวียตและยูโกสลาเวียในอดีต และทุกคนที่เป็นโรคนี้จะอาศัยอยู่ในประเทศสวีเดน
วิธีเดียวที่จะรักษาโรคนี้คือ รัฐต้องอนุญาตให้พวกเขาอยู่ในสวีเดน โดยพ่อแม่จะอ่านข้อความที่ผ่านการอนุมัตินั้นให้ลูกๆ ที่เป็นโรค Uppgivenhetssyndrom ฟัง แม้พวกเขาจะไม่มีการตอบสนองก็ตาม แต่ถ้าอ่านให้ฟังบ่อยๆ พวกเขาจะค่อยๆ มีสติตื่นขึ้นมา
5. ปารีสซินโดรม
โรคปารีส ส่วนใหญ่จะเกิดกับชาวญี่ปุ่นที่มาเที่ยวเมืองแห่งแสงสีแห่งนี้…นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นประมาณ 6 ล้านคน จะมาเที่ยวปารีสเป็นประจำทุกปี
สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะปารีสเป็นเมืองที่มีทิวทัศน์สวยงาม ขึ้นชื่อเรื่องแฟชั่น และมีเสน่ห์ที่เย้ายวน เหมาะกับการมาท่องเที่ยว
แต่นักท่องเที่ยวบางคนตกอยู่ในภาวะประสาทหลอนเฉียบพลัน พวกเขาจะเห็นภาพหลอน มีความวิตกกังวล เวียนหัว และมีเหงื่อออกอยู่ตลอดเวลา
บางกลุ่มอาการจะเกิดขึ้นเมื่อที่ที่พวกเขาอยู่ตอนนั้น ไม่ใช่เมืองแห่งแสงสีที่จินตนาการไว้ ส่วนวิธีรักษาโรคนี้มีทางเดียวคือต้องออกจากปารีสและอย่ากลับมาอีก
เพิ่มเติม sbs
6. ฟลอเรนซ์ซินโดรม
หากคุณอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแล้วรู้สึกอ่อนเพลีย สับสน และเหงื่อออก มีโอกาสสูงมากที่คุณจะเป็นโรค Stendhal หรือที่เรียกกันว่าฟลอเรนซ์ซินโดรม
สาเหตุของโรคนี้ไม่ได้มาจากผลงานศิลปะที่เก่าแก่ที่คุณกำลังดูอยู่ แต่มาจากความเครียดจากการเดินทาง รวมทั้งความล่าช้าของเครื่องด้วย
โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกคนที่รักงานศิลปะ ส่วนที่ตั้งชื่อตามเมืองฟลอเรนซ์เป็นเพราะเมืองนี้มีศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามากที่สุด แต่ข้อเสียคือมันมักจะกลืนกินจิตวิญญาณคนดู และทำให้จิตใจอ่อนไหวได้ง่าย
เพิ่มเติม mentalfloss
7. เยรูซาเล็มซินโดรม
นักท่องเที่ยวหลายคนที่ไปเยือนกรุงเยรูซาเล็ม จะประสบกับภาวะจิตหลง โดยจะเกิดความสับสนกับตัวเลขในพระคัมภีร์ หรือลางสังหรณ์จากคำพยากรณ์ครั้งสุดท้าย
เยรูซาเล็มซินโดรมจะคล้ายๆ กับปารีสซินโดรม แต่โรคนี้จะมีความเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา โดยจะมีอาการวิตกกังวล
อยากอยู่คนเดียว อยากชำระใจให้บริสุทธิ์ ใส่เสื้อผ้าสะอาด (ส่วนใหญ่เป็นสีขาว) กรีดร้อง แล้วเดินเข้าไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ก่อนจะจบลงด้วยการประกาศพระวจนะของพระเจ้า
วิธีรักษาคือให้ออกจากเยรูซาเล็ม และอย่ากลับมาอีก เพิ่มเติม all-that-is-interesting
8. The Jumping Frenchmen of Maine
ในช่วงปี 1870 ชาวฝรั่งเศส-แคนาดา ที่ทำงานเป็นช่างทองในภาคเหนือของรัฐ Maine เมื่อมีอาการตกใจ พวกเขาจะกระโดด และคนอื่นๆ ที่เห็นก็จะทำตามทันที หรือแม้กระทั่งคนที่ไม่ได้เลียนแบบ แต่ถ้าถูกสั่งให้ทำ พวกเขาก็จะทำทันทีโดยไม่มีข้อสงสัย
คนที่เป็นโรคนี้มักจะเป็นคนชอบโอ้อวด ชอบตะโกน ชอบตี รวมทั้งการกระโดด และมักจะพูดคำซ้ำๆ แม้จะเป็นคำที่ไม่มีความหมายหรือคนไม่เข้าใจ พวกเขาก็จะทำตามกันเป็นทอดๆ
บางคนเชื่อว่าความผิดปกตินี้เกิดจากพันธุกรรม สังเกตได้จากคนที่เป็นโรคนี้มักจะมีสมาชิกในครอบครัวบางคนเป็นเช่นกัน แต่ก็ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไรกันแน่
ต่อมาโรคนี้ก็หายไปจากรัฐ Maine จนมีคนพบกลุ่มอาการที่คล้ายกันในนี้ในหลุยเซียนา มาเลเซีย ไซบีเรีย อินเดียโซมาเลีย เยเมน และฟิลิปปินส์
เพิ่มเติม gizmodo
9. ลิมาซินโดรม
ลิมาซินโดรมเป็นอาการที่ตรงกันข้ามกับสตอกโฮล์มซินโดรม โดยคนร้ายจะรู้สึกเห็นอกเห็นใจเหยื่อ โรคนี้พบครั้งแรกเมื่อช่วงวิกฤตการณ์สถานทูตญี่ปุ่นในเปรู ในปี 1996
เมื่อมีผู้ก่อการร้ายได้จับตัวประกันจำนวนหลายร้อยคนในที่พำนักอย่างเป็นทางการของเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น แต่ไม่กี่วันต่อมา ตัวประกันส่วนใหญ่ก็ถูกปล่อยเป็นอิสระ
ไม่เพียงเท่านั้นผู้ก่อการร้ายยังรู้สึกว่าตัวประกันเหล่านี้เป็นคนที่สำคัญที่สุดในชีวิต และหลายคนที่ต้องทำหน้าที่ฆ่าตัวประกัน สุดท้ายก็ไม่กล้าทำ
เพิ่มเติม wikipedia
ที่มา oddee
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.