ทีมวิจัยค้นพบสัญญาณหายนะ “ขยะพลาสติก” ในสัตว์ทะเลส่วนที่ลึกสุดของโลกกว่า 10,000 เมตร

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Newcastle ประเทศอังกฤษ ทำการสำรวจบริเวณมหาสมุทรส่วนก้นบึ้งของ Mariana Trench ที่ได้ชื่อว่าลึกที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

กระทั่งมหาสมุทรส่วนที่ลึกถึง 10,890 เมตร ที่ซึ่งพวกเขาคาดว่าจะมีแต่ธรรมชาติที่ยังไม่ถูกแตะต้องโดยมนุษย์ เหมือนส่วนอื่นๆ ซึ่งเต็มไปด้วยแพขยะจากเมืองใหญ่

แต่… พวกเขาก็ยังค้นพบสิ่งที่ทำให้ตกตะลึง นั่นก็คือ “เส้นใยพลาสติก” ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ในท้องของหนอนทะเลตัวหนึ่ง ซึ่งขยะดังกล่าวได้อุดตันทางเดินอาหารของมัน

 

เส้นใยพลาสติกที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์

 

ภาพของเส้นใยพลาสติกที่ติดอยู่ในทางเดินอาหารของหนอนธนู

 

ด็อคเตอร์ Alan Jamieson กล่าวว่านี่คือคือสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่ามนุษยชาตินั้นสร้างร่องรอยของเผ่าพันธุ์ตนเองไปทั่วโลกจริงๆ แม้เราจะอาศัยอยู่บนพื้นดิน ในเมืองใหญ่ หรือบนภูเขา แต่ขยะที่เราสร้างมันยังไปถึงมหาสมุทรส่วนที่ห่างไกลที่สุดได้ด้วย

ไม่เพียงแต่ในพื้นที่ Mariana Trench เท่านั้น แต่ทีมสำรวจยังสำรวจจุดลึกอื่นๆ อย่างเช่น Japan, Izu-Bonin, Peru-Chile, New Hebrides และ Kermadec ซึ่งผลที่น่าตกใจก็คือ

 

พื้นที่ Mariana Trench ที่ทีมสำรวจได้ทำการเก็บข้อมูลตัวอย่างของสัตว์ทะเล

 

“ในทุกสถานที่นั้น จะพบสัตว์ทะเลที่กินเส้นใยสังเคราะห์ หรือเส้นใยพลาสติกเข้าไปจำนวนมาก”

โดยปกติแล้วสัตว์ทะเลลึกจำพวกดังกล่าวจะกินแทบทุกสิ่งทุกอย่างที่ขนาดเล็กพอที่พวกมันสามารถกินได้ เนื่องจากตามธรรมชาติของพวกมัน อาหารเล็กๆ จะลอยมาตามน้ำ ซึ่งพวกมันคงไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นพลาสติกหรือของกิน

 

ภาพของแอมฟิพอดที่ถูกเก็บมาจากใต้ทะเลลึกเพื่อทำการตรวจหาพลาสติกในครั้งนี้

 

นอกจากนี้พวกเขายังทิ้งท้ายว่า “ขยะที่มนุษย์ทิ้งแล้วลงสู่ทะเลนั้น ถ้าไม่ลอยเป็นแพขยะในทะเล มันก็จะมีทางไปอยู่แค่ 2 ทาง คือพัดกลับเข้าฝั่ง ก็จมสู่ทะเลลึก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆ อย่างมาก”

นี่อาจจะเป็นสัญญาณให้เราตื่นตัวได้หรือยัง ว่ามนุษยชาติกำลังทำร้ายธรรมชาติมากซะจนเราไม่รู้ตัวเลยทีเดียว…

 

independent

 

และนี่คือขั้นตอนการเก็บข้อมูลของทีมสำรวจจากมหาวิทยาลัย Newcastle


ที่มา nclindependent

Comments

Leave a Reply