“กลุ่มนักช่วยสัตว์แห่งเชอร์โนบิล” แม้จะเสี่ยงภัยจากรังสี แต่ก็ยอมเพื่อให้มันมีชีวิตที่ดีขึ้น

พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้จากการคายความร้อน ปัจจุบันใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์มีคุณประโยชน์มากแต่ก็มีโทษมากเช่นเดียวกัน หลายๆ คนอาจทราบถึงอานุภาพของพลังงานนิวเคลียร์เป็นอย่างดี จากเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาจนมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก

เรื่องราวของ เชอร์โนบิล (Chernobyl) ประเทศยูเครน หลายๆ คนอาจเคยทราบถึงประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ ที่มีเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งสำคัญของโลก ที่ผ่านมากว่า 31 ปีแล้วผู้คนก็ยังไม่มีวันลืม

 

 

วันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ทางตอนเหนือของยูเครน ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อวิศวกรได้ทดสอบการทำงานของระบบหล่อเย็นและระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์

แต่การทดสอบระบบนั้นมีความผิดพลาด เมื่อระบบไม่ทำงาน แรงดันไอน้ำได้เพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความร้อนพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วถึง 2,000 องศาเซลเซียส แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกหลอมละลายด้วยความร้อนและระเบิดทันที

 

 

อุบัติเหตุในครั้งนี้คร่าชีวิตเจ้าหน้าที่ไปกว่า 32 ราย ผู้คนที่อาศัยในเมืองใกล้ๆ อย่างเมืองพรีเพียตต้องอพยพโดยด่วนกว่า 300,000 ราย อีกทั้งสารกัมมันตภาพรังสีก็ยังส่งผลเสียระยะยาว ผู้คนกลายเป็นโรคมะเร็ง และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ต้องเสียไป จนปัจจุบันเมืองพรีเพียตก็ยังเป็นเมืองร้างที่มีระดับสารกัมมันตภาพรังสีอยู่ในปริมาณมาก

 

 

เมื่อ 31 ปีที่แล้ว ชาวเมืองทุกคนต้องอพยพตัวเองออกจากบ้านเกิดเมืองนอน ในขณะนั้นทุกคนต่างจำเป็นต้องเอาตัวรอด โดยทิ้งสัตว์เลี้ยงของพวกเขาเอาไว้ที่บ้าน และไม่มีวันกลับมาอีกเลย…

.

 

เวลาผ่านไป เหล่าสุนัขที่มีชีวิตรอดโดยปราศจากมนุษย์ได้ทำการขยายเผ่าพันธุ์ขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามพวกมันก็ต้องได้รับการดูแล จึงทำให้มีเจ้าหน้าที่อาสา “กลุ่มนักช่วยเหลือสัตว์แห่งเชอร์โนบิล” ขึ้นมา

.

 

เนื่องจากเมืองแห่งกัมมันตภาพรังสีแห่งนี้ต้องจำกัดความปลอดภัยให้กับผู้มาเยือนทุกคน การเข้ามาช่วยเหลือสัตว์เหล่านี้ต้องทำในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ทีมสัตวแพทย์อาสาและผู้เชียวชาญด้านรังสี ก็เต็มใจที่จะมาช่วยสัตว์เหล่านี้ถึงแม้ว่าจะเสี่ยงต่อสารกัมมันตภาพรังสีในระดับสูงก็ตาม

.

 

ยิงลูกดอกยาสลบเพื่อนำเจ้าหมาเหล่านี้เข้ารับการดูแล

.

.

.

 

สุนัขทั้งหมดต้องได้รับการตรวจสอบ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และทำหมันเพื่อควบคุมประชากร บางส่วนก็ถูกเก็บข้อมูลไว้เพื่อทำงานวิจัยต่อไป

 

ที่มา upworthy

Comments

Leave a Reply