ในชีวิตการเรียนหรือการทำงานก็ตาม “ความเหน็ดเหนื่อย” นั้นย่อมเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่พ้น ซึ่งเมื่อเวลาที่เรารู้สึกเหนื่อยขึ้นมา สิ่งที่เรามักจะทำก็คือล้มตัวลงนอนบนเตียงแสนสบาย
แต่หารู้ไม่ว่านอกจากการพักผ่อนแล้ว พลังงานที่เติมเข้าไปในร่างกายเรายังส่งผลถืงการฟื้นฟูความเหนื่อยล้าของเราด้วย
Jackie Lynch นักโภชนาการกล่าวกับ Cosmo Australia ว่าสารอาหารที่ร่างกายเรารับเข้าไปนั้นส่งผลถึงความเหนื่อยล้า พร้อมทั้งเผยว่าความเหนื่อยล้าที่สัมพันธ์กับสารอาหารนั้นสามารถจำแนกประเภท ออกมาได้ 5 ประเภทดังนี้
1. Energy Highs and Lows (พลังงานสูงๆ ต่ำๆ)
เมื่อระดับ น้ำตาลในเลือด มีทั้งการเพิ่มขึ้นและลดลงในวันเดียวกันก็จะทำให้เหนื่อยได้
2. Emptiness (อาการขาด)
ระดับ แมกนีเซียม ในร่างกายนั้นส่งผลต่อระบบการทำงานของกล้ามเนื้อและความตึงเครียด หากระดับแมกนีเซียมไม่เหมาะสมอาจจะทำให้เป็นตะคริว ปวดหัว กล้ามเนื้อกระตุก และใจสั่นได้
3. Lacking Stamina (ไม่มีแรง)
อาการเหนื่อยล้าของคุณอาจเกิดจากการที่มี ธาตุเหล็ก ในร่างกายต่ำ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของฮีโมโกลบิน หากมันต่ำลงแล้วจะทำให้รู้สึกหมดเรี่ยวแรง และมักพบในผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน
4. Reduced Concentration (ไม่มีสมาธิ)
อาจเกิดจากการขาด วิตามินบี ที่ช่วยสร้างพลังงาน สาเหตุหลักก็คือ ความเครียดเรื้อรัง และการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้สูญเสียวิตามินบีมาก ส่วนการเพิ่มวิตามินบีนั้นทำได้โดยการทานผักนึ่งให้เยอะขึ้น
5. Wired and Fatigued (นอนไม่หลับและเมื่อยล้า)
เมื่อใดที่คุณดื่มกาแฟมาเกินไปจนทำให้นอนไม่หลับ ขณะที่คุณไม่สามารถหลับได้นั้นร่างกายจะขัดขวางการซึมซับธาตุเหล็ก เพื่อนำมาเติมความเมื่อยล้า Jackie จึงแนะนำว่าให้ดื่มกาแฟน้อยลง และพยายามเลี่ยงน้ำอัดลมผสมคาเฟอีน
ลองสังเกตตัวเองดูนะครับว่ามีอาการตรงกับข้อไหนบ้างหรือเปล่า แล้วก็อย่าลืมเอาคำแนะนำจากนักโภชนาการไปใช้เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูจากความเหนื่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพกันด้วยนะครับผม
ที่มา: Indy100
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.