ว่ากันว่าต้นไม้นั้นมีชีวิต มันสามารถได้ยินเสียงของเราและรับรู้ถึงสิ่งรอบๆ ฟังดูโรเมนติกดีใช่ไหมล่ะ ว่าแต่ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ต้นไม้จะรู้สึกแบบไหนเวลาที่ใบโดนหนอนแทะกันนะ
ดูเหมือนว่าพวกนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Missouri (MU) จะสนใจในเรื่องพวกนี้กันมากเลยทีเดียวเพราะดูเหมือนพวกเขาจะค้นพบว่าพืชนั้นสามารถ “ได้ยิน” ถึงสิ่งรอบๆ ตัวของมันรวมถึง “รับรู้” ถึงเสียงที่เป็นอันตรายต่อตัวของมันอีกด้วย
ที่จริงแล้วแนวคิดเรื่องพืชได้ยินเสียงนั้นมีอยู่มานานแล้วตั้งแต่โบราณ แถมในสมัยก่อนยังมีความเชื่อที่ว่าการร้องเพลงให้พืชฟังนั้นจะทำให้การเจริญเติบโดของพืชดีขึ้นอีกด้วย
“มันเคยมีงานทดลองชิ้นก่อนหน้าของพวกเราที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตอบสนองของต้นไม้ต่อคลื่นเสียง ซึ่งรวมไปถึงเสียงเพลงต่างๆ “ Heidi Appel นักวิทยาศาสตร์อาวุโสฝ่ายวิทยาศาสตร์พืชประจำส่วนวิชาการเกษตรและอาหาร ทรัพยากรธรรมชาติ และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตพันธบัตรของ MU กล่าว
“อย่างไรก็ตามงานของเราเป็นผลงานชิ้นแรก เกี่ยวกับการที่พืชตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนของระบบนิเวศน์พืช”
พวกเขาพบว่าการ “สั่นสะเทือนของการทานอาหาร” เปลี่ยนการเผาผลาญของเซลล์พืชทำให้มีการหลั่งสารเคมีที่ป้องกันการถูกหนอนผีเสื้อโจมตีออกมามากขึ้น
ด้วยความร่วมมือจาก Rex Cocroft ศาสตราจารย์สาขาชีววิทยาศาสตร์ที่ MU ได้นำหนอนผีเสื้อไปวางไว้บนใบ Arabidopsis พืชเล็กๆ ชนิดหนึ่ง
ด้วยการใช้เลเซอร์และชิ้นส่วนเล็กๆ ของวัสดุสะท้อนแสงบนใบของพืช พวกเขาสามารถบันทึกการเคลื่อนที่ของใบในการตอบสนองต่อการเคี้ยวของหนอนเอาไว้ได้
จากนั้น Cocroft และ Appel ได้เล่นเทปบันทึกเสียงสั่นสะเทือนจากการเคี้ยวของหนอนผีเสื้อ ให้กับชุดพืชอีกชุดหนึ่ง ส่วนพืชอีกชุด พวกเขาจะเปิดเทปที่ไม่มีเสียงอะไรเลย
Heidi Appel (ซ้าย) และ Rex Cocroft (ขวา) จากมหาวิทยาลัย Missouri
ผลการทดลองพบว่าเมื่อหนอนผีเสื้อกินใบจากต้นไม้ทั้งสองชุด พืชที่ได้ฟังเสียงการสั่นสะเทือนก่อนหน้านี้มีการหลั่งน้ำมันมัสตาร์ดซึ่งเป็นสารเคมีที่หนอนหลายชนิดไม่ชอบมากขึ้น
“สิ่งที่น่าทึ่งคือพืชที่ได้ยินเสียงการสั่นสะเทือนที่อื่นๆ เช่นเสียงลมเบาๆ หรือเสียงแมลงที่แตกต่างกันแต่มีคุณลักษณะบางประการที่ทำให้มีเสียงสั่นสะเทือนคล้ายหนอนผีเสื้อนั้น ไม่มีการเพิ่มปริมาณน้ำมันมัสตาร์ดขึ้นเลย” Cocroft กล่าว
“สิ่งนี้บ่งชี้ว่า พืชสามารถแยกแยะเสียงสั่นสะเทือนของการกินอาหารจาก เสียงสั่นสะเทือนอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมได้”
Appel และ Cocroft กล่าวว่าการวิจัยในอนาคตจะเน้นไปที่การหาว่าพืชตรวจจับการสั่นสะเทือนได้อย่างไร คุณสมบัติที่มีความสำคัญภายในการสั่นสะเทือนที่ซับซ้อนเป็นอย่างไร และวิธีการสั่นสะเทือนมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ที่ทำให้พืชสร้างการตอบสนองต่อศัตรูพืชอย่างไร
“พืชมีหลายวิธีในการตรวจจับการโจมตีของแมลง แต่ดูเหมือนการจับการสั่นสะเทือนจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุดสำหรับส่วนของพืชที่ห่างไกลจากลำต้น ในการเตรียมพร้อมรับมือกับการโจมตีจากแมลงศัตรูพืช” Cocroft กล่าว
“หนอนผีเสื้อตอบสนองต่อการป้องกันทางเคมีนี้โดยการคลานหนีออกไป ดังนั้นการใช้การสั่นสะเทือนเพื่อเพิ่มการป้องกันของพืชนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการเกษตรก็เป็นได้” Appel เสริม
Arabidopsis thaliana หนึ่งในสายพันธุ์ของต้นมัสตาส
“การวิจัยนี้ยังเปิดหน้าต่างความรู้เกี่ยวกับของพฤติกรรมของพืชให้กว้างขึ้นอีกเล็กน้อย มันแสดงให้เห็นว่าพืชก็มีการตอบสนองกับสิ่งคุกคามภายนอกเช่นเดียวกับที่สัตว์ทำ แม้ว่าวิธีตอบสนองจะต่างมันมากก็ตาม”
การศึกษา “พืชตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนของใบที่เกิดจากการกินเคี้ยวแมลงของแมลง” ได้รับทุนสนับสนุนจาก National Science Foundation และได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Oecologia มาแล้ว
ที่มา Dailymail
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.