ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์นั้นเรียกได้ว่ามีความก้าวหน้าอย่างมาก และความก้าวหน้าเหล่านั้นก็นำมาซึ่งการค้นพบสิ่งใหม่ๆ อย่างเช่นการค้นพบของคู่รักนักวิทยาศาสตร์จาก Harvard คู่นี้เกี่ยวกับโรคออทิสติก
เมื่อไม่นานมานี้คุณ Jun-ryeol Huh ศาสตราจารย์จากคณะแพทย์มหาวิทยาลัย Harvard และคุณ Gloria Choi ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสมองจากมหาวทิยาลัย MIT ได้คนพบอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่โรคออทิสติก ถือเป็นการค้นพบที่ฮือฮาอย่างมาก นับตั้งแต่มีการศึกษาโรคดังกล่าวในช่วงปี 1940 เลยทีเดียว!!
ทั้งสองได้ออกมายืนยันว่าความผิดปรกตินี้ไม่ได้เป็นผลมากจาการพัฒนาของสมองเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความผิดปรกตินี้อีก หลังจากที่ได้ทดลองและสังเกตุจากหนู
ผลการวิจัยดังกล่าวถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ผ่านทาง MIT New เมื่อวันที่ 14 กันยายนปี 2017 ซึ่งทั้งสองพบว่ามีแบคทีเรียบางสายพันธุ์ในระบบทางเดินอาหารของแม่ ที่อาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่คล้ายกับโรคออทิสติก
โดยคุณแม่ที่มีภาวะติดเชื้อที่รุนแรงและต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ในระหว่างตั้งครรภ์นั้นจะมีความเสี่ยงที่ลูกจะมีความผิดปรกติทางสมองมากกว่า
ซึ่งจากการศึกษาในเด็กๆ เดนมาร์กเมื่อปี 2010 พบว่าอาการติดเชื้อรุนแรงเหล่านั้นได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ กระเพาะและลำไส้อักเสบ และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะอย่างรุนแรงนั่นเอง
นอกจากนี้คุณ Choi ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่าพวกเขาสามารถระบุได้ว่าส่วนของสมองนั้นมีผลต่อการเกิดอาการผิดปรกตินี้ “เราระบุได้ว่ามีสมองหลายส่วนที่มีผลต่อพฤติกรรมและเกี่ยวกับการพัฒนาที่ผิดปรกติของระบบประสาท” คุณ Choi กล่าว
จากผลการศึกษาที่ตีพิมเมื่อปี 2016 ของทั้งคู่ที่ศึกษาเกี่ยวกับการตอบสนองของสมองแต่ละส่วนต่อโรคดังกล่าว โดยพวกเขาแบ่งแต่ละส่วนออกเป็นส่วนย่อยๆ แล้วพบว่าในส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโมเลกุลของเซลล์ภูมิแพ้ หรือ Th 17 Cell นั้นมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ซึ่งถูกปล่อยออกมาระหว่างที่ผู้เป็นแม่มีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง
ส่วนที่ถูกทำลายนี้จะอยู่ในบางส่วนของสมองหรือที่เรียกว่า S1DZ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ somatosensory cortex ที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกและเกี่ยวข้องกับระบบประสาทสัมผัสต่างๆ โดยในการศึกษาพบว่าหนูที่มีอาการผิดปรกตินี้จะมีเซลล์ใน S1DZ ลดลงนั่นเอง
นอกจากความสัมพันธ์เกี่ยวกับเซลล์ภูมิแพ้ของแม่ที่มีผลต่อพัฒนาการทางสมองแล้ว นักวิจัยพบว่ายังมีแบคทีเรียอีกชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ ซึ่งเมื่อกำจัดแบคทีเรียชนิดนี้ในหนูแล้วพบว่าลูกที่ออกมานั้นมีพฤติกรรมที่ปรกติ
“ข้อมูลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แม่ที่มีเซลล์ภูมิแพ้ จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดแบคทีเรียในลำไส้ และอาจจะเป็นความเสียงในการเกิดโรคนี้” คุณ Huh กล่าว
อย่างไรก็ตามตอนนี้นักวิจัยกำลังตรวจสอบว่าแบคทีเรียตัวดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองเหมือนกับ Th 17 Cell หรือไม่
ที่มา nextshark
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.