อธิบายหลักการ ‘กฎสามส่วน’ อย่างง่ายๆ แนวทางเบื้องต้นสู่การถ่ายภาพอันสมบูรณ์แบบ…

กว่าจะได้รูปถ่ายสวยๆ แต่ละรูป บางครั้งเราก็ต้องถ่ายเป็นสิบครั้งเพื่อให้ได้รูปดีๆ สักรูป โดยเฉพาะรูปอาหาร ที่กว่าจะได้กิน อาหารก็เย็นชืดหมดแล้ว ชีวิตช่างดูลำบ๊ากลำบากจริงๆ

แต่ปัญหาการถ่ายรูปไม่สวย รูปดูจืดชืดจะหมดไปเมื่อเรามารู้จักกับ “กฏสามส่วน” เทคนิคการถ่ายรูปแบบง่ายๆ แค่ทำตามอย่างถูกวิธี เท่านี้ก็มีรูปสวยๆ ไปอวดเพื่อนๆ ได้แล้ว

กฏสามส่วนคือการแบ่งองค์ประกอบของภาพที่เราจะถ่ายออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน และมีจุดตัด 4 จุดแบ่งออกเป็น 9 ช่องแบบนี้

เทคนิคกฏสามส่วนนี้ถูกคิดค้นโดยจิตรกรชาวอังกฤษที่ชื่อว่า Sir Joshua Reynolds ที่ได้กล่าวถึงความสมดุลของแสงและองค์ประกอบของรูปภาพและถูกพัฒนามาเป็นระบบกริด อย่างที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวันนี้

วิธีการใช้ระบบกริดหรือกฏสามส่วนง่ายๆ เลย ก็แค่เปิดกล้องขึ้นมาแล้วตั้งค่าให้มีเส้นตารางแบบนี้ขึ้นมา (หลายๆ คนคงจะปิดไปตั้งแต่แรกๆ ซะแล้ว)

 

 

จากนั้นก็โฟกัสไปที่วัตถุที่เราต้องการจะถ่าย โดยนำจุดตัดจุดใดจุดหนึ่งโฟกัสไปที่ตรงกลางวัตถุที่เราต้องการจะถ่าย

.

 

เมื่อเราเห็นว่าองค์ประกอบของภาพอยู่ในตำแหน่งที่สวยแล้วก็รัวชัตเตอร์ได้เลย

.

 

กฏสามส่วนในการถ่ายภาพแนวนอนและภาพธรรมชาติ

เราไม่ควรที่จะยึดติดกับกฎสามส่วนมากจนเกินไป ไม่จำเป็นว่าต้องวางวัตถุให้ได้ตามแนวแบบเป๊ะๆ เลยก็ได้ เพียงแค่ใช้เป็นเฟรมในการถ่ายภาพเบาๆ แค่นี้ก็ได้รูปสวยๆ แล้ว

.

.

.

.

.

 

กฏสามส่วนในการถ่ายภาพบุคคล

การใช้กฏสามส่วนในการถ่ายภาพบุคคล ควรจะมีการวางตำแหน่งของวัตถุอย่างแม่นยำ กำหนดว่าภาพจะสื่อออกมาแบบไหน การใช้ระบบกริดเข้าช่วยจะทำให้ภาพดูมีมิติและดูมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น

.

.

.

.

.

.

.

 

เพื่อนๆ ลองเอาวิธีเหล่านี้ไปใช้กันนะ เผื่อจะมีรูปสวยๆ อัพอวดเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กกันยังไงล่ะ

ที่มา mymodernmet

Comments

Leave a Reply