การจะเล่าเรื่องตลกสักเรื่องหนึ่งให้เพื่อนของเราฟัง เราก็ต้องคิดก่อนว่าเมื่อเล่าไปแล้วเพื่อนของเราจะเข้าใจมุกที่เราต้องการจะสื่อออกไปไหมนะ เพราะบางทีเรื่องตลกที่เราอยากจะเล่าอาจจะกลายเป็นเรื่องแป้กที่ทำให้เรากลายเป็นตัวตลกเองเสียก็เป็นได้
ซึ่งเรื่องตลกบนโลกนี้ก็มีอยู่นับร้อยนับพันเรื่อง แต่ว่าจะมีตลกอยู่ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ‘เรื่องตลกร้าย’ โดยเนื้อหาของตลกร้ายจะเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างรุนแรง และอาจมีการเสียดสีอยู่ทำให้อาจจะทำให้คนทั่วไป ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งออกมาเกี่ยวกับเรื่องตลกร้าย โดยพวกเขาบอกว่าหากใครที่เข้าใจความหมายของมุกตลกร้าย บุคคลเหล่านั้นดูเหมือนมีความเป็นอัจฉริยะแฝงเอาไว้อยู่!!
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Cognitive Processing โดยทีมนักจิตวิทยาได้ออกมาเปิดเผยว่า ผู้ที่เข้าใจในเรื่องของมุกตลกร้าย (ในที่นี้หมายถึงเรื่องตลกที่ค่อนข้างสื่อไปในทางที่น่ากลัวอย่างเช่นเรื่องความตาย เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ความผิดปกติ โศกนาฏกรรมอันน่าสลดใจรวมถึงสงคราม)
มักจะเป็นคนที่ค่อนข้างฉลาดกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งพวกเขาเหล่านี้มักจะมีระดับ IQ ที่สูง มีความก้าวร้าวเพียงน้อยนิด และสามารถต้านทานต่อความรู้สึกในแง่ลบได้ดีเลยทีเดียว
โดยวิธีการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ขันกับสติปัญญาของนักวิจัยทีมนี้ก็คือ พวกเขาได้นำกลุ่มทดลองชายหญิงกว่า 126 ชีวิตให้ลองอ่านการ์ตูนที่มีเนื้อหาสุดเยือกเย็นจากหนังสือเรื่อง The Black Book ของนักเขียนการ์ตูนชาวเยอรมันชื่อว่า Uli Stein
และเมื่อผลการทดสอบออกมาก็ปรากฏว่า ผู้ทดสอบที่เข้าใจเนื้อหาของการ์ตูนเรื่องนี้และสนุกไปกับมัน จะมีระดับ IQ ที่สูงกว่า อีกทั้งยังมีความก้าวร้าวน้อยกว่าผู้ที่ไม่เข้าใจมุกตลกเหล่านี้
ซึ่งนักวิจัยวิจัยได้อธิบายถึงเหตุผลเอาไว้ว่า เป็นเพราะว่ามุมมองความคิดนั้นต่างกัน หากเราไม่สามารถรับมือเรื่องร้ายต่างๆ ที่เข้ามาด้วยอารมณ์ขันและมองโลกในแง่ดี เราจะพลอยรู้สึกแย่ตามเรื่องนั้นๆ ที่ได้รับรู้และอาจแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวออกมามากกว่ากว่าปกติ
แต่หากถามว่าเรื่องมุมมองเกี่ยวกับเรื่องของความฉลาดอย่างไร ทีมนักวิจัยก็ได้บอกว่า เป็นเพราะเรื่องตลกร้ายค่อนข้างจะมีเนื้อหาที่ซับซ้อนกว่าเรื่องตลกปกติ และต้องใช้การตีความจึงจะเข้าใจถึงความหมายได้
โดยการตีความคำคำหนึ่งในมุกตลกจะทำให้เราได้ใช้สมองทั้งซีกซ้ายและขวา เพื่อหาให้ได้ว่าคำๆ มันจะมีความหมายอื่นแฝงอยู่หรือไม่นั่นเอง
ที่มา: rd
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.