ทีมวิจัยญี่ปุ่นล้ำหน้าอีก สร้างมาตฐานเครื่องวัดน้ำหนักกิโลกรัม ให้แม่นยำกว่าเดิมในรอบ 130 ปี!!!

เคยเป็นกันบ้างไหมที่เมื่อตอนเราไปชั่งน้ำหนักตามที่ต่างๆ ก็พบว่าเอ๊ะ ทำไมน้ำหนักที่ชั่งแต่ละเครื่องมันไม่เท่ากันนะ แต่ว่าปัญหานี้กำลังจะหมดไปเมื่อตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้คิดค้นวิธีการชั่งน้ำหนักแบบใหม่ออกมาได้แล้ว

ย้อนกลับไปในปี 1875 มนุษย์ในยุคนั้นได้พยายามเข้าใจโลกให้มากขึ้น พวกเขาจึงได้สร้างมาตรฐานของการชั่งน้ำหนักด้วยความแม่นยำที่สูง โดยเครื่องชั่งน้ำหนักเครื่องแรกของโลกนั้นพวกเขาสร้างมาในรูปทรงกระบอกซึ่งโลหะที่ใช้ในการผลิตก็มีทั้ง แพลตตินั่มและอิลเดียมอัลลอย

ซึ่งสิ่งนี้ที่พวกเขาเรียกว่า International Prototype Kilogram (IPK) ซึ่งเป็นต้นแบบของการชั่งน้ำหนักที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

 

ถูกเก็บไว้อย่างดีในกระจกหลายชั้น

 

ซึ่งเจ้า IPK นี้ได้มีการจำลองในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อให้ดูเป็นต้นแบบ แต่ว่าของจริงนั้นได้อยู่ที่ International Bureau of Weights and Measurements ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส

ขี้ฝุ่นและปัจจัยอื่นๆ ที่นับไม่ได้ทำให้เครื่องชั่งน้ำหนักแบบ IPK ที่แพร่หลายทุกที่บนโลกนี้มีความไม่เที่ยงตรงที่แท้จริง ซึ่งนั่นได้สร้างปัญหาตามมาอย่างเช่น การชั่งน้ำหนักสารกัมมันตรังสีที่ถ้าไม่ได้น้ำหนักที่แท้จริงก็อาจทำให้ค่าเปลี่ยนไป

 

หน้าตาของเครื่องชั่งน้ำหนักแบบใหม่ กลมดิ้กเชียว

 

และด้วยเหตุนี้ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) หรือสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศญี่ปุ่นจึงได้พัฒนาลูกบอลซิลิโคนชั่งน้ำหนักความแม่นยำสูง

ซึ่งการทำงานของมันคือจะใช้เลเซอร์ชี้ไปที่ของที่ต้องการจะชั่งน้ำหนักจากนั้นจะคำนวณโดยใช้สูตรต่างๆ และมันได้ผ่านการทดลองมาแล้ว 2 ครั้งปรากฏว่ามันสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งคาดว่าเครื่องมือนี้จะใช้ในการชั่งที่ต้องการความเที่ยงตรงจริงๆ อย่างการพัฒนายาปฏิชีวนะต่างๆ

ทาง AIST ได้เตรียมที่จะเอาลูกบอลซิลิโคนอันนี้เข้าประชุมนานาชาติในปีหน้า ซึ่งมันอาจเปลี่ยนโฉมการชั่งน้ำหนักหน่วยกิโลกรัมในรอบ 130 ปีเลยทีเดียว

เห็นกลมๆ อย่างนั้นชั่งน้ำหนักได้ด้วยหรอเนี่ย ใครอย่าเผลอเอาไปปาเล่นนะ ฮ่า

 

ที่มา: en.rocketnews24

Comments

Leave a Reply