เว็บไซต์ดังเผย ทำไมสูดฮีเลียมเข้าไปแล้ว “เสียงเปลี่ยนโทนสู๊งสูง” ฟังแล้วตลกพิลึก!?

 

คลิปที่เพื่อนๆ ได้ดูไปนี้ จะเห็นว่าคนในคลิปในมีเสียงเปลี่ยนเป็นเสียงแหลมและฟังดูตลกหลังจากดื่มเครื่องดื่มที่มีฮีเลียมเข้าไป บางคนอาจสงสัยว่าเสียงเปลี่ยนไปจริงๆ หรือเป็นการเฟคขึ้นมากันแน่?

#เหมียวขี้ส่อง ก็สงสัยเหมือน จึงได้หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้จนได้ไปเจอข้อมูลหนึ่งที่อ้างอิงจากเว็บไซต์ Mentalfloss ลองไปดูซิ เค้าจะว่ายังไงกันบ้าง…

 

 

สำหรับแก๊สฮีเลียมนั้นเป็นแก๊สเฉื่อย ระดับเฉื่อยที่สุดและความหนาแน่นต่ำ โดยที่ความเฉื่อยนี้ทำให้ไม่มีผลเสียอะไรต่อร่างกายมนุษย์

ในขณะที่ความหนาแน่นต่ำ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ทำให้เส้นเสียงสั่นได้มากขึ้น เสียงที่ออกมานั้นจึงสูงขึ้นกว่าระดับปกติ

 

ธรรมชาติของเสียง

เวลาที่เราพูด อากาศจะเดินทางจากปอดผ่านกล่องเสียงซึ่งอยู่ตรงกับเส้นเสียง ทำให้เส้นคู่ขนานของเยื่อเมือกยืดออกในแนวนอนผ่านกล่องเสียง และกระทบกับด้านล่างจนทำให้เกิดการสั่น

การสั่นของเส้นเสียงจะช่วยกระตุ้นโมเลกุลของอากาศในระบบเสียงของเรา และจะตั้งค่าความถี่ของระดับเสียง ทั้งนี้การสั่นของเส้นเสียงจะมีผลต่อการรับรู้ความถี่พื้นฐานเสียงของเรา

 

 

ทีนี้เมื่อเสียงของเราเจอกับฮีเลียมจะเป็นอย่างไร?

นอกจากการสั่นและกระบวนการที่มีผลต่อเสียงของเราแล้ว พื้นที่ที่เราเปล่งเสียงก็มีผลต่อการสร้างเสียเช่นกัน

เมื่อเราพูดกับใครสักคนในห้อง มันจะประกอบด้วยไนโตรเจนร้อยละ 78.08 ออกซิเจนร้อยละ 20.95 อาร์กอนร้อยละ 0.93 คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 0.038 และก๊าซอื่นๆ อีกเล็กน้อย

ช่องลมของเราจะประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีมวลประมาณ 7 เท่าของฮีเลียม เนื่องจากฮีเลียมมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ ทำให้คลื่นเสียงเดินทางได้เร็วขึ้น

ในห้องที่อุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส เสียงจะเดินทางด้วยความเร็ว 344 เมตรต่อวินาที โดยผ่านอากาศ แต่ถ้าผ่านฮีเลียมมันจะอยู่ที่ 927 เมตรต่อวินาที

 

 

เมื่อเราสูดฮีเลียมเข้าไป ชนิดของโมเลกุลของก๊าซในช่องเสียงของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงและจะเพิ่มความเร็วของเสียงที่ถูกเปล่งออกมา

บางคนคิดว่าฮีเลียมเป็นตัวเปลี่ยนระดับเสียงของเรา แต่จริงๆ แล้วความถี่การสั่นสะเทือนของเส้นเสียงจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามประเภทของโมเลกุลของแก๊สที่อยู่โดยรอบ และเมื่อเส้นเสียงของเราเต็มไปด้วยฮีเลียม ก็จะเกิดการสั่นสะเทือนที่ความถี่เท่า ๆ กับเสียงปกติ

แต่สิ่งที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ เป็นเพราะว่าโมเลกุลฮีเลียมที่เบากว่าอากาศ ทำให้เสียงเดินทางได้เร็วขึ้น และเปลี่ยนเสียงสะท้อนของระบบเสียงของเรา ด้วยการตอบสนองต่อเสียงที่มีความถี่สูง และจะไม่ตอบสนองต่อเสียงที่มีความถี่ต่ำ

นั่นจึงทำให้เสียงของเราแหลมกว่าปกติ ซึ่งฟังแล้วคล้ายกับเสียงเป็ดอย่างไงอย่างนั้น จนทำให้หลายๆ คนมักจะเอาไปเล่นเพื่อความสนุกสนาน

 

สูดฮีเลียมเข้าไปแล้ว จะอันตรายไหม?

มันอาจจะเป็นเรื่องตลกก็จริง แต่การสูดฮีเลียมเข้าไปนั้นไม่ดีกับร่างกายของเรานะ เพราะในขณะที่คุณสูดฮีเลียมเข้าไปร่างกายจะไม่ได้รับออกซิเจนที่จำเป็น และหากคุณยังสูดเข้าไปเรื่อยๆ อาจทำให้สลบภายในเวลาไม่กี่นาที

หากคุณสูดฮีเลียมจนรู้สึกมึนๆ หรืออ่อนเพลีย นั่นคือจุดที่คุณควรจะหยุด ที่สำคัญห้ามสูดฮีเลียมโดยตรงจากถังที่มีแรงดันสูงเด็ดขาด

เนื่องจากถังที่มีความดันสูง จะทำให้ฮีเลียมไหลเข้าสู่ร่างกายมีอัตราสูง และส่งผลให้เนื้อเยื่อปอดฉีกขาดได้ หรืออาจทำให้แก๊สที่มีความเข้มข้นสูงไหลเข้าไปยังกระแสเลือดได้

 

 

นอกจากนี้มันยังมีโอกาสที่จะขึ้นไปยังสมองได้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ทำให้คุณชัก และเสียชีวิตในที่สุด

เพราะฉะนั้นใครที่อยากนำฮีเลียมไปเล่น ควรศึกษาวิธีที่ปลอดภัยซะก่อน ไม่ควรสูดในปริมาณมาก และที่สำคัญอย่าปล่อยให้เด็กเล่นกันเองตามลำพังโดยเด็ดขาดนะ

ที่มา mentalfloss

Comments

Leave a Reply