10 เรื่องจริงเกี่ยวกับ ‘การผ่าตัด & ศัลยกรรม’ จากยุคกลาง แหม๊… มันช่างน่ารักสดใสซะจริ๊งง!!

ถ้าพูดถึงการเข้ารับการผ่าตัด & ศัลยกรรมในสมัยนี้ หลายคนอาจจะไม่รู้สึกกลัว เพราะไหนจะมีทั้งยาชา ยาสลบ แถมยังมีกรรมวิธีอีกมากมายที่ช่วยให้อะไรๆ ก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น

แต่คราวนี้เราจะพาไปรู้จักกับ 10 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผ่าตัดทางการแพทย์ในสมัยยุคกลาง ซึ่งเป็นยุคสมัยที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้ามากนัก และการจะรักษาโรคแต่ละอย่างมันก็ช่างแหม๊… ดูน่าลิ้มลองซะจริง!!

 

1. การผ่าตัดในยุคกลางมีแต่ความเจ็บปวด เจ็บปวด และเจ็บปวด

 

ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าการผ่าตัดในยุคกลางนั้นเป็นเรื่องที่ทารุนแบบสุด (ถึงขั้นที่คุณอาจเสียชีวิตจากความเจ็บปวดได้เลย)

ไม่ว่าจะสาเหตุมาจากความรู้ความเข้าใจในเรื่องกายวิภาคของมนุษย์ที่ยังไม่มากพอ หรือจะเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ ที่ยังไม่เอื้ออำนวย ที่สำคัญ ในสมัยนั้นผู้ที่รับหน้าที่เป็นหมอส่วนใหญ่แล้วจะมาจากอาชีพบาทหลวงมาก่อน และส่วนใหญ่จะใช้ตำราการแพทย์จากฝั่งอาหรับเป็นหลัก

จนกระทั่งในปี 1215 พระสันตปาปาได้ประกาศให้บาทหลวงห้ามยุ่งเกี่ยวกับการแพทย์ และเปิดโอกาสให้เป็นพื้นที่ของคนที่ตั้งใจศึกษาด้านนี้จริงๆ แต่ถึงกระนั้นการผ่าตัดก็ยังไม่ใช่เรื่องทั่วไปเหมือนสมัยนี้อยู่ดี

 

 

2. ยาชา/ยาสลบ ในยุคกลางจะใช้สิ่งที่เรียกว่า ‘Dwale’

 

ชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดในยุคกลางค่อนข้างจะแขวนอยู่บนเส้นด้าย ในสมัยนั้นมีการใช้ยาชาที่เรียกว่า ‘Dwale’ ซึ่งเกิดจากการผสมสารต่างๆ ที่สกัดได้จากธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกัน

แต่ก็ใช่ว่าการผ่าตัดจะเป็นไปอย่างเรียบง่าย เพราะเจ้า Dwale นี่แหละ บางทีก็สร้างปัญหาให้ตัวหมอเอง เนื่องจากบางครั้งมันก็แรงมากซะจนทำให้ผู้ป่วยหลับสนิทจนไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลย…

 

 

3. วิธีการรักษาต้อกระจกสุดโหด…!!

 

หากใครเป็นโรคต้อกระจกในช่วงยุคกลาง คุณอาจต้องเจ็บตัวหนักยิ่งกว่าเป็นมะเร็งเลยก็ว่าได้ เพราะแพทย์ในยุคนั้นจะใช้วิธีการนำของแหลมคมแทงเข้าไปที่บริเวณกระจกตา จากนั้นก็ค่อยๆ ดึงส่วนที่เป็นต้อลงมา..!!

อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้ยาชา ยาสลบ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ป่วยจะถูกของแหลมทิ่มไปในดวงตาทั้งๆ ที่ยังมีสติอยู่เต็มร้อย แถมยังไม่มีอะไรมาช่วยบรรเทาความเจ็บด้วยอีกเอ๊าา

 

 

4. การรักษาอาการอุดตันของทางเดินท่อปัสสาวะ

 

ใครที่เผลอตัวเผลอใจจนเป็นโรคติดต่อ หรือเกิดการอุดตันตรงทางเดินท่อปัสสาวะ ขอบอกเลยว่าวิธีจากยุคกลางจะทำให้หนุ่มๆ เข็ดหลาบไปอีกนาน…!!

วิธีการรักษายอดฮิตในช่วงนั้นก็คือ คุณหมอจะนำแท่งเหล็กที่มีขนาดเท่ารูปัสสาวะมาสวนเข้าไปทางท่อปัสสาวะ (พิมพ์ไปมืออ่อนไป) เพื่อเป็นการเคลียร์ช่องทางเดินของปัสสาวะ และกำจัดหนองที่คั่งค้างอยู่ข้างใน

 

 

5. ถ้าคุณถูกลูกธนูยิงปักใส่ละก็… ทำใจรอไว้ได้เลย

 

ปัญหาใหญ่ของการรักษาบาดแผลนักรบในยุคกลางก็คือลูกศรธนูที่ปักอยู่ในร่างกายเรานี่แหละ เนื่องจากหัวลูกศรธนูส่วนใหญ่จะถูกเคลือบด้วยขี้ผึ้ง ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เราพยายามดึงออก… มันก็จะออกมาได้แค่ด้าม ส่วนหัวลูกศรยังอยู่ที่เดิมไม่ไปไหน

แต่วิธีแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมสูงในยุคนั้นคือการใช้ ‘Arrow Spoon’ อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบโดยนักฟิสิกซ์ชาวอาหรับ ‘Albucasis’

วิธีการก็คือนำหัวช้อนเข้าไปจับกับหัวลูกศรที่ฝังอยู่ในร่างกาย จากนั้นก็ดึงมันออกมา และทำการปิดแผลเหวอะหวะด้วยการเผาจี้ความร้อนจากเหล็ก (เพราะความร้อนสามารถฆ่าเชื้อโรคได้)

 

 

6. อาการป่วยทั่วไปก็มักจะรักษากันด้วยการ… กรีดเลือด!!

 

นักฟิสิกส์ในยุคกลางส่วนใหญ่เชื่อว่าสาเหตุการป่วยของคน เกิดจากของเหลวในร่างกายที่ไม่สมดุลกัน ดังนั้นวิธีการรักษาโรคทั่วไปที่ได้รับความนิยมสูงจึงมีอยู่ 2 วิธีการหลักๆ ด้วยกัน

1) ใช้ปลิงดูดเลือด – แพทย์จะทำการเอาปลิงมาดูดเลือดบริเวณบาดแผลที่ถูกกรีด หรือบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ และเมื่อปลิงดูดเลือดจนอิ่มแล้ว พวกมันก็จะปล่อยตัวเองหลุดออกมาจากร่างกายส่วนนั้น

2) การสอดสายสวนหลอดเลือด – เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมสูงไม่แพ้กัน โดยแพทย์จะนำสายสวนหลอดเลือดสอดเข้าไปในบริเวณเส้นเลือดของเรา จากนั้นก็จะมีเลือดไหลออกมาเรื่อยๆ ตรงบริเวณแผลที่ถูกเจาะ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยรักษาอาการป่วยได้

 

 

7. ผู้หญิงที่คลอดลูกจะถูกกล่อมให้เตรียมใจตายไว้ด้วย..!?

 

ในยุคที่วิทยาการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้า การคลอดลูกของผู้หญิงจึงเต็มไปด้วยความอันตราย และความเสี่ยงที่แม่จะต้องเสียชีวิตหลังลูกคลอดออกมา

หากลูกน้อยคลอดออกมาได้ยาก แพทย์จะใช้วิธีการเขย่าตัว หรือจัดองค์ประกอบท่าทางของคุณแม่ใหม่ หรือในกรณีเลวร้ายหากลูกน้อยเสียชีวิต แพทย์จะทำการตัดแขนตัดขาเด็กน้อยทั้งๆ ที่อยู่ในช่องคลอด และค่อยๆ เอาชิ้นส่วนอวัยวะออกมาทีละชิ้น

 

 

8. การรักษาด้วยท่อสวนทวาร เป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยมสูง

 

ในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าการขับสารพิษออกทางทวารหนัก จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ดังนั้นจึงมีการใช้โลหะยาวพร้อมปลายที่มีถ้วยสำหรับใส่ยาสมุนไพรวางไว้ (เพื่อเทลงในรูทวาร)

อีกทั้งยังมีลูกสูบที่ช่วยปั๊มของเหลวให้เข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้อย่างรวดเร็วขึ้น วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยขับถ่ายของเสียออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเชื่อว่าจะขับสารพิษออกมาได้..!!

 

 

9. รักษาริดสีดวงทวารกันด้วยเหล็กร้อนๆ

 

ในปัจจุบันการรักษาริดสีดวงอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่โตและน่ากลัวอะไร ทว่าในอดีตหากคุณมีอาการเลือดบวมคั่งตรงบริเวณนั้น แพทย์จะรักษาด้วยการเอาเหล็กนาบไฟร้อนๆ มานาบบนหัวริดสีดวง

แพทย์ในอดีตเชื่อว่าความร้อนจากวิธีดังกล่าวจะช่วยระบายเลือดคั่งออกมาได้ ซึ่งวิธีนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งศตวรรษที่ 12 แพทย์ชาวยิวนามโมเสส ไมโมนิดิส ได้ค้นพบวิธีการรักษาแบบใหม่เป็นถูกนำมาต่อยอดจนถึงทุกวันนี้

 

 

10. แพทย์ในยุคนั้นต่างใช้ทั้งวิทยาศาสตร์ และไสยศาสตร์ ไปพร้อมๆ กัน

 

ศาสตร์การแพทย์ในยุคกลางจะมีส่วนผสมของความเป็นไสยศาสตร์เข้ามาเสมอ ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นยุคสมัยที่ถูกปกครองด้วยระบบศาสนจักร อีกทั้งยังมีการห้ามมิให้มีการชำแหละศพ (หนึ่งในสาเหตุที่การแพทย์ในยุคนั้นไม่พัฒนา)

นอกจากนี้ตัวศาสนจักรเองก็ยังมีวิธีการรักษาโรคด้วยความเชื่อต่างๆ มากมาย มีคนทำหน้าที่เป็น ‘The Healer’ แต่ก็แน่นอนละว่าคนกลุ่มนี้จะใช้วิธีรักษาด้วยบทสวด และพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ

ในยุคกลางหากใครถูกพบว่าป่วยเป็นโรคฝีดาษ ครอบครัวนั้นจะถูกสั่งให้เผาทั้งเป็นในบ้านของตัวเอง ยกเว้นก็แต่ว่าผู้ป่วยจะสามารถท่องบทสวดได้ถูกใจบาทหลวง เพื่อเป็นการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจที่มีต่อพระศาสนา

 

 

แต่ละวิธีนี่ก็เต็มไปด้วยไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์สุดบรรเจิดจ้า

อย่างกับอ่านเรื่องย่อของ Saw ยังไงยังงั้น

ที่มา: oddee, thechive

Comments

Leave a Reply