ปกติแล้วถ้าพูดถึงนิทานเรื่อง ‘หนูน้อยหมวกแดง’ เราคงคุ้นเคยแต่กับเวอร์ชั่นที่มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับวัยเด็กมากยิ่งขึ้น
แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าอันที่จริงแล้ว… เรื่องราวของเด็กสาวกับหมาป่า ถูกนำไปดัดแปลงไว้มากมาย และคราวนี้เราจะพาไปรู้จักกับเวอร์ชั่นที่มีความโหดร้ายที่มากกว่า
ย้อนกลับไปช่วงศตวรรษที่ 10 ในประเทศฝรั่งเศส ได้มีการนำนิทานเรื่องนี้มาเล่าก่อนแล้ว โดยใช้ชื่อว่า ‘The Story of Grandmother’
ตามแบบฉบับดั้งเดิมเล่าว่า… ‘กาลครั้งหนึ่งมีเด็กสาวถูกไหว้วานจากคุณแม่ให้เอาขนมปังไปให้คุณยาย เมื่อเด็กสาวเดินทางมาถึงสี่แยกแห่งหนึ่ง เธอก็ได้พบกับ bzou หมาป่าจอมเจ้าเล่ห์ เธอถูกหลอกถามว่าจะนำของไปให้คุณยาย ณ ที่แห่งใด..
เมื่อเจ้า bzou รู้ที่หมายแล้ว มันจึงรีบไปดักหน้าและฆ่าคุณยายทิ้งและรอการมาถึงของเด็กสาว
เมื่อเด็กสาวมาถึง เธอกลับไม่รู้เลยว่าคุณยายของเธอถูก bzou ฆาตกรรมและปลอมตัวเป็นคุณยายซะเอง bzou โน้มน้าวให้เด็กสาวทานอาหารและดื่มไวน์ ที่ทำมาจากเนื้อหนังและเลือดของคุณยายเธอเอง
จากนั้นเด็กสาวก็ถูกคุณยายตัวปลอมหว่านล้อมให้ทำตามคำสั่ง ทั้งถอดเสื้อและให้ไปหลับนอนด้วย ทว่าเด็กสาวจับผิดสังเกตได้ว่าคุณยายของเธอมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิม เมื่อรู้อย่างนั้นแล้วเด็กสาวก็เรียกร้องที่จะออกไปข้างนอกให้ได้
bzou จึงผูกเชือกไว้กับเท้าของเด็กสาว และปล่อยให้เธอออกไปวิ่งเล่นข้างนอกอยู่ครู่หนึ่งเด็กสาวดูมีท่าทางพิรุธเหมือนกำลังจะผูกเชือกไว้กับอะไรบางอย่าง หมาป่าชักไม่แน่ใจจึงออกไปดูก่อนจะพบว่า.. เด็กสาวได้หนีกลับบ้านไปแล้ว’
Dr. Jamie Tehrani นักมานุษยวิทยา ได้ค้นพบตำนาน ‘หนูน้อยหมวกแดง’ ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นจากยุคกรีกเมื่อศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช
หรือแม้แต่ในฝั่งตะวันออกอย่างจีนและไต้หวันเองก็มีนิทานทำนองเดียวกันที่ใช้ชื่อว่า “The Tiger Grandma” ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องที่ย้อนกลับไปในช่วงราชวงศ์ชิง (ปี 1644 – 1912) ไอเดียหลักและเนื้อเรื่องไปในทิศทางเดียวกับเวอร์ชั่นฝั่งตะวันตก เว้นแต่ว่ามีการเปลี่ยนจากหมาป่ามาเป็นเสือแทน
หรือจะเป็นในช่วงศตวรรษที่ 17 ของฝรั่งเศส ที่มีการนำนิทานเรื่องนี้มาเล่าขานอีกครั้ง… แต่ในยุคนี้ชาวบ้านจะเล่าถึงเรื่องราวของสาวน้อยต่างหมู่บ้านที่ได้เจอกับหมาป่าเจ้าเล่ห์ จากนั้นหมาป่าจึงหลอกถามไถ่ทางไปบ้านคุณยายของเธอ และท้ายที่สุดทั้งคู่ก็ถูกหมาป่าจับกิน
สำหรับเวอร์ชั่นนี้เป็นการพูดถึงแง่มุมของจริยธรรมทางสังคม และเป็นการกระตุ้นเตือนใจไม่ให้เด็กสาวไว้ใจคนแปลกหน้า แม้ว่าท้ายที่สุดจะถูกกระแสสังคมมองว่าเป็นเวอร์ชั่นที่ดูถูกผู้หญิงมากเกินไปก็ตาม…
เวอร์ชั่นดั่งเดิมของหนูน้อยหมวกแดงก็แอบน่ากลัวเหมือนกันนะเนี่ย แต่ดีแล้วล่ะที่ดิสนี่ย์ดัดแปลงซะใหม่ ไม่งั้นเด็กๆ คงได้ฝันร้ายอย่างแน่นอน
ที่มา: vintagenews
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.