ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานนั่นจึงทำให้วัฒนธรรมบางอย่างในประเทศนั้นออกจะแตกต่างไปจากชาติอื่นบ้างนิดหน่อยอย่างเรื่องอาหารการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละวัน วิถีในการใช้ชีวิตรวมถึงมารยาทต่างๆ
ซึ่งมารยาทบางอย่างในประเทศญี่ปุ่นก็อาจทำให้เรางงว่าแบบนี้ก็มีด้วยหรอ หากช่วงนี้ใครมีแพลนที่อยากไปญี่ปุ่นลองศึกษามารยาทโดยทั่วไปของญี่ปุ่นแบบนี้กันดูนะไปบ้านเมืองเขาจะได้ทำตัวได้ถูก ฮ่าๆ
1. การเรียกชื่อคนต่างๆ
การเรียกชื่อคนในประเทศญี่ปุ่นจะมีวิธีการเรียกที่ไม่เหมือนชาวตะวันตกที่ไม่ว่าจะเป็นใครก็เรียกเพียงแต่ชื่อเฉยๆ โดยที่นี่จะมีคำต่อท้ายคล้ายๆ กับของบ้านเราโดยจะมีคำต่างๆ อย่างนี้
“-kun” ใช้สำหรับเรียกเพื่อนๆ
“-chan” คำนี้เป็นคำที่อ่อนโยนสำหรับใช้เรียกเด็กๆ สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้หญิง คู่รัก รวมถึงเพื่อนสนิท
“-sama” ใช้สำหรับการเรียกผู้ที่เราให้ความเคารพอย่าง ขุนนางต่างๆ แต่ในทุกวันนี้บางครั้งก็ใช้ในการเสียดสี
“-senpai” ใช้สำหรับเรียกรุ่นพี่
“-kōhai” ใช้เรียกคนที่รุ่นน้อง
“-sensei” ใช้เรียกแทนสำหรับ คุณครู หมอ นักวิทยาศาสตร์ นักการเมืองหรือผู้มีอำนาจ
“-shi” สำหรับการเขียนที่เป็นทางการ
2. การแลกเปลี่ยนนามบัตร
การแลกเปลี่ยนนามบัตรจะมีกฎง่ายๆ ดังนี้
-ยื่นด้านหน้าของนามบัตรให้เท่านั้น
-ใช้สองมือในตอนที่ยื่น
-ถ้าตำแหน่งของคุณน้อยกว่าคนที่จะรับ คุณต้องยื่นนามบัตรให้ต่ำกว่าคนๆ นั้น
-ถ้าคุณได้รับนามบัตรต้องรีบนำมันใส่ในกระเป๋าใส่นามบัตรและใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อจ้องดูมัน
-อย่าลืมคำนับ
-ถ้าคุณไม่มีกระเป๋าใส่นามบัตร นั่นคือหายนะของคุณเพราะมีเยอะมากก
3. กฎการใช้ลิฟท์ต่างๆ
ถึงจะไม่ใช่กฎที่เป็นทางการอะไรมากมายแต่ก็เป็นกฎที่คนญี่ปุ่นเขานิยมใช้กันอย่าง หากคุณขึ้นลิฟท์เป็นคนแรกคุณต้องเป็นกัปตันที่จะพาลิฟท์ออกเดินทาง โดยคนที่ขึ้นลิฟท์คนแรกนั้นจะต้องยืนอยู่ใกล้ๆ แผงควบคุมลิฟท์และคอยกดปุ่มต่างๆ ในแต่ละชั้นให้แก่คนอื่น
โดยคนที่เข้าลิฟท์คนแรกจะต้องออกจากลิฟท์เป็นคนสุดท้ายและต้องทำทุกอย่างอย่างรวดเร็ว แต่ขอแนะนำว่าถ้าคุณเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปญี่ปุ่น อย่าเข้าลิฟท์เป็นคนแรกเด็ดขาด!!
4. การใช้รถไฟ
ชาวญี่ปุ่นนิยมเดินทางไปที่ต่างๆ ด้วยรถไฟฟ้าซึ่งนั่นจึงทำให้รถไฟฟ้าในญี่ปุ่นนั้นเบียดเสียดกันคับแคบยิ่งกว่าปลากระป๋องในบางเวลา
มารยาทโดยทั่วไปที่ชาวญี่ปุ่นนั้นใช้กันคือขณะอยู่บนรถไฟฟ้าพวกเขาจะไม่พูดคุยกัน (โทรศัพท์ก็รวมด้วย) และจะเป็นการไม่สุภาพอย่างมากถ้าหากเราไปจดจ้องใส่ผู้อื่น
อีกทั้งยังมีมารยาทในการใช้ที่นั่งที่หากมีผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือคนท้อง เราก็ต้องเสียสละที่นั่งของเราให้แก่เขาเหมือนกับในบ้านเรานั่นเอง
5. การสัมผัสผู้อื่น
ในประเทศญี่ปุ่น การจ้องมองผู้อื่นนานๆ ถือว่าเป็นการหยาบคายอย่างหนึ่งนั่นจึงไม่แปลกที่การสัมผัสหรือถูกเนื้อต้องตัวกันในประเทศนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ดูไม่มีมารยาท เพราะว่าคนญี่ปุ่นเคารพพื้นที่ส่วนตัวของผู้อื่นนั่นเอง
สำหรับการหอมแก้มหรือจูบกันในที่สาธารณะในประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่งก่อนปี 1945 การหอมแก้มกันนั้นถึงขั้นผิดกฎหมายเลยทีเดียว
6. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในเวลาสังสรรค์กันนั้นชาวญี่ปุ่นจะดื่มกันหนักมากและไม่นับลำดับชั้นทางสังคม อย่างเจ้านายกับลูกน้องเมื่อไปกินเหล้าด้วยกันนี่จะเหมือนเพื่อนกันเลยทีเดียว ที่นี่อาจารย์สามารถสังสรรค์กับลูกศิษย์จนเมาปลิ้นได้ ซึ่งเป็นปกติ
และเมื่อเช้าวันต่อมามาถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อคืนก่อนจะหายไปอย่างไร้ร่องรอยโดยผู้คนก็จะกลับมาใช้ชีวิตปกติเพราะว่าพวกเขาถือว่าตอนเมาก็คือตอนเมาจะไม่เก็บมาคิดให้ติดใจอะไร
7. เรื่องเงินๆ ทองๆ
เรื่องเงินๆ ทองๆ สำหรับประเทศนี้มีความคิดที่แตกต่างอย่างมากด้วยเหตุผลบางอย่าง พวกเขาอายที่จะถือเงินในที่สาธารณะ ดังนั้นการนำเงินใส่ในซองจึงเป็นที่นิยมมากกว่าสำหรับที่นี่ แต่ถ้าไม่มีซองจดหมายพวกเขาก็ยังต้องห่อในกระดาษก่อนส่งให้ผู้อื่นอยู่ดี
แต่แน่นอนว่าหากเราไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ตก็ไม่จำเป็นต้องทำขนาดนั้น โดยขั้นตอนการจ่ายเงินนั้นชาวญี่ปุ่นจะไม่ส่งให้แบบมือถึงมือแต่จะนำเงินวางไปในถาดใส่เงินเพื่อป้องกันการถูกเนื้อต้องตัวให้เสียมารยาทนั่นเอง
8. การนั่ง
การนั่งในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นการนั่งคุกเข่าเหมือนกับภาพด้านบนซึ่งที่นั่นจะเรียกการนั่งแบบนี้ว่า “seiza” โดยจะนั่งแบบนี้บนพื้นเท่านั้นโดยพวกเขาเขาบอกว่าการนั่งแบบนี้นั้นมีความสบายกว่าการนั่งแบบอื่นๆ
แต่ถ้าคุณเป็นนักท่องเที่ยวแล้วมีท่านั่งที่ไม่เหมือนพวกเขาเหล่านี้ พวกเขาก็ไม่ได้ว่าอะไรหรอกแค่จะดูไม่เหมาะสมสำหรับพวกเขาเท่านั้นเอง
9. การให้ของขวัญ
ในประเทศญี่ปุ่นการให้ของขวัญถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากโดยจะมี 2 เทศกาลในแต่ละปีที่จะนิยมให้ของขวัญกันคือ o-chugen ในฤดูร้อนและ o-seibo ในฤดูหนาว
ในหลายๆ ประเทศการเปิดกล่องของขวัญต่อหน้าผู้ให้เหมือนจะเป็นการให้เกียรติแก่คนนั้นแต่ในประเทศญี่ปุ่นจะต้องเปิดกล่องของขวัญไม่ให้ผู้ให้เห็นเพราะถ้าเปิดต่อหน้าผู้ให้จะเกิดความเขินอายแหละ
10. การโค้งคำนับ
การโค้งคำนับเป็นเรื่องจำเป็นในประเทศญี่ปุ่นที่เด็กๆ จะได้รับการสอนตั้งแต่สมัยยังเด็ก ซึ่งการโค้งคำนับก็มีในหลายอิริยาบถทั้งตอนยืน ตอนนั่ง และนี่คือบางส่วนของการโค้งคำนับในญี่ปุ่น
การโค้งทักทาย 15° “eshaku” สำหรับทำการทักทายในทางธุรกิจ
การโค้งทำความเคารพ 30° “keirei” สำหรับทำความเคารพคุณครูหรือเจ้านาย
การโค้งแบบเกือบสุด 45° “saikeirei” สำหรับการขอโทษหรือเคารพพระมหากษัตริย์
การโค้งแบบขอชีวิต สำหรับสักการะหรือทำอะไรผิดพลาดอย่างมหันต์
11. การออกจากสถานที่หนึ่ง
สำหรับร้านค้าต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นนั้น ลูกค้าแทบจะเป็นพระเจ้าเลยก็ว่าได้โดยพวกเขาจะออกมาส่งลูกค้าจนถึงปากประตูจนกว่าลูกค้าจะออกไปแล้วประตูปิดลง ซึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวบางคนแล้วจะมีความเขินอาย แต่เชื่อเถอะว่านี่คือวัฒนธรรมที่เขาทำกันมานานแล้วจริงๆ
ที่มา: brightside
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.