นักวิทย์ในอดีต ควบคุมประชากรกระต่ายป่า ด้วยการปล่อยเชื้อร้ายที่คร่าชีวิตกว่า 500 ล้านตัว…

ระบบนิเวศในธรรมชาติไม่มีอะไรที่มากหรือน้อยเกินไป ทั้งพืชและสัตว์ต่างอยู่ร่วมกัน อาศัยซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ อันจะนำไปสู่ความสมดุลในธรรมชาตินั่นเอง

เว้นเสียแต่ธรรมชาตินั้นถูกคุกคาม ตัดสิน และจัดการโดยมนุษ์ เมื่อนั้นภัยพิบัติจะเกิดขึ้นในระบบนิเวศอย่างแน่นอน!!

เหมือนกับครั้งหนึ่งในอดีต เมื่อนักวิทยาศาสตร์นำโรคร้ายไปปล่อยในหมู่กระต่ายป่า หวังควบคุมประชากร แต่หารู้มั้ยว่านั่นเป็นการทำลายสิ่งมีชีวิตอย่างเลือดเย็น…

 

 

ในวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 1787 กลุ่มเรือ 11 ลำ ที่เรียกตัวเองว่า First Fleet left England ได้ค้นพบอาณานิคมที่ต่อมากลายเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของยุโรปแห่งแรกในออสเตรเลีย

จากจุดเริ่มต้นในประเทศอังกฤษ กลุ่มเรือดังกล่าวจะเดินทางไปยังกรุงรีโอเดจาเนโร ก่อนจะไปยังทางตะวันออกสู่เมืองเคปทาวน์ และอ่าว Botany Bay (ปัจุบันอยู่ในซิดนีย์) โดยผ่านเส้นทางเดินเรือมหาสมุทรใต้

เรือทั้ง 11 ลำ ประกอบด้วย เรือสำหรับราชนาวีอังกฤษ 2 ลำ เรือขนของ 3 ลำ และอีก 6 ลำ สำหรับลำเลียงนักโทษที่กระทำความผิดพร้อมด้วยกระต่ายจำนวนหนึ่ง และเรือทั้งหมดก็ได้เดินทางมาถึงออสเตรเลียในช่วง 18-20 มกราคม ปี 1788…

 

 

ในออสเตรเลียนี้ ผู้คนอยู่ร่วมกับกระต่ายมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยไม่มีปัญหาอะไรเลย พวกเขาเลี้ยงดูกระต่ายเหมือนสัตว์เลี้ยงทั่วไป ให้อาหาร และให้อยู่ในกรง

ตอนนั้นกระต่ายดูแลง่าย ตรวจมีจำนวนไม่มากนัก จนกระทั่งปี 1827 มีบทความในหนังสือพิมพ์ Tasmanian รายงานว่า ประชากรกระต่ายได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นและได้ครอบครองพื้นที่ในวงกว้าง

ต่อมาในปี 1840 การเลี้ยงกระต่ายกลายเป็นเรื่องปกติในออสเตรเลีย ทั้งนี้ในบันทึกยังบอกอีกว่า เกิดการขโมยกระต่ายบ่อยมาก

ไม่ใช่แค่เลี้ยงเท่านั้น แต่พวกเขายังนำกระต่ายไปทำเป็นอาหาร จนกลายเป็นเรื่องปกติของผู้คนเช่นกัน ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่า บางคนปล่อยกระต่ายเข้าป่า เพื่อเป็นเหยื่อเวลาออกล่าสัตว์…

 

 

แม้กระต่ายจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ดูเหมือนผู้คนยังควบคุมได้ จนประมาณปี 1866 กระต่ายเริ่มมีจำนวนมหาศาลอย่างรวดเร็ว และในปีถัดมา มันก็มากเกินไปจนไม่อาจควบคุมได้

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระต่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นเพราะสภาพภูมิประเทศของออสเตรเลียนั้นเหมาะกับวิถีชีวิตของกระต่ายมาก แม้กระทั่งในฤดูหนาวก็ไม่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของกระต่ายได้

ช่วงนั้นเองที่ประชากรกระต่ายในออสเตรเลียมีมากที่สุดและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วที่สุด เท่าที่เคยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์โลก และด้วยกระต่ายจำนวนมากนี้ ส่งผลให้ระบบนเวศในออสเตรเลียถูกทำลายอย่างรุนแรง

 

 

ในปี 1887 สถานการณ์ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น จนรัฐบาลของรัฐ New South Wales ในขณะนั้น ได้อนุมัติงบประมาณ เป็นเงินรางวัลจำนวน 1 ล้านบาท สำหรับผู้ที่สามารถทำการลดจำนวนของประชากรกระต่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม…

ณ ตอนนั้นมีข้อเสนอ และไอเดียส่งเข้ามาเป็นพันๆ รายการ แต่ก็ไม่มีข้อเสนอไหนที่เหมาะสมเลย

สำหรับความเสียหายที่เกิดจากกระต่ายนั้นมีหลายอย่าง เช่น พืชผลถูกทำลาย ประชาชนสูญเสียเมล็ดพืชสำคัญที่ต้องลำเลียงข้ามทวีปมา

นอกจากนี้พวกมันยังทำลายพืชชนิดต่างๆ จนทำให้พื้นที่ป่าถูกทำลาย และเหลือเพียงพื้นดินที่โล่งกว้าง ซึ่งง่ายต่อการกัดเซาะจากน้ำมากๆ

ในปี 1893 ได้มีการทำรั้วกันกระต่ายในรัฐควีนส์แลนด์ และได้ขยายให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ ในปีถัดไป จนปี 1907 ก็ได้มีการติดตั้งรั้วดังกล่าวนี้ทางออสเตรเลียตะวันตก ระหว่าง Cape Keraudren และ Esperance แต่รอบๆ นั้นก็ยังมีกระต่ายจำนวนมากอยู่ดี

 

 

อย่างไรก็ตามในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เชื้อไวรัสร้ายแรงได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในห้องปฏิบัติทดลองกระต่ายในประเทศอุรุกวัย

โรคนี้เรียกว่า Myxomatosis เมื่อกระต่ายได้รับโรคนี้เข้าไป จะทำให้เป็นเนื้องอกในผิวหนัง ตาบอด อีกทั้งยังทรมานจากอาการอ่อนเพลียและเป็นไข้ ก่อนจะเสียชีวิตในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา

การค้นพบนี้ดูเหมือนจะเป็นข่าวดีสำหรับประเทศออสเตรเลีย ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตกระต่ายเกินการควบคุมในขณะนั้น และในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจที่จะแพร่กระจายเชื้อโรคนี้ไปยังกระต่าย ผ่านแหล่งอาหารของพวกมัน

 

 

การทดสอบภาคสนามได้ดำเนินการครั้งแรกในปี 1938 ในออสเตรเลีย และในปี 1950 ก็ได้มีการนำวิธีนี้ไปใช้อย่างเป็นทางการและเต็มรูปแบบ

วิธีที่การนี้ส่งผลร้ายแรงมากต่อจำนวนกระต่าย โรค Myxomatosis ทำให้กระต่ายลดลงจาก 600 ล้านตัว เหลือเพียง 100 ล้านตัว ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น…

อย่างไรก็ตามร่างกายของกระต่ายได้สร้างภูมิคุ้มกันใหม่ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนสามารถต้านทานกับโรคร้ายดังกล่าวได้ นั่นทำให้จำนวนกระต่ายเพิ่มขึ้นกลับมาเป็น 200-300 ล้านตัว ในปี 1991

 

 

ทั้งนี้พบว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างนิวซีแลนด์ก็ล้มเหลวในการใช้โรค Myxomatosis เช่นกัน แต่มีบางประเทศที่ใช้ได้ผลเกินคาด โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศส เมื่อช่วงปี 1950 มีกระต่ายป่าตายไปกว่า 90% หลังจากกำจัดด้วยโรค Myxomatosis

ตั้งแต่นั้นมาเชื้อโรค Myxo ก็ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในยุโรป สำหรับราชอาณาอาจักรได้สนับสนุนให้นำโรคนี้มาใช้ควบคุมประชากรกระต่ายเมื่อปี 1953 ก่อนจะนำไปสู่การเสียชีวิตของกระต่ายบนเกาะกว่า 99% นับเป็นการแพร่ระบาดที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

ที่มา thevintagenews

Comments

Leave a Reply