ประเด็นเรื่อง ‘หมอยๆ’ นี่นับว่าเป็นปัญหายิ่งกว่าประเด็นอภิปรัชญาเลยก็ว่าได้… ซึ่งเอาจริงๆ เราก็แทบจะไม่รู้จักประโยชน์ของมันเลยแม้แต่น้อย นอกเสียจากรู้แค่ว่ามันร่วงได้และตอนสางเล่นก็เพลินมือดีแค่นั้นจริงๆ
แล้วตกลง ‘หมอย’ คืออะไรกันแน่นะ?
นอกจากเรื่องขนบนหัวแล้ว ฝั่งขนบนโหนกนักวิทยาศาสตร์ก็ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าไว้เช่นกัน แม้จะไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดในประเทศไทยถึงที่มาของคำว่า ‘หมอย’
แต่นักสังคมวิทยาส่วนหนึ่งชี้ว่า ‘หมอย’ คือคำที่ใช้อธิบายถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นฝอย เช่น บริเวณขนที่ปลายข้าวโพดก็จะถูกเรียกว่า.. หมอยข้าวโพด
หรือแม้แต่ในภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือ (ล้านนา) ก็มีการใช้คำว่า ‘หมอย’ เรียกสิ่งที่เป็นขนหนวดขึ้นตามร่างกาย เช่นเคราก็จะเรียกว่า หมอยคาง ขนรักแร้ก็เรียกว่า หมอยแร้ เป็นต้น
มาพูดถึงคุณงามความดีของ ‘หมอย’ กันบ้าง…
แม้บางครั้งเราจะเอามือสางแล้วพบว่ามันหลุดลอยจนฟุ้งเต็มห้องไปหมด เราก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดใจจนถึงกับเอามีดโกนมาไถมันให้เกลี้ยงเลย เพราะสิ่งใดที่ธรรมชาติได้สร้างมาและติดมากับการวิวัฒนาการของเรา เชื่อเถอะว่ามันย่อมดีเสมอ
เหตุผลใหญ่ๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของหมอยก็คือ มันสามารถช่วยลดการเสียดสีขณะมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเช่นเชื้อแบคทีเรีย และอีกทั้งยังช่วยกั้นกลิ่นอับเหม็นของน้องชายได้ด้วย (ไม่เคยพิสูจน์แฮะข้อนี้..)
แฟชั่นกับเรื่องหมอยๆ…
แต่ด้วยความที่มันดูเหมือนป่าหญ้าคารกรุงรัง เราก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าเทรนด์แฟชั่นโลกทุกวันนี้ได้พัฒนาไปจนถึงขั้นที่มีการตัดแต่งย้อมสีขนหรือจัดรูปทรงกันเป็นเรื่องเป็นราว
จริงอยู่ที่การตัดแต่งรูปทรงของมันจะช่วยทำให้สาวๆ รู้สึกมั่นใจเวลาใส่ชุดบิกินี่มากขึ้น หรือหนุ่มๆ ก็อาจจะให้ความรู้สึกเหมือนตัวเองกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง
แต่ในทางการแพทย์มีการค้นพบว่า หลังจากที่เราโกนขนหมอยไปตรงบริเวณนั้นแล้ว… รูขุมขนและรอยแผลที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่ตาเราจะมองเห็น อาจเป็นพาหะทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายเราได้ง่ายมากขึ้น
เรื่องหมอยๆ ที่ไม่หมอยเอาซะเลย
จากประเด็นทั้งหมดอาจนำมาสู่คำถามที่ว่า “แล้วตกลงเราควรจะทำยังไงกับมันดี?” ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญก็ได้แนะนำว่า อาจจะมีการตัดเล็มขนจัดทรงบ้างเพื่อความเรียบร้อยแต่ไม่แนะนำให้สั้นเกรียนจนเกินไป
อีกทั้งในช่วงเวลาอาบน้ำ เราสามารถทำความสะอาดบริเวณโคนหมอยได้ด้วยการชะล้างให้ถึงรากโคน พูดง่ายๆ ก็คือต้องใช้มือสางให้มันชุ่มชื้นโดยทั่วกันนั่นแหละ
สรุปแล้ว… น้องหมอยก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายเราเสมอ แม้บางทีมันอาจจะทำตัวรกรุงรังไปบ้างก็ตาม
ที่มา: salon
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.