ประวัติศาสตร์ชุด ‘กิโมโน’ อันเป็นเอกลักษณ์ และการเปลี่ยนแปลงตามไปกาลเวลาสมัยนิยม

เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์มากที่สุด กิโมโนก็คงจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้คนทั่วโลกสามารถจดจำได้ และเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างดี

แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักกิโมโนโดยเนื้อแท้ ที่ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ภายนอก เพราะเครื่องแต่งกายประจำชาติแบบนี้มักซ่อนความหมายและความสวยงามไว้อย่างลับๆ ถ้าเพื่อนๆ อยากเข้าถึงประวัติศาสตร์ของชุดกิโมโนมากขึ้น ก็ต้องลองไปอ่านบทความนี้กันดูแล้วล่ะ

หากเรามองวิวัฒนาการอันโดดเด่นของชุดกิโมโนตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 จนถึงปัจจุบัน กิโมโนก็มีความเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งถ้าหากเราอยากลงลึกไปถึงราก ก็คงต้องไปขุดประวัติความเป็นมากันซะแล้วล่ะ

 

 

Kimono คืออะไร?

Kimono มาจากคำว่า Ki (ที่แปลว่าใส่) และ Mono (สิ่งของ) กิโมโนจึงเป็นเครื่องแต่งกายแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม โดยมักจะเย็บด้วยมือ ซึ่งจะมีรูปแบบผ้าเป็นรูปตัว T จำนวน 4 ชิ้น ที่เรียกว่า Tans และผูกเอวด้วยผ้าที่เรียกว่า Obi

การแสดงความหมาย

นอกจากความงามที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ชุดกิโมโนยังมีความหมายและสัญลักษณ์ในตัวของมันอีกด้วย ทั้งสไตล์ สี และวัสดุที่ใช้ เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของผู้สวมใส่

 

 

สไตล์

ชุดกิโมโนแบบดั้งเดิมมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบนั้นจะถูกกำหนดให้สวมใส่ตามสถานภาพและช่วงเวลา เช่นผู้หญิงที่ยังไม่ได้สมรสก็จะสวมกิโมโนแบบ Furisode ในขณะที่เจ้าของร้านค้าผู้ชาย จะสวมชุดที่มีเสื้อ Happi ทับ เมื่อมีงานเทศกาลที่จัดอย่างเป็นทางการ

pinterest.jp

 

ลวดลาย

รูปแบบ สัญญลักษณ์ และการออกแบบ ล้วนแต่เป็นการบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่ ซึ่งสามารถบอกได้ถึงบุคลิกภาพ รสนิยม และความมีคุณธรรมได้ เช่นการทำลวดลายบนผืนผ้ากิโมโน ก็มักจะได้แรกบันดาลมาจากธรรมชาติ เช่นใบไม้ ดอกไม้ และนก เป็นต้น

สี

สีของชุดกิโมโนนั้นก็ถือว่าเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์เช่นเดียวกัน พิพิธภัณฑ์ Victoria & Albert ได้อธิบายว่า “สีที่ใช้ย้อมสะท้อนให้เห็นถึงวิญญาณของพืช ที่ถูกสกัด”

“อีกทั้งยังเชื่อว่าคุณสมบัติของพืชแต่ละชนิด ก็จะช่วยรักษาอาการต่างๆ ได้อีกด้วย เช่นสีครามที่ได้จากต้นฮ่อม ที่คนโบราณใช้รักษาแผลกัดต่อย ก็เชื่อว่าการสวมผ้าสีน้ำเงินนั้น สามารถเป็นยาขับไล่งูและแมลงได้”

 

 

วัสดุ

Kimono ทำจากผ้าเย็บและตกแต่งด้วยมือหลากหลายชนิด ซึ่งในอดีตนั้นมักใช้ผ้าลินิน ผ้าไหม และกัญชงเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยในปัจจุบันจะเปลี่ยนมาเป็นการใช้ใยสังเคราะห์จากฝ้ายและโพลีเอสเตอร์แทน

แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ผ้าแบบโบราณกลับได้รับความนิยมมากกว่า อาจเป็นเพราะความคลาสสิกและเนื้อผ้าที่นุ่มละมุนแบบดั้งเดิมนั่นเอง

 

ประวัติและวิวัฒนาการ

ในช่วงระยะเวลาของ ‘ยุคเฮอัง’ ต้นแบบของกิโมโนที่สวมใส่ได้ง่ายได้เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ซึ่งก็มีความคล้ายกับชุดกิโมโนในปัจจุบัน โดยชุดกิโมโนประกอบด้วยผ้าที่ตัดตรงและมีจุดประสงค์เพื่อให้เหมาะกับทุกขนาดและรูปแบบของร่างกาย

เมื่อเข้าสู่ ‘ยุคเอโดะ’ ชุดกิโมโนกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ Kosode ที่เป็ดชุดที่สวมใส่ง่าย โดยจะมีรูที่ใต้แขนเพื่อขยายขนาดให้ใส่ได้สะดวกขึ้น อีกทั้งชุด Kosode ยังเป็นสิ่งที่แสดงบุคลิกลักษณะตัวตนของผู้ที่สวมใส่อีกด้วย

 

 

ช่วง ‘ยุคเมจิ’ Kosode ได้กลายเป็นชุดที่ผู้หญิงนิยมสวมใส่ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของชุดบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่กิโมโนก็ดูจะไม่เสียเอกลักษณ์ไปเลยแม้แต่น้อย

กิโมโนร่วมสมัย

ในวันนี้นักออกแบบและศิลปินยุคใหม่ได้ตีความหมายกิโมโนใหม่ โดยการนำชุดกิโมโนหลายหลายรูปแบบมาประยุกต์เข้ากับศิลปะร่วมสมัย ทั้งชุดแต่งงานกิโมโนและประติมากรรมกระจกทอ

 

.

 

เหล่าศิลปินรุ่นใหม่ได้นำเสนอวิธีที่ไม่ซ้ำใคร เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นและแสดงถึงความงามของชุดกิโมโน เรียกได้ว่ายังคงรักษาความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างครบถ้วนเลยล่ะ

 

ที่มา mymodernmet

Comments

Leave a Reply