ศิลปินสร้างผลงานภาพถ่าย ‘ปีกผีเสื้อ’ โดยใช้กล้องไมโครสโคป มันช่างงดงามเหลือเกิน

ความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมา บางครั้งเราสามารถพบเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เชื่อไหมว่าถ้าเราลองปรับทัศนคติเปลี่ยนมุมมองดูเล็กน้อยก็จะพบถึงความงามที่ซ่อนอยู่อีกชั้น

อย่างเช่นรูปภาพของ ‘ปีกผีเสื้อ’ ที่มีความงามด้วยสีสันสดใสอยู่ในตัวอยู่แล้ว ช่างภาพที่ชื่อว่า Linden Geldhill ก็ได้นำเสนอภาพในมุมมองใหม่ๆ นั่นก็คือการถ่ายภาพปีกผีเสื้อจากกล้องจุลทรรศน์

 

.

 

ปีกผีเสื้อที่บอบบางนั้นทำมาจากโปรตีนที่เรียกว่า “ไคติน” ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดเดียวกับเส้นผมและเล็บของเรา ชั้นไคตินเหล่านี้จะแยกออกและแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ของผีเสื้อ

สีสันที่เกิดขึ้นบนปีกผีเสือนอกจากจะถูกสร้างมาเพื่อความสวยงามแล้ว ยังทำหน้าที่ป้องกันแมลงอื่นๆ ที่จะเข้ามาคุกคาม และช่วยในการไหลเวียนอากาศ

เกล็ดเล็กๆ ตรงปีกของมันจะช่วยดูดซับความร้อนมาแปลงเป็นพลังงานในร่างกายของมัน ว้าว มหัศจรรย์มากๆ เลย ไม่เคยคิดมาก่อนเลยนะเนี่ย

 

.

 

ยิ่งซูมใกล้ๆ ก็ยิ่งสวย

.

 

เกล็ดเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ดูดซับความร้อน

.

 

สีสันที่มีไว้เพื่อป้องกันแมลง

.

 

ที่มา viralforest ,animals.howstuffworks

Comments

Leave a Reply