พาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางถือเป็นหนึ่งในเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญมากๆ ซึ่งเพื่อนๆ เคยสังเกตกันไหมว่า จริงๆ แล้วพาสปอร์ตของแต่ละชาตินั้นก็จะมีสีที่แตกต่างกันนะ และรู้กันรึเปล่าว่าจริงๆ แล้วพาสปอร์ตเค้ามีกันแค่ 4 สีเท่านั้นนะเออ!!
และในวันนี้เราก็มีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเจ้าหนังสือเดินทางนี้มาฝากกัน ซึ่งแต่ละสีนั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้นไปชมกันเลย…
เริ่มกันที่สีแดง
นี่คือสีของปกของพาสปอร์ตที่เรามักจะเห็นกันอยู่บ่อยๆ โดยปกพาสปอร์ตสีแดงนี้มักจะถูกใช้ในประเทศที่ที่มีประวัติศาสตร์การปกครองที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมมิวนิสต์อย่างเช่น สโลวีเนีย จีน เซอร์เบีย รัสเซีย โปแลนด์และจอร์เจีย
นอกจากนี้ยังมีบางประเทศในสหภาพยุโรปที่เปลี่ยนมาใช้ปกพาสปอร์ตสีแดงเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่าง ตุรกี และแอลเบเนีย
สีน้ำเงิน
ต่อมาเป็นพาสปอร์ตปกสีน้ำเงิน โดยปกสีนี้มักจะใช้ในกลุ่มของ 15 ประเทศในแถบทะเลแคริบเบียน รวมทั้งบางประเทศในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งพาสปอร์ตสีดังกล่าวยังหมายถึงการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน (Mercosur) อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีประเทศอเมริกาอีกด้วยที่เปลี่ยนมาใช้พาสปอร์ตปกสีน้ำเงินนี้ ตั้งแต่ปี 1976
สีเขียว
พาสปอร์ตปกสีเขียวนี้ มักนิยมใช้ในประเทศมุสลิม อย่างเช่น โมร็อกโก ซาอุดีอาระเบีย และปากีสถาน รวมถึงหลายชาติในแถบแอฟริกาตะวันตกเอง ก็มีการใช้เอกสารเดินทางปกสีเขียวนี้ ซึ่งหมาถึงธรรมชาติและบ่งบอกว่าพวกเขาเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจของประเทศแอฟริกาตะวันตก หรือ ECOWAS นั่นเอง
และสุดท้าย สีดำ
หนึ่งในสีของพาสปอร์ตที่มักไม่ค่อยได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งปกสีดำนี้มีการใช้ในบางประเทศของทวีปแอฟริกา อย่าง บอตสวานา แซมเบีย บุรุนดีและกาบองเป็นต้น นอกจากนี้ประเทศนิวซีแลนด์ เองก็ใช้พาสปอร์ตสีดังกล่าว เพราะว่าสีดำคือสีประจำชาติของพวกเขานั่นเอง
และนี่ก็คือแผนที่สีพาสปอร์ต ของประเทศต่างๆ บนโลกนี้!!
หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วของประเทศไทยล่ะ มีพาสปอร์ตสีอะไรกันบ้างนะ!? และเพื่อเป็นการไขข้อข้องใจเราก็ได้ไปหาข้อมูลมาฝากทุกๆ คนแล้ว!!
โดยประเทศไทยนั้นจะใช้พาสปอร์ตถึง 4 สีด้วยกันซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้…
1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีน้ำตาล)
ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ
3. หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)
ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย
และ 4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
หนังสือเดินทางชั่วคราวอายุ 1 ปี จะออกให้ในกรณีที่คนไทยทำหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ และมีความจำเป็นเร่งด่วนจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีหนังสือเดินทางสำหรับนักบวช ที่ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามระเบียบมหาเถรสมาคม และหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ที่ออกให้กับชาวมุสลิมเพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ โดยหนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
ที่มา brightside, wikipedia
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.