ภาพถ่ายต่างๆ ก็สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ผ่านเลนส์ของช่างภาพแต่ละคนที่ต่างกันออกไป ทั้งเรื่องของฝีมือและสิ่งที่ต้องการจะสื่อออกมา
ยิ่งหากเป็นเรื่องราวในอดีตที่เราไม่มีโอกาสได้เห็นด้วยแล้ว นี่ก็คงจะเป็นสิ่งที่เราไม่อาจย้อนเวลากลับไปได้และต้องขอบคุณภาพเหล่านี้ที่ทำให้เราได้เห็นบรรยากาศเหล่านั้นโดยที่ไม่ต้องจินตนาการ
Stanley Kubrick (สแตนลีย์ คูบริก) เป็นผู้กำกับหนังชาอเมริกันที่ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 19 และเป็นทั้งนักเขียน โปรดิวเซอร์ ช่างภาพ ที่อาศัยอยู่ในอังกฤษช่วง 40 ปีสุดท้ายในสายอาชีพของตัวเอง
การทำงานของเขาในตอนนั้นเต็มไปด้วยความพิถีพิถัน ความหลากหลายและความสามารถในการควบคุมศิลปะต่างๆ ให้ออกมาเป็นไปตามที่เขาต้องการ
แต่ก่อนหน้าที่เขาจะเป็นผู้สร้างหนังต่างๆ มามากมาย เขาได้ทำงานเป็นช่างภาพให้กับนิตยสาร Look ในนิวยอร์ก จากจุดเริ่มตั้งแต่ปี 1945 ที่เขาได้ขายภาพให้กับทางนิตยสารเป็นครั้งแรก
และได้เริ่มเข้าทำงานที่นี่ในปี 1946 จนถึงปี 1950 ตลอดการทำงานเขาได้เก็บประสบการณ์และมุมมองของคนในเมืองไว้มากมายกว่า 300 ชิ้นงาน เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในเมืองนิวยอร์กแห่งนี้
การแต่งตัวในชุดลายจุด Polka Dot ของผู้หญิงในยุคนั้น
เด็กหนุ่มกับการปีนข้ามรั้วเหล็กในเมือง
การพลอดรักแบบไม่แคร์สายตาประชาชีบนบันไดหนีไฟ
ไม่รู้ว่าหันมามองไกล หรือว่าการลงบันไดเลื่อนคนเดียวมันแปลกกันแน่
ภาพการเขียนระบายอารมณ์ของหญิงสาว
เด็กหนุ่มทำงานรับขัดรองเท้าตามข้างถนน
การทำงานหนักโดยไม่สนเรื่องของอายุ
รอยสักที่ยังไม่โดดเด่นเท่ากับการเจาะหัวนม
เด็กน้อยในสวนสนุกท่ามกลางแสงแดดอันร้อนแรง
ท่าทางการนั่งในรถไฟใต้ดิน
การเปลี่ยนยางแบบชิลล์ๆ
การแต่งตัวแบบกะลาสีของเด็กๆ วัยรุ่น
ใครกันที่เป็นคนปิดไฟ มองอะไรไม่เห็นเลย
การแต่งตัวในชุดโค้ทสีทึบ
คณะกายกรรมที่กำลังฝึกซ้อมกันอย่างน่าหวาดเสียว
การทำงานอันแสนเบื่อหน่ายของเด็กชายขัดรองเท้า
แต่ก็ยังคงต้องยืนรอลูกค้ากันต่อไปเพื่อให้มีรายได้ประทังชีวิต
สบายๆ โดยที่ไม่กลัวตกลงไป
เจ้าลิงมากความสามารถ
แทบทุกคนมีความสนใจกับข่าวสารบ้านเมืองจากหนังสือพิมพ์
การเดินทางบนรถไฟที่อาจมีการสั่นไหวของภาพอยู่บ้าง
อ่านโดยไม่ต้องสนใจสิ่งรอบข้าง
สุภาพบุรุษที่นั่งกันอย่างสบายใจในขณะที่ปล่อยให้สุภาพสตรียืนห้อยโหน
และนี่ก็เป็นภาพถ่ายที่ทำให้เห็นเรื่องราวในอดีตส่วนหนึ่งของเมืองนิวยอร์ก สามารถมองกันได้ในหลายมุมมองโดยไม่ต้องมีคำพูด ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละคนคิดว่าช่างภาพต้องการสื่ออะไรในยุคสมัยนั้น กับความหมายและความน่าจดจำที่แตกต่างกัน
ที่มา: designyoutrust
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.