โดยปกติแล้วงานสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่เราเห็นในชีวิตประจำวันก็จะมีหลายรูปแบบทั้งตึกรามบ้านช่อง สะพาน กำแพงต่างๆ ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่มีที่มาจากการออกแบบของสถาปนิก ว่าจะให้สิ่งก่อสร้างนั้นๆ มีรูปแบบและความสวยงามอย่างไร
แต่ว่าได้มีสถาปนิกท่านหนึ่งที่มีความคิดก้าวไกลกว่าคนทั่วไป โดยเขาได้ออกแบบสถาปัตยกรรมขึ้นมาชิ้นหนึ่ง แต่ความพิเศษของสิ่งประดิษฐ์อันนี้ก็คือ มันเป็นการรวมกันระหว่างสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะสามารถเอามารวมกันได้ และที่สำคัญคือมันกลับมีชีวิตขึ้นมา ราวกับว่าเขาได้สร้างแฟรงเกนสไตน์ขึ้นมาในรูปแบบของสถาปัตยกรรมก็ว่าได้
Philip Beesley ศิลปินในคราบของสถาปนิก ได้เป็นผู้สร้างโปรเจกต์ดังกล่าวขึ้น โดยเขาได้นำศาสตร์ทั้งหลายมารวมกันภายในสถาปัตยกรรมอันเดียว ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างเคมี ระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบตอบโต้อัตโนมัติ
สำหรับรูปแบบที่เขาตั้งใจจะให้ออกมา คือสิ่งก่อสร้างที่มีรูปร่างคล้ายกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ดูเหมือนว่ามันเป็นสิ่งที่มีชีวิตอย่างหนึ่ง และเขาก็ได้ตั้งชื่อโปรเจกต์นี้ว่า Astrocyte ซึ่งเป็นชื่อหนึ่งของเซลล์ที่ชื่อว่าเกลียลแอสโทรไซติคที่มีลักษณะคล้ายกับดาวที่แยกออกเป็นแฉกๆ อย่างสวยงาม
และที่บอกว่ามันมีชีวิต หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันเป็นอย่างไร ในส่วนนี้เขาก็ได้อธิบายไว้ว่า สิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคของเขาจะสามารถตอบโต้กับผู้ชมที่เข้ามาใกล้ๆ ได้โดยมันจะรับรู้ได้จากระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ติดตั้งเอาไว้ภายใน และตอบโต้ด้วยการเปลี่ยนรูปร่างของมันไปในทิศทางต่างๆ และที่เป็นไฮไลท์ก็คือมันสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ด้วย
ส่วนโครงสร้างหลักๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งนี้ขึ้นก็คือ อะคริลิกที่สร้างขึ้นจากความร้อนแล้วนำไปตัดให้เป็นรูปทรงทางเรขาคณิตต่างๆ แล้วนำมาประกอบกัน โดยใช้เส้นใยที่สามารถยืดหยุ่นได้ผูกเข้าไว้ในรูปทรงกรวย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ชิ้นงานของเขา
นอกจากนี้เข้ายังใช้แสงไฟที่ผลิตขึ้นมาจากการพิมพ์แบบสามมิติ และยังมีชิ้นส่วนแก้วต่างๆ ที่ผิวเคลือบสารเคมีเพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่สิ่งสิ่งนี้
ชิ้นงานของเขาได้รับการพูดถึงในวงกว้าง ว่ามีความน่าสนใจและน่าค้นหาถึงขั้นที่บางคนก็บอกว่ามันน่าจะหลุดออกมาจากนิยายวิทยาศาสตร์เลยก็ว่าได้ และโปรเจกต์ของเขาน่าจะจะเป็นจุดสูงสุดของการออกแบบที่มีในโลกเลยทีเดียว
.
.
.
อีกหน่อยเขาอาจพัฒนาตึกให้เดินได้ก็ได้นะ คิกๆ
ที่มา: thisiscolossal
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.