การทำข้อสอบในเวลาที่จำกัดมักจะเป็นเรื่องที่กดดัน จนอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ จึงได้มีการวิจัยเกี่ยวกับการลดความกดดันนี้โดยมีเพศสภาพเป็นปัจจัยในการศึกษา
มหาวิทยาลัย Oxford ได้ทดลองยืดเวลาในการทำข้อสอบคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผลการเรียนของนักศึกษาหญิงดีขึ้น จากเดิม 90 นาที เพิ่มเป็น 105 นาที โดยไม่เพิ่มระดับความยากหรือจำนวนข้อในตัวข้อสอบแต่อย่างใด
การเปลี่ยนแปลงนี้พบว่านักศึกษาหญิงได้คะแนนที่สูงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการทดลองนี้มีเพื่อลดความกดดันจากเวลาที่จำกัด ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเชื่อว่า ผลกระทบนี้จะส่งผลกับผู้หญิงมากกว่าในตัวผู้ชาย
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีความเห็นเชิงลบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เข้ามามากมาย ว่าเป็นการเหยียดเพศ เพราะคิดว่าเพศหญิงคือเพศที่อ่อนแอกว่า
จากข้อมูลที่รวบรวมภายใต้กฎหมายเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร แสดงให้เห็นว่าทางคณะในมหาวิทยาลัยเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเพศที่มีเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมาได้ และข้อสอบนั้นก็มีไว้เพื่อทดสอบความเข้าใจของเนื้อหาที่เรียน ไม่ใช่การแข่งขันแบบจับเวลา
ขณะเดียวกัน Sarah Hart ศาสตราจารย์ที่ Birkbeck มหาวิทยาลัยลอนดอนได้เสนอว่า แต่ละเพศนั้นไม่ได้มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกันเลย
Sarah บอกว่าเธอไม่ได้สังเกตเห็นว่านักศึกษาหญิงนั้นจะตรวจสอบความถูกต้องและทบทวนกระดาษคำตอบก่อนที่จะส่งเลย ในขณะที่นักศึกษาชายทำข้อสอบได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่า แต่ส่วนมากมักจะผิด
ส่วนทางมหาวิทยาลัย Oxford ก็ยังคงทำการเก็บข้อมูลและจับตาดูการทำข้อสอบอย่างใกล้ชิด แต่ทางหน่วยงานกล่าวว่ายังไม่มีผลสรุปอย่างแน่ชัดจากการเก็บข้อมูลในปีแรก แต่อย่างไรก็ตาม นักศึกษาหญิงปี 3 ก็ได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการจากคะแนนที่สูงขึ้นจากปีที่แล้ว
ในขณะที่ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่ยังต้องศึกษาอีกมาก ซึ่งทางหน่วยงานก็ได้วางแผนที่จะเก็บข้อมูลต่อไปในอนาคตอย่างระมัดระวัง
ถือว่าเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจเลยทีเดียว ถ้าหากประเทศไทยนำมาใช้บ้างก็คงจะดีไม่น้อย
จะได้ทำข้อสอบกันแบบสบายๆ ไม่กดดัน
ที่มา Dailymail
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.