มิตรภาพในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อนักบินเยอรมันปล่อยอีกฝ่ายให้มีชีวิตรอด และบินคุ้มกันไปส่งให้ถึงที่

ย้อนกลับไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทั่วทุกมุมโลกต่างก็ทำการสู้รบกันเพื่อคว้าชัยชนะมาให้กับประเทศตนเอง หากเจอเครื่องบินรบหรือเรือรบของศัตรู ก็เป็นอันต้องทำลายให้สิ้นซากเป็นธรรมดา ศัตรูจะได้ไม่แว้งมาทำร้ายเราในภายหลัง

แต่ทหารชาวเยอรมันคนหนึ่งไม่ได้คิดเช่นนั้นเลย เขาไม่ต้องการฆ่าใครโดยที่ไม่ได้จำเป็น จึงเกิดเป็นเรื่องราวปาฏิหาริย์แห่งมิตรภาพระหว่างทหารเยอรมันและทหารอเมริกา

 

 

ในปี 1943 นายทหาร Charlie Brown แห่งกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ขับเครื่องบิน B-17 ไปในน่านฟ้าของประเทศเยอรมัน เพื่อสู้รบกัน แต่เครื่องบินของเขาถูกยิงเสียจนสภาพร่อแร ลูกเรือกว่าครึ่งหนึ่งได้รับบาดเจ็บหนัก และเครื่องยนต์บางส่วนก็เสียหายอีกด้วย

ในขณะที่เขาพยายามประคองเครื่องบินกลับไปยังประเทศอังกฤษนั้น เขาและนักบินคนอื่นๆ ก็สังเกตเห็นว่าเครื่องบินรบ ME-109 ของเยอรมัน บินเข้ามาใกล้เครื่องของเขามากแล้ว ทุกคนในเครื่องจึงทำใจไว้แล้วว่าโดนยิงเครื่องตกแน่นอน

ทว่านักบินเยอรมัน Franz Stigler กลับทำในสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เขาไม่ได้ยิงเครื่องบิน B-17 แต่อย่างใด นักบินเยอรมันกลับทำความเคารพให้พวกเขาเห็น แล้วบินคุ้มกันพวกเขาไปส่งจนสุดเขตน่านฟ้าเยอรมัน

 

Charlie Brown

 

Brown พาเครื่องบินกลับมาถึงฐานที่ประเทศอังกฤษได้อย่างปาฏิหาริย์ แม้ว่าเครื่องยนต์ 2 ใน 4 ของเครื่องบินจะพังไปแล้ว และน้ำมันก็แทบจะไม่เหลืออยู่เลยก็ตาม

หลังจากจบสงครามแล้ว เขาก็ออกไปใช้ชีวิตข้างนอกตามปกติ เขาพบรักและได้แต่งงาน มีลูกสาวสองคน จากนั้นเมื่อเขาถึงวัยเกษียณแล้ว เขาก็ย้ายไปอยู่ที่รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

Franz Stigler

 

อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นักบินเยอรมันไว้ชีวิตเขาและเพื่อนๆ ยังคงติดค้างคาใจเขาอยู่ เขาจึงตั้งเป้าหมายว่าจะตามหานักบินเยอรมันคนนั้นให้เจอ และขอบคุณเขาให้จงได้

เขาเริ่มต้นการค้นหาจากการเข้าร่วมงานคืนสู่เหย้าของนักบิน และเล่าเรื่องของเขาให้คนที่พบในงานฟัง เผื่อว่าจะมีใครรู้จักว่านักบินคนนั้นเป็นใคร และให้ข้อมูลเขาได้ นอกจากนี้เขายังลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเยอร์มัน เพื่อตามหานักบินที่เคยไว้ชีวิตเครื่องบิน B-17 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย

จนในวันที่ 18 มกราคม 1990 เขาก็ได้รับจดหมายจาก Stigler โดยในจดหมายมีใจความดังนี้ “ถึง Charlie ตั้งแต่วันนั้นที่บินไปส่งเครื่องบิน B-17 ลำนั้น ผมก็สงสัยมาตลอดว่ามันกลับไปได้อย่างปลอดภัยรึเปล่า นักบินในเครื่องรอดปลอดภัยดีไหม ดังนั้นการได้ข่าวจากคุณจึงทำให้ฉันโล่งใจมากเลย”

 

Charlie Brown และ Franz Stigler ในวัยหลังเกษียณ

 

ตัว Stigler นั้นหลังจากจบสงครามแล้ว เขาก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา และทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ เขาเขียนในจดหมายว่าจะได้ไปที่เมืองฟลอริด้าในฤดูร้อนหน้านี้ เขาจึงอยากจะนัดเจอ Brown

และในที่สุดนักบินทั้งสองคนก็ได้พบกัน ณ ห้องล็อบบี้ของโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองฟลอริด้า พวกเขาดูมีความสุขและพูดคุยกันถึงเหตุการณ์ที่ Stigler ช่วยชีวิตนักบินชาวอเมริกาไว้อย่างสนุกสนาน ตัว Brown เองก็ขอบคุณนักบินเยอรมันไม่หยุด ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาได้โทรศัพท์และเขียนจดหมายไปขอบคุณมาก่อนหน้านี้แล้ว

Stigler บอกว่าเขารัก Brown เหมือนน้องชายแท้ๆ ของเขา อาจจะเป็นเพราะว่าน้องชายของเขาได้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่สองนั่นเอง และอาจจะเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่เขาช่วย Brown ไว้ด้วย

Charlie Brown และ Franz Stigler และภรรยาของพวกเขา

 

หลังจากที่พบกันครั้งนั้น Brown รู้สึกว่าเขายังไม่สามารถตอบแทน Stigler ได้มากเท่าที่ควร เขาจึงจัดงานคืนสู่เหย้าสำหรับนักบินที่รอดชีวิตบนเครื่องบิน B-17 วันนั้นโดยเชิญครอบครัวของทุกคนมาด้วย และเชิญ Stigler มาเป็นแขกผู้ทรงเกียรติของงาน

ในงานนั้น Brown กับ Stigler ได้พาครอบครัวของแต่ละฝ่ายมาด้วย และครอบครัวของพวกเขาก็สนิทกันอย่างรวดเร็วทีเดียว เท่านั้นยังไม่พอ เขายังได้ทำวิดีโอรวมภาพครอบครัวของผู้รอดชีวิตแต่ละคนให้ Stigler ได้เห็นว่า เขาได้ช่วยชีวิตคนไว้มากมายและทำให้คนเหล่านี้มีความสุข เขาคือวีรบุรุษของงานนี้

 

 

Brown และ Stigler เป็นเพื่อนสนิทที่ดีต่อกันมาโดยตลอด จนในที่สุดพวกเขาก็เสียชีวิตลงในปี 2008 ทั้งคู่ ไม่น่าเชื่อเลยว่าจากศัตรูในวันนั้น จะก่อเกิดเป็นมิตรภาพฉันท์เพื่อนยาวนานจนวันนี้ได้

หลังจากที่พวกเขาตาย ลูกสาวของ Brown ได้ไปค้นเจอสมุดเล่มหนึ่งที่ Stigler ให้ไว้กับ Brown แม้แต่ในหนังสือเองก็ยังเขียนถึงมิตรภาพที่ลึกซึ้งระหว่างทั้งสองเลย

“ในปี 1940 ฉันสูญเสียน้องชายอันเป็นที่รักไป ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 4 วันก่อนจะถึงวันคริสต์มาส ฉันได้มีโอกาสช่วยเหลือเครื่องบิน B-17 เอาไว้ แต่สภาพเครื่องบินก็ดูย่ำแย่เหลือเกิน ฉันได้แต่สงสัยว่ามันจะยังบินไปอย่างปลอดภัยไหมนะ”

“สำหรับฉันแล้ว นักบิน Charlie Brown เป็นเสมือนน้องชายแท้ๆ ของฉัน ขอบคุณมากที่นายยังมีชีวิตรอดไปได้ จากพี่ชายของนาย Franz”

 

ที่มา: globalospokedark

Comments

Leave a Reply