สนับสนุนบทความโดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เปิดห้อง Diamond Hall เป็นเวลา 3 วันเต็มให้สถาบันกวดวิชา Tutor DD จัดโครงการ “จุดเปลี่ยนชีวิต อนาคตเรา อนาคตไทย 4.0”
โดยครั้งนี้ได้พานักเรียนมัธยมปลายจากทั่วประเทศร่วม 2,000 คน มาติวเข้มวิชาต่างๆ กับติวเตอร์ชื่อดังมากมาย พร้อมกับฟังเสวนาจากผู้นำในตลาดงาน เช่น บริษัทจัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทอินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์จากคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ ม.กรุงเทพ ที่ตบเท้าขึ้นเวทีให้คำแนะนำแบบเจาะลึก เพื่อเตรียมความพร้อมน้องๆ ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระบบใหม่ที่เรียกว่า TCAS ตลอดจนแนะแนวการศึกษาอันเป็นตัวสะท้อนให้เห็นงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นอาชีพพนักงานบริษัทหรือเจ้าของกิจการ
จึงนับเป็นการฉายภาพให้น้องๆ เห็นตัวเองล่วงหน้าอย่างชัดเจนขึ้นว่า ควรเดินไปทางไหนดีที่จะตอบโจทย์ความ ต้องการที่แท้จริงของแต่ละคน และ TCAS คือบทสรุปของชีวิตอย่างที่เชื่อกันจริงหรือ!?
อาจารย์ฮัษมาน ธนวรกันต์ หรือ อ.แกงส้ม ติวเตอร์สุดหล่อ ขวัญใจเด็กๆ ได้ให้แง่คิดกับน้องๆ ถึงการเลือกเส้นทางการเรียนว่า
“ข้อดีของ TCAS คือทำให้เด็กตัดสินใจได้เร็วขึ้นเพราะต้องยืนยันสิทธิ์ในแต่ละรอบ แต่ข้อเสียคือปิดกั้นไม่ให้เด็กได้ทดลองว่าที่ไหนเหมาะสมกับตัวเองจริงๆ การยืนยันสิทธิ์อาจเสี่ยงที่จะเลือกพลาด
ขณะเดียวกันถ้าลังเลก็อาจทำให้ไม่ได้คณะที่ตรงใจ จึงอยากให้น้องๆ มีความชัดเจนว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ และอย่าลืมว่ายังมีมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีสาขาวิชาหลากหลายและตอบโจทย์ตลาด งานยุคใหม่เป็นทางเลือก
ผมอยากให้น้องๆ หลับตานึกภาพว่าเราชอบเรียนอะไร วิชาไหนที่ทำการบ้านแล้วมีความสุขที่สุด แล้วมาดูว่ามีคณะหรือสาขาวิชาไหนบ้างที่ตรงกับความชอบและบุคลิกของตัวเอง จากนั้นให้ดูอาชีพที่มีหลากหลายมากในปัจจุบันทั้งเนื้องาน ค่าตอบแทน และความมั่นคง
ก่อนจะตัดออกจนเหลือคณะที่เราชอบและตรงตามความต้องการของตลาดงาน ที่สำคัญคือไม่ควรยึดติดกับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยที่ถูกปลูกฝังกันมาเพียงอย่างเดียว แต่ควรดูหลักสูตรและความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นหลัก
ซึ่งบางทีอาจเป็นม.เอกชนก็ได้
ถ้ามีโอกาสควรไปงานโอเพ่นเฮ้าส์เพื่อให้เห็นกับตา อย่างเช่น ม.กรุงเทพที่มีสาขาวิชาที่ตอบโจทย์ตลาดงานมากมาย ไม่ใช่จบแล้วไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อ อีกทั้งสามารถต่อยอดธุรกิจและอาชีพในมิติต่างๆ ได้ และมีความพร้อมเรื่องบุคลากรกับอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย”
ส่วน อ.เก๋-สุวคนธ์ อินป้อง เจ้าของฉายา “ครูเลดี้เก๋เก๋” ติวเตอร์สุดสวยที่ขนมุกฮาๆ มาเต็มกระเป๋า จนทำให้การกวดวิชาไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ ได้เสริมความคิดเห็นของ อ.แกงส้ม ว่า
“อยากให้เด็กเรียนสิ่งที่ชอบ ชอบหรือฝันอยากทำอาชีพอะไรก็เลือกเรียนสาขาวิชานั้น อย่ายึดติดสถาบันจนเกินไปเพราะจะกลายเป็นว่าได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้องการ แต่เป็นคณะที่ไม่ชอบ พอเรียนไปแล้วไม่ชอบก็ต้องหาที่เรียนใหม่ ทำให้เสียเวลา
อย่าลืมว่าคณะหรือสาขาวิชาจะบ่งบอกถึงอาชีพและอนาคตของเรา ดังนั้นจึงอยากให้เลือกเรียนสาขาวิชาที่ชอบไว้ก่อนเพราะจะทำให้เราได้ดีและประ สบความสำเร็จ
ค่านิยมของคนไทยมักมองว่าม.รัฐดีกว่าม.เอกชน แต่ก็ไม่จริงเสมอไป ที่ผ่านมาจึงพบว่าเด็กเก่งๆ จำนวนไม่น้อยมุ่งมาเรียนม.เอกชน เพราะมีคณะที่ตอบความต้องการของเขามากกว่า
อ.เก๋ คิดว่าคนที่จะประสบความสำเร็จในปัจจุบันได้ต้องมีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ คิดต่างและสร้างสรรค์ อย่างเช่นนักศึกษาบางคนของคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ ม.กรุงเทพ ที่ประสบความสำเร็จด้วยการมีธุรกิจเป็นของตัวเองตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ
นั่นเพราะอาจารย์ของคณะทุกท่านมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาจึงแนะแนวทางให้เด็กๆ ได้ แม้จะเป็นคณะเปิดใหม่ แต่เด็กๆ ก็มั่นใจว่าเขาจะสามารถเป็นนักธุรกิจร้อยล้าน เพราะเป็นคณะที่ตอบโจทย์ความต้องการของเขาจริงๆ นั่นเอง”
ทั้ง อ.แกงส้ม และ อ.เก๋ สรุปไปในทิศทางเดียวกันว่า จะเป็น ม.รัฐ หรือ ม.เอกชนก็ได้ ขอแค่ให้เป็นสาขาวิชาที่ตรงตามความต้องการจริงๆ เท่านั้น อย่าคิดเพียงว่าสอบติด ม.รัฐให้ได้ก่อนเป็นพอ
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.