พาทัวร์ ‘สุสานรถถัง’ ที่ถูกทิ้งร้างในยูเครน เผยความยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตในอดีต

บางสิ่งบางอย่างเมื่อล้าหลังไปแล้ว ผู้คนก็จะเลิกให้ความสนใจ ปล่อยให้มันทิ้งร้างไว้อย่างนั้น อาจมีการผุกร่อนไปบ้างตามกาลเวลา แต่ว่าบางอย่างก็ยังคงไม่หายไปไหน

ไม่ต่างกับ “สุสานรถถัง” ในเมืองคาร์คิฟ ประเทศยูเครน ใกล้กับชายแดนรัสเซียในปัจจุบัน ซึ่งสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยรถถังมากมายที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครเข้ามาแยแส

แต่การมีอยู่ของพวกมันก็ได้ไปกระตุ้นความสนใจให้กับนักสำรวจชื่อ Patvel Itkin เข้าไปเก็บภาพแห่งความทรงจำที่มีมาตั้งแต่ยุค 1960s ในตอนที่ยูเครนยังเป็นหนึ่งในสหภาพโซเวียตอยู่

 

กว้างพอให้สร้างโรงเรียนได้เลยนะ

 

รถถังเต็มไปหมด

 

เขาได้แอบเข้าไปในขณะที่ไม่มีคนเห็น ซึ่งปกติแล้ว สถานที่แห่งนี้จะถูกปิดไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไป และเมื่อได้ลองเดินไปรอบๆ เขาก็รู้สึกอึ้งกับความกว้างใหญ่ของสถานที่นั้น

สถานที่แห่งนั้นเต็มไปด้วยรถถังที่คาดว่าจะมีมากถึง 450 คัน พร้อมกับเครื่องยนต์อีกมากมาย และชายคนนี้ก็ต้องใช้เวลาอยู่หลายเดือนเพื่อให้ได้เห็นในทุกซอกทุกมุม

 

เรียงกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมือนกับทหารกำลังยืนเข้าแถว

 

มองมุมนี้แล้วดูไม่ออกเลยว่า รถถังมีจำนวนมากขนาดไหน

 

และที่พบได้เยอะที่สุดก็คือ รถถังรุ่น T-62 อันมีชื่อเสียงของโซเวียต เคยผ่านสมรภูมิมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สงครามเย็น สงครามเกาหลี รวมถึงสงครามเวียดนาม

สถานที่แห่งนี้เมื่อก่อนเคยเป็นจุดซ่อมบำรุงรถถังมาก่อน และรถถังมากมายที่ถูกทิ้งร้างเอาไว้ บางส่วนก็มาจากโรงงาน Malyshev ใกล้กันนั้นเอง

 

เครื่องยนต์ที่ถูกทิ้งร้างเอาไว้ไม่ต่างกัน

 

คงจะน่าเศร้ามากแน่ๆ เมื่อคิดภาพไปในตอนที่มันถูกเอาออกมาใช้งาน

 

จนกระทั่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1990 และหลังจากนั้นไม่นานสหภาพโซเวียตก็ล่มสลาย ทำให้รถถังไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานอีกต่อไป รุ่นใหม่ที่มาแทนที่ก็สามารถทำงานได้ดีกว่าพวกมันแล้ว กลายเป็นจุดเริ่มต้นของสุสานแห่งนี้

 

 

เวลาผ่านไปเกือบ 30 ปีก็ต้องมีการผุกร่อนลงไปตามกาลเวลา

 

เมื่อเราได้กลับมาดูอีกครั้ง ก็สะท้อนให้เห็นงบประมาณและทรัพยากรที่สูญเสียไปอย่างไร้ค่ากับสิ่งที่เรียกว่า “สงคราม”

 

ปากกระบอกขนาด 125 มม. ไม่รู้ว่าจะยังยิงออกอยู่มั้ยนะ

 

ที่แห่งนี้ก็คงจะไม่ต่างกับสุสานรถที่เราสามารถพบเห็นได้ในบ้านเรา ปล่อยให้ทิ้งร้างเอาไว้อย่างนั้น ต้องดูต่อไปว่าในอนาคต จะมีวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

 

ที่มา: urbanghostsmedia , spokedark

Comments

Leave a Reply