นิทรรศการเสื้อผ้าผู้หญิง ที่ใส่ในวันถูกข่มขืน สะท้อนแง่คิด “ถึงไม่แต่งโป๊ ก็โดนข่มขืนได้…”

ปัญหาการข่มขืนและการทารุณกรรมทางเพศ ยังเกิดขึ้นอยู่ในทุกวัน เกือบทุกประเทศทั่วโลก ปัญหาเหล่านี้ไม่มีวันหมดไปจากสังคม ตราบใดที่ยังมีคนจิตใจต่ำทรามคอยคิดที่จะละเมิดสิทธิของผู้อื่น แ

ละปัญหานี้ไม่มีวิธีแก้ที่ต้นเหตุ มีแต่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งเป็นปัญหาของสังคมทุกวันนี้ว่าจะทำอย่างไรให้การข่มขืนและทารุณกรรมทางเพศหมดไปเสียที

เมื่อเกิดเหตุการณ์ข่มขืนขึ้นจนเป็นข่าว ผู้เสียหายมักจะได้รับคำถามเดียวกันทางสังคมว่า “เธอแต่งตัวโป๊ใช่ไหมล่ะ เลยโดนข่มขืน”

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมมองว่าสาเหตุที่ผู้หญิงโดนข่มขืนนั้น มาจากการกระทำตัวของผู้หญิงเอง

 

 

ในสังคมที่มีวัฒนธรรม ชายเป็นใหญ่ เมื่อมีการข่มขืนเกิดขึ้นสังคมก็จะพุ่งเป้าไปยังผู้หญิง และตั้งข้อรังเกียจว่าผู้หญิงที่โดนข่มขืนนั้นคือผู้หญิงที่ไม่ดี

ทั้งๆ ที่มันอาจมีสาเหตุมาจากที่ผู้ชายหงี่จนควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อีกทั้งสังคมก็ยังคิดว่าการข่มขืนคือบทลงโทษสำหรับผู้หญิงที่แต่งตัวโป๊

จากปัญหาเหล่านี้ Jen Brockman ผู้อำนวยการศูนย์การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศของมหาวิทยาลัย Kansas ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้จัดนิทรรศการ “What Were You Wearing?” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า คุณสวมใส่อะไรในตอนนั้น!?

 

 

ในนิทรรศการก็จะจัดแสดง เสื้อผ้าของผู้หญิง 18 ชุด ของผู้หญิงที่ถูกข่มขืน เป็นเสื้อผ้าชุดที่เธอเหล่านั้นสวมใส่ในวันเกิดเหตุ ในนิทรรศการก็จะแสดงเสื้อผ้าแต่ละชุดและข้อความจากหญิงเคราะห์ร้ายกับเหตุการณ์ที่พวกเธอต้องเผชิญ

 

 

นี่คือเสื้อของหญิงคนหนึ่ง เป็นเสื้อโปโลสีเหลืองตัวโปรดของเธอ แต่เธอจำไม่ได้ว่าใส่กางเกงตัวไหน รู้แต่เพียงว่าเธอถูกพี่ชายแท้ๆ ข่มขืน

ด้วยความไร้เดียงสาของเธอจึงไม่รู้เรื่องอะไร เพียงแต่อยากกลับไปดูการ์ตูนที่ห้องของตัวเองเท่านั้น

 

เสื้อแขนกุดและกางเกงขายาว หญิงคนหนึ่งได้ออกไปนำเสนองานในชั้นเรียน หลังจากเสร็จงานในชั้นเรียน วันเดียวกันนั้นเธอถูกข่มขืน เธอไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเกิดอะไรขึ้น

 

ชุดของเด็กหญิงคนหนึ่งที่โดนข่มขืนตอนอายุ 6 ขวบ

 

นี่คือชุดของผู้หญิงคนหนึ่งที่ทั้งชีวิตของเธอถูกข่มขืนถึง 3 ครั้ง และนี่คือชุดที่เธอใส่ในแต่ละครั้ง

 

เพียงแค่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ก็ทำให้ผู้หญิงถูกข่มขืนได้

 

จากที่เห็นเสื้อผ้าแต่ละชุดที่ผู้หญิงใส่ในวันที่ถูกข่มขืน จะเห็นได้ว่าพวกเธอไม่ได้แต่งตัวโป๊เลย และนี่ก็สะท้อนให้เห็นว่า แทนที่เราจะถามว่า “แต่งตัวอย่างไรให้โดนข่มขืน” เป็น “เราจะหยุดเรื่องนี้อย่างไร” คงจะดีกว่า

ที่มา huffingtonpost , เพจสมรรถนะวัฒนธรรม

Comments

Leave a Reply