ในประเทศอินเดียนั้น พ่อแม่ส่วนใหญ่จะต่อต้านเพศที่สาม หากรู้ว่าลูกตัวเองเป็นเกย์หรือเลสเบี้ย พวกเขาก็จะให้ญาติ พี่ชาย น้องชาย หรือพ่อแม่เอง ลงมือข่มขืนลูก เพื่อให้ลูกกลับคืนเพศสภาพ โดยไม่ผิดกฏหมาย
ทั้งนี้ในอินเดีย การที่คนเพศเดียวกันมีเพศสัมพันธ์กันนั้นจะต้องถูกลงโทษ สูงสุดจำคุก 10 ปี จนทำให้หลาย ครอบครัวรู้สึกว่าพวกเขาไม่มีทางเลือก นอกจากการข่มขืนเพื่อให้ลูกหลานของตัวเองเปลี่ยนใจมาชอบคนต่างเพศ
หนึ่งในผู้ตกเป็นเหยื่อคือ Mvuleni Fana… วันที่เกิดเหตุนั้น เธอกำลังเดินกลับบ้านหลังจากซ้อมฟุตบอลเสร็จ แต่ระหว่างทางก็มีชายสี่คนมารุมข่มขืนเธอ โดยอ้างว่าจะทำให้เธอกลับมาเป็นผู้หญิงจริงๆ ที่รักเพศตรงข้าม สุดท้ายพวกเขาได้เตะ ตี และปล่อยให้เธอนอนตายอยู่ตรงนั้น
นอกจากนี้ยังมีเหยื่ออีกหลายคนที่ถูกฆาตกรรมในลักษณะเดียวกัน รวมทั้งผู้หญิงสองคนที่ถูกมัด ทรมาณ และสุดท้ายถูกยิงที่หัวในแอฟริกาใต้เมื่อปี 2007
ที่น่าตกใจคือไม่มีสถิติที่แน่นอนเกี่ยวการข่มขืน ซึ่งนักรณรงค์เชื่อว่าที่มีอยู่นี้เป็นตัวเลขที่น้อยกว่าความเป็นจริงมาก ทั้งนี้เป็นเพราะส่วนใหญ่แล้วครอบครัวของเหยื่อเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและมีส่วนร่วมในการข่มขืนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ถูกเรียกว่า LGBT Collective ในรัฐทางใต้ของรัฐเตกานี ได้ทำการบันทึกการข่มขืนกระทำชำเราในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
Vyjayanti Mogli กล่าวว่า “เรามั่นใจว่ามีกรณีการข่มขืนที่มากกว่านี้ แต่แค่ไม่มีการเปิดเผย บางครั้งเราก็เจอกับกรณีที่เหยื่อเดินทางมาร้องเรียนกับเรา ไม่ใช่เพราะพวกเขาอยากแจ้งความ แต่พวกเขาอยากจะหนีไปจากครอบครัว”
ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ พ่อแม่รู้ดีเกี่ยวกับเรื่องการข่มขืนและยังเป็นคนขอให้คนในครอบครัว โดยเฉพาะญาติที่เป็นพี่น้อง พ่อ หรือ แม่ เป็นคนข่มขืนลูกตัวเอง
นอกจากนี้ชุมชนบางแห่งทางตอนใต้ของอินเดีย การแต่งงานระหว่างเครือญาติถือเป็นเรื่องปกติ โดยพ่อแม่จะตัดสินใจหาคู่ครองให้ลูกนับตั้งแต่ที่ลูกเกิด
ในกรณีที่พ่อแม่รู้ว่าลูกสาวของตัวเองกำลังมีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับผู้หญิงอีกคน พวกเขาก็จะให้คนในครอบครัวข่มขืืนเธอเพื่อช่วยให้เธอหายจากอาการรักร่วมเพศ แม้ว่าจะนั่นจะเป็นการบังคับขืนใจก็ตาม
อีกหนึ่งกรณีที่เกิดกับเด็กผู้ชายจากเมืองบังกาลอร์ ถูกแม่แท้ ๆ ข่มขืน เพื่อให้เขาหายเป็นเกย์ และเรื่องนี้ก็ถูก Deepthi Tadanki นำไปทำเป็นภาพยนตร์ที่ชื่อว่า Satyavati
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครที่อยากพูดถึงการข่มขืนเพื่อคืนเพศเดิม และความพยายามเพื่อให้เรื่องนี้ไปถึงมือเอ็นจีโอก็ถูกปฏิเสธ อีกทั้งการร้องเรียนเรื่องนี้ต่อหน่วยงานภายนอกต้องใช้เวลานานหลายปี จึงทำให้หลายๆ คนเลือกที่ไม่เปิดเผย แม้ตัวเองจะตกเป็นเหยื่อก็ตาม
ที่มา independent
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.