นักวิทย์ฯ เผยสาเหตุที่มนุษย์ต้อง ‘ตกหลุมรัก’ ซึ่งกันและกัน เพราะมันเกี่ยวกับวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอด!!

การตกหลุมรักเป็นหนึ่งในความลึกลับอันยิ่งใหญ่ของชีวิต เพราะเราไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงรู้สึกเช่นนั้น ที่สำคัญเป็นความรู้สึกมีให้เฉพาะบางคนเท่านั้น

แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้มาให้คำตอบแล้วว่าความรู้สึกของการตกหลุมรักนั้น อาจเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการวิวัฒนาการของเรา

นี่ถือเป็นครั้งแรกที่นักวิจัยค้นพบหลักฐานของ “ความรักที่ส่งเสริมวิวัฒนาการของมนุษย์” เพราะมันจะเพิ่มโอกาสในการมีครอบครัวมากขึ้น

 

 

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาการศึกษาวิจัยจากชนเผ่า Hadza ในประเทศแทนซาเนีย ที่ไม่ได้ใช้ชีวิตตามแบบยุคสมัยใหม่และพบว่าการมีความรู้สึกรักใคร่กันของคู่ครองนั้นมีความเชื่อมโยงถึงความต้องการในการมีบุตรด้วยกันมากขึ้น

ผลดังกล่าวนี้สอดคล้องกับการวิจัยก่อนหน้านี้จากมหาวิทยาลัย University College London เมื่อปี 2013 ที่พบว่าความรักอาจมีพัฒนาการในการยับยั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิงหรือ Primate (ในที่นี้รวมถึงมนุษย์ด้วย) จากการฆ่าทารก

 

 

โดยเฉพาะในกลุ่มของสปีชีส์ที่ฝ่ายเพศผู้และเพศเมียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันก็จะทำให้เพิ่มโอกาสที่ทายาทของพวกเขาจะรอดชีวิต และจะยิ่งดีไปกว่านั้นหากเพศผู้มาช่วยเลี้ยงดูบุตรด้วยตัวเอง

ในสังคมสมัยใหม่ ปัจจัยบางอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความรักกับจำนวนบุตรนั้นมีแนวโน้มที่จะมีความเชื่อมโยงกันน้อยลง จึงเป็นเหตุผลที่นักวิจัยหันไปหาชนเผ่าที่เป็นนักล่าสัตว์และอยู่ห่างไกลความศิวิไลซ์อย่างเผ่า Hadza

ชีวิตของคน Hadza มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในช่วงหนึ่งหมื่นปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ ‘ความรัก’ ในหมู่บรรพบุรุษยุคก่อนประวัติศาสตร์ของเราได้

 

 

นักวิจัยเขียนไว้ว่า “การศึกษาของเราอาจทำให้เกิดความกระจ่างในเรื่องความหมายของความรัก และการวิวัฒนาการในอดีต โดยเฉพาะสังคมแบบดั้งเดิมของ Hadza ที่การเลือกคู่ที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลไม่ใช่พ่อแม่ของพวกเขา” 

งานวิจัยอ้างอิงว่าชนเผ่า Hadza นั้นมีการเลือกคู่ครองตามใจของแต่ละคน มีชื่อว่า Frontiers in Psychology

ทั้งนี้มีงานวิจัยที่นำโดย Dr. Piotr Sorokowski จากมหาวิทยาลัย University of Wroclaw ได้ศึกษาองค์ประกอบ 3 ประการเพื่อนิยามความลึกซึ้งของความรัก อันประกอบไปด้วยความสนิทสนม ความหลงใหล และความมุ่งมั่น

การศึกษาดังกล่าวนี้ได้มีการอ้างถึงทฤษฎี Sternberg Triangular Theory of Love ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อปี 1985 โดยนักจิตวิทยา Robert Sternberg

 

 

ทฤษฎีนี้เป็นการนิยาม ‘ความใคร่’ ที่มีความเชื่อมโยงกับกายภาพร่างกายและการปลุกเร้าอารมณ์ เช่น ความกระตือรือร้นอย่างแข็งขัน ความตื่นเต้น ความรู้สึกทางเพศ และความรู้สึกในเชิงรักใคร่

การมีข้อผูกมัดกันในเรื่องของความสัมพันธ์ก็คือการตัดสินใจว่าจะอยู่ด้วยกันกับอีกคน ด้วยการรับปากว่าจะซื่อสัตย์และไม่นอกใจ

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงความสนิทสนมไว้ว่าเป็นเรื่องของความรู้สึกของความใกล้ชิด ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเสริมสร้างความผูกพันระหว่างสองบุคคลให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก

เมื่อได้นำแนวคิดเรื่องการนิยามความรักข้างต้นมาเปรียบเทียบกับจำนวนบุตรที่คู่รักแต่ละคู่ของชนเผ่า Hadza มี ก็พบว่าในเรื่องของอารมณ์ความใคร่และความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศนั้นมีความสัมพันธ์กันในด้านที่ดี

 

 

นั่นอาจเป็นเพราะว่าอารมณ์ความใคร่กระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของความสัมพันธ์ หมายความว่าหากคู่สามีภรรยาไม่สามารถมีบุตรได้ พวกเขาจะตระหนักได้อย่างรวดเร็วและไปหาคู่ครองใหม่อย่างรวดเร็ว

การมีข้อผูกมัดกันจะช่วยให้ผู้คนสามารถรักษาความมั่นคงในชีวิตคู่ได้ดียิ่งขึ้น และตัดสินใจที่จะมีลูกกัน นั่นหมายความว่าหากบรรยากาศในครอบครัวนั้นเป็นใจเท่าไหร่ลูกก็จะยิ่งมีมากขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตามหากความสนิทสนมของคู่ครองลดลงก็อาจส่งผลต่อจำนวนทายาทที่น้อยลง ทั้งนี้อาจรวมไปถึงความเครียดที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูครอบครัวด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ผู้เป็นแม่จะมีความพึงพอใจในความต้องการที่จะได้ใกล้ชิดกับลูกของตัวเอง ซึ่งตรงนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ‘ความใคร่’ และ ‘การผูกมัด’ คือกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมา

 

 

เนื้อหาของงานวิจัยนี้ได้ข้อสรุปว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิง ที่โดยปกติแล้วจะมีพฤติกรรมฆ่าทารกของตัวเอง ได้มีการวิวัฒนาการกลายเป็นสัตว์ที่มาจับคู่กันอยู่เป็นคู่ผัวตัวเมีย และเริ่มมีทายาทสร้างครอบครัวอยู่ด้วยกัน

ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า เมื่อเพศผู้หันมาเลี้ยงดูลูกของตัวเอง ก็ทำให้มีแนวโน้มที่พวกเขาจะฆ่าลูกน้อยลง และ ‘ความรัก’ นี่เองที่เป็นส่วนสำคัญเพราะมันช่วยทำให้เกิดสัญชาตญาณชนิดนี้ขึ้นมา

ยิ่งในสปีชีส์ที่เพศผู้และเพศเมียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากเพียงใด โอกาสที่ทายาทของพวกเขาจะรอดชีวิตจากการถูกฆ่าก็ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เหมือนกับเพศผู้ที่หันมาช่วยเลี้ยงดูลูกๆ ของตัวเอง

ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า ‘การมีคู่ครอง’ นั้นคือวิวัฒนาการที่ถือว่าดีและเป็นประโยชน์มากๆ เลยล่ะ เพราะมิเช่นนั้นแล้วมนุษย์เราก็อาจจะสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคอดีตแล้วก็เป็นได้

 

ที่มา : dailymail

Comments

Leave a Reply