ศาสนาเป็นเรื่องของความศรัทธา เมื่อเราเชื่อสิ่งใด เราก็จะปฏิบัติตามวิถีของความเชื่อนั้นๆ ที่สำคัญคือความเชื่อเป็นสิ่งที่เปลี่ยนได้ยากที่สุด แม้จะมีเหตุผลหรือข้อพิสูจน์มาหักล้างก็ตาม
สอดคล้องกับการศึกษาล่าสุดที่พบว่า คนที่นับถือศาสนาจะ “ยึดมั่น” กับความเชื่อบางอย่างที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับมุมมองทางศีลธรรมของพวกเขา
นักวิจัยกล่าวว่า “บุคคลที่ดันทุรังยืดมั่นในความศรัทธาของตัวเองแม้สิ่งนั้นจะขัดแย้งกับหลักความเป็นจริงก็ตาม นั่นเป็นเพราะความเชื่อเหล่านั้นสื่ออารมณ์ ความรู้สึก”
ในทางตรงข้าม นักวิทยาศาตร์พบว่า คนที่พยายามต่อสู้หรือเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จะมีมุมมองด้านบวกเกี่ยวกับศาสนา เพราะสมองของพวกเขาถูกครอบงำโดยการคิดวิเคราะห์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Case Western Reserve University ในโอไฮโอ ได้สัมภาษณ์คนที่นับถือศาสนากับคนไม่มีศาสนา จำนวน 900 คน ซึ่งทั้งสองกลุ่มต่างถือความคิดตัวเองเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
ทั้งนี้ในทั้งสองกลุ่มนี้ คนที่มีทักษะในการให้เหตุผล จะเป็นคนที่มีความเชื่อน้อยกว่า แต่พวกเขาจะแตกต่างกันในเรื่องความกังวลทางศีลธรรมมีอิทธิพลต่อความคิดของพวกเขา
Anthony Jack รองศาสตราจารย์ด้านปรัชญาและผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า “อารมณ์ความรู้สึกจะช่วยให้คนที่นับถือศาสนามีความมั่นใจมากขึ้น เห็นความถูกต้องทางศีลธรรมในบางอย่างมากขึ้น และช่วยยืนยันความคิดของพวกเขามากขึ้นด้วย”
“ในทางตรงข้าม ความกังวลทางศีลธรรมจะทำให้คนที่ไม่นับถือศาสนารู้สึกไม่มั่นใจ” Anthony กล่าว
ในขณะที่ Jared Friedman นักศึกษาปริญญาเอกและผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า “มันแสดงให้เห็นคนที่นับถือศาสนาจะยืดติดอยู่กับความเชื่อบางอย่าง โดยเฉพาะสิ่งที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกับเหตุผลเชิงวิเคราะห์ นั่นเป็นเพราะความเชื่อเหล่านั้นสอดคล้องกับความรู้สึกทางศีลธรรมของพวกเขา”
Jack เสริมว่า “แม้กระทั่งผู้ก่อการร้ายก็เชื่อว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พวกเขาเชื่อว่าความผิดที่ทำนั้นคือสิ่งที่ถูก เนื่องจากทำเพื่อปกป้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์”
ในแง่อื่นๆ แม้คนที่พยายามไม่เชื่อในพระเจ้าจะมีการใช้ความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงก็ตาม พวกเขาอาจจะขาดความเข้าใจที่จะมองศาสนาในด้านบวก เพราะพวกเขาเห็นแค่ว่ามันขัดแย้งกับหลักวิทยาศาสตร์ผ่านการวิเคราะห์ของพวกเขา
งานวิจัยชี้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Religion and Health โดยผู้ที่อ่านผลการวิจัยจะมีความเห็นที่ต่างกันสองฝ่ายหลักๆ
พวกเขาบอกว่าจิตใจของคนที่เชื่อในศาสนา จะถูกครอบงำโดยความรู้สึกทางอารมณ์ ในขณะที่คนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง จะถูกครอบงำโดยการคิดวิเคราะห์
ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าคนที่เรื่องพระเจ้านั้น ประกอบด้วยคนที่เป็นคริสเตียน ฮินดู ชาวพุทธ ชาวยิว มุสลิม และอีก 19 ศาสนา
นักวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อทางศาสนานั้นมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ เช่น การเมือง การกินเจ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่มา independent
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.