เปิด 5 สำนักทางปรัชญา ที่จะทำให้คุณเข้าใจโลกแห่ง ‘ปราชญ์’ มากยิ่งขึ้นอีกนิสสส

หากพูดถึงปรัชญาในบ้านเรา หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้วปรัชญามันแฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของเรานี่แหละ เพียงแค่เราไม่รู้เท่านั้นเอง

เพื่อทำความเข้าใจความเป็นปรัชญามากขึ้น #เหมียวขี้ส่อง ขอพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับปรัชญาจาก 5 สำนัก ที่จะทำให้เห็นว่าโลกของปรัชญานั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง?

 

1. สุญนิยม

แนวคิดหลักของสำนักสุญนิยมคือ การไม่เชื่อหรือไม่ยอมรับระบบคุณค่าใดๆ ในทางปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น ไม่เชื่อว่าระบบทางจริยศาสตร์นั้นมีอยู่จริง ไม่เชื่อว่าชีวิตนี้จะมีความหมายหรือคุณค่าอะไร เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ แนวคิดสุญนิยมจึงถูกยกให้เป็นแนวคิดแห่งการทำลายล้าง เพราะคนที่เชื่อในแนวคิดนี้มักจะทำลายชีวิตอื่นเพราะเห็นว่าไม่มีค่า อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในรัสเซียก็มีแนวคิดนี้หนุนหลังอยู่

 

 

2. อัตถิภาวนิยม

นักปรัชญาที่เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดนี้คือ เซอเรน เคียร์เคอกอร์ โดยตั้งคำถามว่าจุดประสงค์ของชีวิตคืออะไรหากไม่มีจุดมุ่งหมาย? เราจะหาคุณค่าจากไหน หลังจากที่พระเจ้าตายแล้ว? และเราจะเผชิญหน้ากับความตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นี้ได้อย่างไร?

สำหรับคำตอบของคำถามนั้นขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคล เพราะอัตถิภาวนิยมเชื่อว่ามนุษย์ไม่ใช่วัตถุแต่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก มีความต้องการ ดังนั้นแนวคิดสำคัญของแนวคิดนี้ก็คือ ความมีเสรีภาพ ความรู้สึกรับผิดชอบและการเลือกตัดสินใจ

 

3. สุขนิยม

ลัทธินี้ถือว่าความสุขสบายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา ไม่มีอะไรอีกนอกจากความสุขสบายของชีวิตที่มนุษย์ต้องการ การกระทำทุกอย่างในชีวิตประจำวันก็เพื่อความสุขสบาย

นักปรัชญาสุขนิยมส่วนใหญ่บอกว่า คุณควรจะอ่านหนังสือมากกว่าดื่มเหล้า เพราะผลจากการอ่านหนังสือให้ความสุขมากกว่าการเมา เพราะความสุขในที่นี้ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

 

4. ลัทธิมาร์กซ์

ลัทธินี้เป็นการรวบรวมแนวคิดของนักปรัชญา คาร์ล มาร์กซ์ ที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องทุนนิยม เนื่องจากเป็นระบบที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในสังคม ยกตัวอย่างเช่น ในระบบอุตสาหกรรม ‘คนทำไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ทำ’ กำไรที่ได้จากการขายนั้น ล้วนมาจากการขูดรีดแรงงาน

ดังนั้นเขาจึงสรุปว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมานั้นล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น”

 

5. เหตุผลนิยม

นักปรัชญาในกลุ่มนี้เช่น เดการ์ต สปิโนซ่า และไลบ์นิช เชื่อในเหตุผลมากกว่าหลักฐานเชิงประจักษ์ และเชื่อว่าความรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดเป็นความรู้ชนิดติดตัวมนุษย์มาและมีลักษณะเป็นเหตุผล

ลักษณะของเหตุผลเป็นอิสระจากประสาทสัมผัส เหตุผลทำให้สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ เหตุผลนิยมจึงปฏิเสธความรู้ทางประสบการณ์หรือทางประสาทสัมผัสด้วย เพราะถือว่าประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสนั้นเกิดความผิดพลาดได้

 

มันอาจจะงงๆ สับสนหน่อยๆ แต่นี่แหละ ‘ปรัชญา’

ที่มา bigthink

Comments

Leave a Reply