เราเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมปัจจุบันยังมีผู้ที่เชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ ทั้งๆ มันเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่อาจพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์
ตาม Merriam-Webster ระบุว่า ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติเป็นความเชื่อที่ไร้สาระ เพราะมันคือความงมงาย กลัวในสิ่งที่มองไม่เห็น และให้ความศรัทธาต่อเวทมนตร์
“กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติคือการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์” Stuart Vyse นักจิตวิทยาและศาสตราจารย์จาก Connecticut College กล่าว
แม้วิทยาศาสตร์จะได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งจริงสูงสุดในขณะนี้ แต่จำนวนผู้ที่เชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติก็ยังคงมีมากอย่างน่าแปลกใจ
ยกตัวอย่างเช่น มีชาวอเมริกันมากถึง 17-21 ล้านคนเชื่อเรื่องวันศุกร์ที่ 13 และมีชาวสหราชอาณาจักรร้อยละ 74 ทำพิธีเคาะไม้เพื่อเป็นการปัดเป่าความโชคร้าย และชาวอเมริกัน 13% ให้แมวดำเป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้าย
ทั้งนี้ผลสำรวจล่าสุดของ Gallop พบว่า ได้ตอบคำถามว่าทำไมผู้คนมากกว่า 50% จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังคงเชื่อเรื่องโชคลาง? แล้วคนที่ไม่เชื่อล่ะ โชคลางจะส่งผลกระทบต่อชีวิตพวกเขาหรือไม่?
Vyse นักเขียนเรื่อง Believing in Magic : The Psychology of Superstition กล่าวว่า “เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะผู้คนถูกปลูกฝังให้เชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติมาตั้งแต่เด็ก จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และเป็นกระบวนการพื้นฐานของการขัดเกลาทางสังคม”
“ประการที่สองคือ เราอยู่ในโลกที่ควบคุมผลลัพธ์ไม่ได้ แต่ดูเหมือนความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่เหนือกฎเกณฑ์ นั่น มนุษย์จึงทำทุกอย่าง เพื่อให้มั่นใจว่าผลที่ได้จะออกมาตามที่หวังไว้”
Tom Gilovich ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Cornell University บอกว่า “สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องโชคลางคือ มันดูเหมือนเป็นความเชื่อโดยธรรมชาติของพวกเขา”
“เหมือนกับ ทำไมต้องเป็นวันที่ 13? ทำไมต้องเป็นแมวดำ? ทำไมเราถึงไม่ควรไปเดินใต้บันได? ไม่มีเหตุผลที่น่าเชื่อถือยืนยันเรื่องเหล่านี้ได้เลย”
“นอกจากนี้เมื่อผู้เชื่อจงใจไม่ทำตามสิ่งที่มีคนบอกว่าไม่ควรทำ พวกเขาจะรู้สึกแย่และคิดว่าจะได้ผลกระทบที่ไม่ดีตามมา”
สิ่งเหล่านี้อาจมีวิวัฒนาการจากที่นี่… “มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จะกลัวเสียงใบไม้แห้ง เพราะพวกเขาเป็นเสียงฝีเท้าของนักล่า ซึ่งในความจริงส่วนใหญ่มันจะเป็นเสียงลมมากกว่า แต่นั่นก็เป็นสัญชาตญาณเอาตัวรอดของมนุษย์อย่างหนึ่ง” Kevin Foster นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัย Harvard University กล่าว
อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงประโยชน์ของสิ่งเหนือธรรมชาติ พวกเขามักนึกถึงเรื่องโชคลาง โดยมีงานวิจัยจากวารสาร Psychological Science ได้ทดลองมอบลูกกอล์ฟนำโชคแบบปลอมๆ ให้กับผู้เข้าร่วมทดสอบ และพบว่าเปอร์เซ็นต์การพัตกอล์ฟลงหลุมเพิ่มขึ้นถึง 35 เปอร์เซ็นต์
Matthew Hutson นักเขียนด้านวิทยาศาสตร์และเป็นผู้เขียนหนังสือ The 7 Laws of Magical Thinking ได้พูดเกี่ยวกับการศึกษาข้างต้นว่า “การรู้สึกว่าโชคดีจะทำให้พวกเขารับรู้สมรรถนะตนเองได้ดีขึ้น (การเชื่อในความสามารถของตัวเอง) ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาพัฒนาฝีมือในการเล่นกอล์ฟ”
นักวิจัยคนเดียวกันยังได้ทำการทดลองอีกหลายรูปแบบ เมื่อเธอชี้ไปที่ใครและบอกว่าพวกเขาจะโชคดี คนนั้นก็มักจะมีโชคดีเข้ามาจริงๆ
ทั้งนี้คนที่มีความเชื่อเรื่องโชคลางจะเป็นแรงผลักดันให้พวกเขามีความรู้ความเข้าใจในบางเรื่องดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อพฤติกรรมอันนำไปสู่ความสำเร็จ
ที่มา rd
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.