ทุกการก่อสร้างบนโลกนี้มักจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่ว่า ‘เพื่อทำให้ชีวิตที่ดีขึ้น’ แต่ผลที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังเสมอไป
เหมือนกับวิถีชีวิตของผู้คนใน Pripyat ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเชอร์โนบิล ที่มีการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เพียง 20 กิโลเมตร
ในตอนแรกนั้น ผู้คนนับร้อยได้ตั้งชื่อให้โรงงานนี้ว่า V.I. Lenin Nuclear Power Station ซึ่งถูกสร้างขึ้นในระหว่างยุคสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR)
วัตถุประสงค์หลักของโรงงานนี้คือการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ RBMK-1000 จำนวน 4 เครื่อง และแต่ละเครื่องสามารผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 1,000 เมกกะวัตต์ต่อชั่วโมง
หากดูแค่ตัวเลขมันอาจจะไม่เข้าใจขีดความสามารถมากเท่าไหร่ แต่หากเจาะลึกลงไปตัวเลขดังกล่าวนี้หมายความว่าโรงงานแห่งนี้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าถึง 10% จากพนังงานที่ใช้ทั้งหมดในยูเครน
ทั้งนี้เครื่องปฏิกรณ์ตัวแรกสร้างขึ้นในปี 1977 หนึ่งปีต่อมาได้สร้างเครื่องที่สองสำเร็จ หลังจากนั้นอีก 3 ปี ได้สร้างเครื่องที่ 3 จนเสร็จ ตามด้วยเครื่องที่ 4 ในปี 1983
ตามแผนที่วางไว้คือเครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้จะถูกใช้เป็นเวลาหลายปี แต่แล้วแผนทั้งหมดก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือความหายนะที่ทำให้อนาคตของหลายคนกลายเป็นฝันร้าย…
มันเกิดขึ้นในวันที่ 26 เดือนเมษายน ปี 1986 เมื่อเครื่องปฏิกรณ์ตัวที่ 4 ระเบิดขึ้นระหว่างการทดสอบ ส่งผลให้ระบบสร้างพลังงานล้มเหลวไปด้วย
สาเหตุหลักของการระเบิดในครั้งนี้เกิดจากการออกแบบที่ไม่สมบูรณ์รวมทั้งความผิดพลาดในการเลือกแกนหลักของเครื่อง(ตรงข้ามกับความปลอดภัยที่แนะนำ) จนนำไปสู่การระเบิดดังที่กล่าวมา
สิ่งที่ตามมาคือสถานการณ์อันรุนแรงที่ส่งผลต่อชีวิตผู้คนจำนวนมากทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการระเบิดดังกล่าวทำให้เกิดไฟไหม้เป็นบริเวณกว้าง และทำให้มีควันดำขนาดมหึมาลอยออกมาจากโรงไฟฟ้าเป็นเวลานานกว่า 10 วัน
ภายในควันดำเหล่านี้เต็มไปด้วยรังสีอันตรายปริมาณมหาศาล ซึ่งได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรปและในพื้นที่ส่วนใหญ่ของสหภาพโซเวียต
ที่สำคัญคือมีพนักงานจำนวนมากเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และอีก 30 คน เสียชีวิตในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา เนื่องจากได้รับรังสีที่เป็นพิษเข้าสู่ร่างกาย
ไม่เพียงแต่พนักงานเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงหลายคนที่ลงพื้นที่ระงับเหตุไฟไหม้ก็เสียชีวิตในช่วงสองถึงสามเดือนหลังจากนั้น และอีก 240 คนถูกวินิจฉัยว่าได้รับรังสีพิษชนิดรุนแรงเข้าสู่ร่างกาย
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคำสั่งให้อพยพผู้คนหลายพันคนออกจากพื้นที่ เพราะแม้แต่คนที่ร่างกายแข็งแรงที่สุดก็ไม่อาจทนต่อรังสีพิษที่รุนแรงนี้ได้
เหตุการ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดในครั้งนี้ถูกจัดความรุนแรงให้อยู่ในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดของ International Nuclear Event Scale กระทั่งปี 2011 เมื่อเกิดการระเบิดของนิวเคลียร์ฟูกูชิม่า ซึ่งมีความรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ในการทำความสะอาดโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลต้องใช้คนงานกว่าครึ่งล้านคน และใช้เงินหลายล้านกว่าจะอยู่ในสภาพที่สะอาดที่สุด
สำหรับเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของเชอร์โนบิลนั้นถูกปิดฝาครอบเหล็กหนาขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของรังสีพิษ
ฝาครอบถูกขนานนามว่า Object Shelter ซึ่งอยู่ใกล้กับเมือง Pripyat… ตามรายงานบอกว่าผู้คนไม่ได้อพยพออกไปทันที กระทั่งผ่านไปประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลายคนเริ่มรู้สึกไม่สบาย ตามด้วยอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้การอพยพจึงได้เริ่มขึ้นใน 24 ชั่วโมงหลังการระเบิด แต่ ณ เวลาอพยพนั้นผู้คนในเมือง Pripyat ได้รับรังสีพิษไปแล้วจำนวนมาก และล้มป่วยกันระเนระนาด
เพื่อให้อพยพเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด ได้มีคำสั่งให้ประชาชนนำแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้นติดตัว โดยบอกพวกเขาว่าสามารถกลับมาเอาของที่เหลือในอีก 2-3 วันข้างหน้า
แต่ไม่ว่าจะอพยพไปเร็วแค่ไหน ทุกคนก็ได้รับรังสีพิษเข้าสู่ร่างกายไปเรียบร้อยแล้ว ที่น่าสนใจคือไม่มีมาตรการรับผิดชอบในการเยียวผู้ที่มีพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยอ้างว่ามันยากต่อการตรวจสอบ
สำหรับผู้ที่ได้รับรังสีพิษเข้าสู่ร่างกายนั้นสิ่งที่จะตามมาแน่นอนคือพวกเขาจะป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งไทรอยด์ที่ได้คร่าชีวิตประชากรที่ได้รับผลกระทบไปแล้วจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีรายงานปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย บางคนมีการถ่ายทอดไปถึงลูกในครรภ์ แม้จะตั้งท้องในเวลาต่อมาก็ตาม ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจนกระทั่งปัจจุบันนี้
อย่างไรก็ตามการทำความสะอาดโรงงานยังไม่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยคาดว่าการทำความสะอาดจะยาวไปถึงปี 2065 เนื่องจากต้องเข้าไปทำความสะอาดเป็นระยะ เพื่อทำให้รังสีพิษค่อยๆ เจือจาง
ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบันนี้เมือง Pripyat และบริเวณใกล้เคียงยังคงถูกทิ้งให้เป็นพื้นที่ร้าง และไม่มีใครอยากเข้าไปใกล้อีก และแน่นอนว่าความฝันของชาวเมืองนี้ก็ถูกทำลายไม่เหลือกซากเช่นกัน
นี่คือผลจากความตั้งใจที่จะทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น!?
ที่มา abandonedspaces
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.