สิ้นสุดกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับการประกวด Miss Universe ครั้งที่ 65 เมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งเราก็ต้องขอแสดงความยินดีกับ Demi-Leigh Nel-Peters สาวงามจากประเทศแอฟริกาใต้ ที่สามารถคว้ามงกุฎในปีนี้ไปครองได้อย่างสวยงามอีกครั้ง
และในขณะที่กำลังดูถ่ายทอดสดถึงช่วงเวลาที่มงพร้อมลงหัว ต้องบอกเลยว่า #เหมียวขี้อ้อน รู้สึกสะดุดตากับ “มงกุฎมิกิโมโตะ” ที่ถูกนำมาสวมให้ผู้ชนะในครั้งนี้เป็นอย่างมาก
เพราะจริงๆ แล้วมงกุฎดังกล่าว ถือเป็นมงกุฎรุ่นที่ 7 ที่ได้รับการออกแบบขึ้นต่อจากมงกุฎรุ่นที่ 6 แล้วนำมามอบให้กับผู้ชนะเป็นครั้งแรกในปี 2002 นั่นเอง
และในครั้งนี้เราจะขอพาแฟนนางงามทุกคน ไปย้อนชมความงามของมงกุฎจากกองประกวด Miss Universe ที่มีมาแล้วถึง 9 รูปแบบและเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ว่ารุ่นไหนจะงดงามถูกใจแฟนๆ มากที่สุด มาดูกันเลย
มงกุฎรูปแบบที่ 1 มงกุฎราชวงศ์โรมานอฟ (The Romanov Imperial nuptial crown)
ใน 1952 นับว่าเป็นปีแรกที่ได้จัดการประกวด Miss Universe ขึ้น โดยในตอนนั้นได้ใช้มงกุฎแห่งราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซีย ที่ประดับไปด้วยเพชรมากถึง 1,535 เม็ด นับเป็นมงกุฎที่ล้ำค่าหาที่เปรียบไม่ได้เลยจริงๆ
สำหรับผู้ที่ได้สวมใส่มงกุฎดังกล่าวเป็นคนแรกก็คือ Armi Kuusela สาวงามจากประเทศฟินแลนด์ ผู้คว้าตำแหน่งนางงามจักรวาล ปี 1952 เป็นคนแรก
มงกุฎรูปแบบที่ 2 มงกุฎทองคำสัมฤทธิ์
ในปีต่อมา (1953) มงกุฎนางงามจักรวาลได้เปลี่ยนเป็นมงกุฎที่ทำจากทองคำสัมฤทธิ์ ซึ่งถือเป็นมงกุฎที่หน้าตาดูธรรมดาที่สุดในประวัติศาสตร์ มีลักษณะเป็นโลหะสีบรอนซ์ดีไซน์เป็นแผ่นๆ แถมยังไม่มีแม้แต่อัญมณีหรือคริสตัลใดๆ มาประดับให้ดูงดงามเลย
และ Christiane Martel สาวงามจากประเทศฝรั่งเศสผู้ชนะการประกวดในปี 1953 ก็เป็นคนแรกและคนเดียวที่ได้สวมมงกุฎโลหะนี้
มงกุฎรูปแบบที่ 3 มงกุฎแห่งจักรวาล
มงกุฎแห่งจักรวาลได้กลายเป็นมงกุฎที่ทางกองประกวดได้นำมาใช้ตั้งแต่ปี 1954 – 1960 ประกอบไปด้วยไข่มุกเลี้ยงและไข่มุกดำประมาณ 1,000 เม็ด มีน้ำหนัก 1.25 ปอนด์ (ประมาณ 566 กรัม) และมีมูลค่าประมาณ 500,000 เหรียญ (ราวๆ 16.3 ล้านบาท)
และนี่คือ Miriam Stevenson จากเซาท์แคโรไลนา เจ้าของตำแหน่ง Miss Universe ปี 1954 เป็นผู้ที่ได้สวมใส่มงกุฎแห่งจักรวาลนี้เป็นคนแรก
มงกุฎรูปแบบที่ 4 มงกุฎรุ่นฉลองครบรอบ 10 ปี
ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการฉลองครบ 10 ปีของ Miss Universe ดังนั้นทางกองประกวดจึงอยากให้การประกวดครั้งนี้กลายเป็นที่จดจำ ก็เลยสั่งทำมงกุฎขึ้นมาใหม่พร้อมตั้งชื่อให้ว่า 10th Anniversary Crown และมีนางงามเพียง 2 คนเท่านั้นที่จะได้ใส่มงกุฎนี้
และนี่คือ Marlene Schmidt สาวงามจากประเทศเยอรมณีผู้ครองตำแหน่ง Miss Universe 1961 ผู้ที่ได้สวมใส่มงกุฎอันล้ำค่านี้เป็นคนแรก
ส่วนผู้ที่ได้สวมมงกุฎรูปแบบเดียวกันเป็นคนที่ 2 คือ Norma Nolan สาวงามจากอาร์เจนตินาผู้คว้าตำแหน่ง Miss Universe 1962
มงกุฎรูปแบบที่ 5 มงกุฎ Sarah Coventry
ในปี 1963 องค์กร Miss Universe ได้เปิดตัวมงกุฎรุ่นใหม่ที่ถือเป็นมงกุฎสุดคลาสสิกรูปแบบหนึ่งของมงกุฎนางงามจักรวาลเลยก็ว่าได้ โดยมงกุฎนี้ถูกเรียกว่า The Lady Crown เนื่องจากถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นร่างของผู้หญิงถือคฑาประดับอยู่
แต่บางคนก็เรียกว่า Sarah Coventry Crown เนื่องจากเป็นชื่อของบริษัทเครื่องประดับที่ได้รังสรรค์มงกุฎรุ่นดังกล่าวออกมานั่นเอง
Ieda Maria Vargas สาวงามจากบราซิล Miss Universe 1963 เป็นคนแรกที่ได้สวมใส่มงกุฎอันล้ำค่านี้
และนี่เป็นภาพของ Denise Quiñones, Miss Universe 2001 ซึ่งถือเป็นคนสุดท้ายที่ได้มงกุฎ Sarah Coventry
มงกุฎรูปแบบที่ 6 มงกุฎ Mikimoto
สำหรับมงกุฎนางงามจักรวาลที่ถูกใช้ในช่วงปี 2002-2007 และถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปี 2017 นี้ ได้รับการออกแบบโดย Mikimoto ผู้สนับสนุนด้านเครื่องประดับอย่างให้กับกองประกวด Miss Universe โดยมงกุฎดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจมาจากนกฟีนิกซ์ที่แสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจและความงดงาม
มงกุฎ Mikimoto จะประดับไปด้วยเพชร 500 เม็ดหนักรวมกว่า 30 กะรัต และไข่มุกจากเกาะในญี่ปุ่นอีก 120 เม็ด มีขนาดคละกันตั้งแต่ 3 – 18 มิลลิเมตร รวมมูลค่าทั้งหมดแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 250,000 เหรียญ หรือราวๆ 8 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามงกุฎจะได้รับการออกแบบขึ้นมาอย่างสวยงาม แต่แฟนๆ บางคนกลับไม่ชื่นชอบมงกุฎนี้เท่าไหร่ เนื่องจากมันเป็นมงกุฎแห่งความโชคร้าย เพราะภายหลังจากที่ Oxana Fedorova สาวงามจากรัสเซียที่ได้สวมมงกุฎ Mikimoto เป็นคนแรก เธอก็ถูกทางกองปลดออกจากตำแหน่ง
นี่คือ Riyo Mori สาวงามจากญี่ปุ่นผู้คว้าตำแหน่ง Miss Universe 2007 และเป็นคนสุดท้ายที่ได้สวมมงกุฎ Mikimoto
มงกุฎรูปแบบที่ 7 มงกุฎที่ถูกออกแบบโดย CAO Fine Jewelry
Dayana Mendoza จากประเทศเวเนซุเอลา ผู้ครองตำแหน่ง Miss Universe 2008 เป็นคนแรกและคนเดียวที่ได้สวมมงกุฎที่ถูกออกแบบโดย CAO Fine Jewelry จากประเทศเวียดนาม
ซึ่งมงกุฎดังกล่าวทำมาจากทองคำขาวและทองคำเหลือง 18 กะรัต รวมถึงประดับด้วยอัญมณีกว่า 1,000 ชิ้น มีมูลค่า 120,000 เหรียญ หรือราวๆ 3.9 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม โชคดีที่มงกุฎนี้ถูกนำมาใช้เพียงปีเดียว เพราะมันถือเป็นมงกุฎที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุด และที่โชคดีไปกว่านั้นก็คือชุดของผู้ที่ได้รับรางวัลเป็นสีเหลือง ดังนั้น มันก็เลยเข้ากับสีมงกุฎพอดีเลยดูงดงามอยู่บ้าง
.
มงกุฎรูปแบบที่ 8 มงกุฎสันติภาพโดย Diamond Nexus Labs
Diamond Nexus Labs ได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้ออกแบบมงกุฎ โดยมีสโลแกนว่าต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะหินสวยๆ นับพันเม็ดในมงกุฎล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาทั้งหมด
นอกจากนี้ ทับทิมสีแดงที่อยู่ตรงกลางวงกลมแต่ละวง ได้สื่อถึงความต้องการขององค์กร Miss Universe ที่อยากให้ความรู้เกี่ยวกับเชื่อ HIV และโรคเอดส์ พร้อมยังเป็นการรณรงค์เพื่อป้องกันการติดต่อโรคนี้อีกด้วย
และ Stefania Fernandez จากเวเนซุเอลา Miss Universe 2009 เป็นคนแรกที่ได้สวมมงกุฎสันติภาพ
ส่วนนี่คือ Gabriela Isler สาวงามจากเวเนซุเอลา ผู้ครองตำแหน่ง Miss Universe 2013 เป็นคนสุดท้ายที่ได้สวมมงกุฎนี้
มงกุฎรูปแบบที่ 9
สำหรับมงกุฎตึกระฟ้าในนครนิวยอร์กได้รับการออกแบบโดยบริษัท Diamond International Corporation (DIC) ที่คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 300,000 เหรียญ หรือราวๆ 9.8 ล้านบาท
ถูกออกแบบขึ้นมาให้มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมที่สื่อถึงตึกระฟ้าในนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กร Miss Universe “มงกุฎเป็นสัญลักษณ์และแสดงออกถึงความงาม ความมั่นคง ความตั้งใจและพลังของสตรีทั่วโลก” องค์กร Miss Universe กล่าว
สำหรับสาวงามคนแรกที่ได้สวมมงกุฎนี้คือ Paulina Vega จากโคลอมเบีย ผู้คว้าตำแหน่ง Miss Universe 2014
Pia Wurtzbach สาวงามจากฟิลิปปินส์ ผู้คว้าตำแหน่ง Miss Universe 2015 เป็นคนที่ 2 ที่ได้สวมใส่มงกุฎนี้ และคนที่ 3 คือ Iris Mittenaere จากประเทศฝรั่งเศส Miss Universe 2016
ที่มา : rappler
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.